แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ (Service Quality Satisfaction)(2563) โดย ชีวรรณ เจริญสุข ,DOCTOR OF BUSINESS ADMINISTRATION (DBA)

ได้มีผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการและนักวิจัยได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับองค์ประกอบ ของความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ (Service Quality Satisfaction)ซึ่งจากผลการศึกษาวิจัยของ Parasuraman et al. (1988) , Parasuraman, A., Zeithaml, V., and Berry, L. (1985). Parasuraman, A., Zeithaml, V., and Berry, L. (1988). Parasuraman, A., Berry, L., and Zeithaml, V. (1990). โดยการประเมินคุณภาพของการให้บริการ ทำให้ทราบได้ว่านักท่องเที่ยวหรือนักเดินทาง ลูกค้าหรือผู้บริโภค บุคคลหรือกลุ่มคนทั่วไปที่เป็นผู้มาใช้บริการ มีความต้องมาใช้บริการที่มีคุณภาพทางด้านใดโดยได้มีการนำเครื่องมือเข้ามาใช้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการวัดคุณภาพของการให้การบริการจากเดิมมีองค์ประกอบในวัดหรือประเมินผล 10 องค์ประกอบด้วยกันดังนี้คือ (1).ความสะดวก (Access) เป็นความสะดวกในด้านการท่องเที่ยวจากสถานที่ท่องเที่ยวหรือแหล่งท่องเที่ยว การเข้าติดต่อของการใช้บริการจากแหล่งท่องเที่ยว (2).การติดต่อสื่อสาร (Communication) หมายถึง เป็นการสื่อสารที่เป็นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักท่องเที่ยวที่มารับการบริการด้วยการสื่อสารภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และการรับฟังความคิดเห็น (3). ความสามารถ  (Competence) หมายถึง เป็นความสามารถของผู้ที่ให้บริการที่มีทักษะ มีความรู้และความสามารถที่จะให้การบริการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (4). ความสุภาพ (Courtesy) หมายถึง เป็นความสุภาพของผู้ให้บริการที่มีความสุภาพเรียบร้อยมีความอ่อนโยน (5). ความน่าเชื่อถือ (Creditability) หมายถึง เป็นความเชื่อถือได้และความซื่อสัตย์ขององค์กรธุรกิจท่องเที่ยว บริษัทนำเที่ยว อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว  ที่มีต่อการให้บริการที่ดี มีความน่าเชื่อถือ มีภาพลักษณ์ที่ดี (6). ความเชื่อมั่น (Reliability) หมายถึง เป็นความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างน่าเชื่อถือและสามารถปฏิบัติงานได้ตรงกับที่ได้สัญญา (7). การตอบสนองอย่างรวดเร็ว (Responsiveness) หมายถึง เป็นความสามารถทางด้านการตอบสนองนักท่องเที่ยวด้วยความเต็มใจของผู้ให้บริการ (8). ความปลอดภัย (Security) หมายถึง เป็นการให้บริการที่ปราศจากอันตราใดๆ โดยที่ไม่มีความเสี่ยงหรือความเคลือบแคลงใดๆ แหล่งท่องเที่ยวมีความปลอดภัยสูง (9). ลักษณะภายนอก (Appearance) หมายถึง เป็นลักษณะของการให้บริการภายนอกที่สามารถมองเห็นได้ของอุปกรณ์ บุคากร ที่ให้บริการตลอดจนการสื่อสารต่างๆในการให้บริการ ว่ามีความสะดวก เหมาะสมสวยงามและทันสมัย (10).ความเข้าใจของผู้มาใช้บริการ (Understanding Customers) หมายถึง เป็นความเข้าใจความพยายามที่จะต้องรู้จักและเข้าใจนักท่องเที่ยว ที่เป็นผู้มาใช้บริการ EK Yarimoglu , ‎(2014),J James ,‎(2004), JMM Ribeiro, ‎(1993), Londe et al.,(1988), M Gerhard, ‎(1997), MM Pena ,‎(2013), KKL Harr, ‎(2008), (Lehtinen and Lehtinen, 1982),Gronroos (1984), Parasuraman et al. (1988), Parasuraman,A., Zeithaml,V., and Berry, L. (1985). Parasuraman, A., Zeithaml, V., and Berry, L., (1988). Parasuraman, A., Berry, L., and Zeithaml, V. (1990),A. Parasuraman, Valarie A. Zeithaml and Len Berry, (1983) and (1988). ต่อมาภายหลังได้มีผู้เชี่ยวชาญนักวิชาการและนักวิจัยหลายท่าน ได้ทำการศึกษาวิจัยในประเด็นดังกล่าว โดยได้นำหลักวิชาสถิติเพื่อมาพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการวัดการรับรู้ทางด้านคุณภาพของการให้บริการของนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทาง ลูกค้าหรือผู้บริโภค บุคคลหรือกลุ่มคนทั่วไป ที่เป็นผู้มาใช้บริการและได้ทำการทดสอบความน่าเชื่อถือ (Reliability) และความเที่ยงตรง (Validity) พบว่าคุณภาพของการให้บริการ (Service Quality) SERVQUAL สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 องค์ประกอบหลัก (Zeithaml, Parasuraman and Berry,(1990), Lovelock, (1996), Parasuraman, Zeithaml & Berry (1988), ,Minh, Ha, Matsui (2015), Mpinganjira (2015) ,Rubogora Felix , (2017). และยังคงมีความสัมพันธ์ของความเชื่องโยงกับองค์ประกอบของคุณภาพการให้บริการทั้ง 10 ประการ SERVQUAL ที่ทำการปรับปรุงใหม่จะเป็นการยุบรวมบางองค์ประกอบ  จากเดิมให้รวมกันภายใต้ชื่อมิติใหม่ว่า SERVQUAL คุณภาพของการให้บริการ (Service Quality)   SERVQUAL ดังนั้นจึงได้มีการกำหนดองค์ประกอบ ของการใช้วัดคุณภาพในการให้บริการ (Dimension of Service Quality) ไว้จาก 10 องค์ประกอบ แต่ได้มีผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการนักวิชัยศึกษาวิจัยต่อจนเหลือไว้5องค์ประกอบดังนี้คือ(1).ความเป็นรูปธรรมของบริการ (Tangibility) (2).ความเชื่อถือไว้วางใจได้ (Reliability)(3).การตอบสนองต่อลูกค้าที่รวดเร็ว (Responsiveness)(4). การประกันคุณภาพหรือการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า(Assurance)และ(5). การเอาใจใส่ลูกค้าเป็นรายบุคคล (Empathy) (Zeithaml, Parasuraman and Berry, (1990), Lovelock, (1996),Parasuraman, Zeithaml & Berry (1988),Cronin and Taylor,(1992) & (Oliver, 1993), Mesay Sata Shanka ,(2012),Tyagi, Varma & Vidyarthi (2013),Hadiyati (2014),Tohid (2015),Kamble & Sarangdhar ,(2015)  โดยจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ  ว่า Zeithaml ,(1996) ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ (Satisfaction of Service Quality) ให้บริการส่งผลในเชิงบวกอย่างมากเกี่ยวกับความตั้งใจในพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของนักท่องเที่ยวโดยมีความตั้งใจที่จะกลับมาใช้บริการซ้ำหรือกลับมาซื้อซ้ำอีกครั้ง และอาจสามารถส่งผลในเชิงลบต่อความตั้งใจของในพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้ Asshidin ,(2016) ฉะนั้นการรับรู้ทางด้านความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ (Service Quality Satisfaction)ที่ดีที่มีคุณค่าทางอารมณ์มีปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่ซื้อผลิตภัณฑ์และบริการทางการท่องเที่ยวส่งผลให้คุณภาพของการให้บริการที่เกิดจากการรับรู้ทางด้านคุณภาพของการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นปัจจัยสาเหตุให้มีอิทธิพลในเชิงบวกต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว  Olgun, Ceylan & Ibrahim, (2014)  เพราะเป็นการบริการด้วยความรวดเร็วในการให้บริการ มีการดูแลและเอาใจใส่ต่อผู้มาใช้บริการ อย่างมีคุณภาพและประสิทธิ จึงเกิดเป็นความน่าเชื่อถือ ทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการกลับมาใช้บริการซ้ำอีกครั้ง และยังมีการบอกต่อและแนะนำให้กับผู้อื่นๆ Rai & Srivastava ,(2013) ในเรื่องของความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ (Service Quality Satisfaction)จึงเป็นสิ่งที่สำคัญต่อความพึงพอใจ และส่งผลต่อความภักดีของนักท่องเที่ยว Patiar, (2017) เป็นปัจจัยสาเหตุที่สำคัญของความพึงพอใจและส่งผลต่อความภักดีของนักท่องเที่ยว และมีการบอกต่อรวมไปถึงการแนะนำและการกลับมาใช้บริการซ้ำอีกครั้ง Ladhari, (2015) ฉะนั้นผู้บริหารธุรกิจองค์กรท่องเที่ยวหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับท่องเที่ยวจะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของการให้บริการเป็นอย่างดีด้วยความเป็นเลิศ เพราะคุณภาพของการบริการนั้นสามารถสร้างการรับรู้ในเชิงบวก กับคุณภาพของให้บริการขององค์กร ซึ่งเป็นการนำไปสู่อารมณ์และความรู้สึกความพึงพอใจระหว่างผู้ให้บริการ และผู้มาใช้บริการ จนเกิดเป็นความน่าเชื่อถือ ความพึงพอใจและส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการครั้งต่อไป

ความหมายความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ (Service Quality Satisfaction)

                           ได้มีผู้เชี่ยวชาญนักวิชาการและนักวิจัยหลายท่านให้ความหมายของ ของความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ (Service Quality Satisfaction) และความคาดหวังของนักท่องเที่ยวและลูกค้าหรือผู้บริโภคบุคคลหรือกลุ่มคนทั่วไปที่มีต่อความต้องการจากคุณภาพในการให้บริการดังนี้

                Parasuraman, et al., (1988) ได้ให้ความหมายของ ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ (Service Quality Satisfaction)หมายถึง เป็นคุณภาพการให้บริการที่มีการพัฒนามาจากการดูแลเอาใจใส่ ความไว้เนื้อเชื่อใจ และการตอบสนองตามความต้องการของนักท่องเที่ยว ที่สามารถส่งผลกระทบต่อกระบวนการการกลับมาใช้บริการซ้ำ (Repurchase) โดยองค์ประกอบของคุณภาพของการบริการสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 มิติ ดังนี้คือ (1).ความเป็นรูปธรรมของบริการ (Tangibility) (2).ความเชื่อถือไว้วางใจได้ (Reliability) (3). การตอบสนองต่อลูกค้าที่รวดเร็ว (Responsiveness)  (4). การประกันคุณภาพหรือการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า(Assurance)และ (5). การเอาใจใส่ลูกค้าเป็นรายบุคคล (Empathy)

                Parasuraman, Zeithaml, & Berry, (1998) ได้ให้ความหมายของ ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ (Service Quality Satisfaction)หมายถึง เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อองค์กรธุรกิจท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการเป็นหลัก เนื่องจากองค์กรธุรกิจท่องเที่ยว บริษัทนำเที่ยว และอุตสาหกรรมการการท่องเที่ยว และการให้การบริการทั่วไป โดยที่จะมุ่งเน้นการให้บริการเป็นประการสำคัญ  และการจัดการที่เกี่ยวข้องกับ บุคคล นักท่องเที่ยวหรือนักเดินทาง ลูกค้าหรือผู้บริโภค หรือผู้รับบริการ  เป็นการอำนวยความสะดวกสบาย ความไว้วางใจ ความน่าเชื่อถือ ความพึงพอใจให้กับ นักท่องเที่ยวหรือนักเดินทาง ลูกค้าหรือผู้บริโภค  

                Oliver, (1997) ได้ให้ความหมายของ ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ (Service Quality Satisfaction)หมายถึง การให้คุณภาพการบริการที่ดีแก่นักท่องเที่ยวที่มีผลต่อความน่าเชื่อถือของหน่วยงานการให้บริการทางด้านผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว หากบริการอย่างมีคุณภาพที่ดีสามารถทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความพึงพอใจเกินความคาดหวังจะช่วยส่งผลให้มีการการบอกต่อหรือเป็นการสื่อสารแบบปากต่อปาก(Word of Mouth)ในเชิงบวก และแนะนำให้ผู้อื่น(Recommendation to Others) ทราบทำให้นักท่องเที่ยวความภักดีจึงมีความตั้งใจที่จะกลับมาใช้บริการซ้ำอีกครั้ง (Repurchase)

                Lujun Su . et al., (2016) ; Parasuraman & Zeithaml and Berry (1988). ได้ให้ความหมายของ ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ (Service Quality Satisfaction)หมายถึงเป็นการกำหนดคุณภาพของการบริการเป็นความแตกต่างระหว่างความคาดหวังของนักท่องเที่ยวในการให้บริการที่ได้รับและการรับรู้ถึงการบริการที่ได้รับจริง  (SERVQUAL) ซึ่งประกอบด้วย 5 มิติ การบริการที่เป็นรูปธรรม ความน่าเชื่อถือ การตอบสนอง การเอาใจใส่ และ การรู้จักและเข้าใจ

                Su, Swanson & Chen, (2016) ได้ให้ความหมายของ ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ (Service Quality Satisfaction)หมายถึง  เป็นการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีความเกี่ยวข้องกับการให้บริการทางด้านผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว องค์กรธุรกิจท่องเที่ยวหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวว่าผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการมีประสิทธิภาพหรือคุณภาพหรือไม่ ซึ่งการให้บริการนั้นๆจะมีความเกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียวและประเมินในภาพรวมของคุณภาพทางด้านการให้บริการ

                Hamari,Hanner & Koivisto, (2017)ได้ให้ความหมายของ ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ (Service Quality Satisfaction)หมายถึง คุณภาพการให้บริการเป็นความต้องการและความคาดหวังของนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางลูกค้าหรือผู้บริโภคที่ได้รับหลังจากการใช้บริการแล้ว

Hanks, Line & Kim, (2017) การให้บริการในด้านดูแลนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทาง ลูกค้าหรือผู้บริโภค บุคคลหรือกลุ่มคนทั่วไปที่องค์กรธุรกิจการให้บริการต้องการการเอาใจใส่ในคุณภาพของการให้บริการจากองค์ ไม่ว่าจะเป็นจากธุรกิจองค์กรท่องเที่ยว บริษัทนำเที่ยว บริษัทท่องเที่ยว หรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหรือการให้บริการทางด้านผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว  เป็นการให้กับนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทาง ลูกค้าหรือผู้บริโภค บุคคลหรือกลุ่มคนทั่วไป เพื่อทำให้เกิดความเชื่อถือในด้านคุณภาพของบริการ

                James, Villacis Calderon & Cook ,(2017) ได้ให้ความหมายของ ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ (Service Quality Satisfaction)หมายถึง คุณภาพของการบริกการเป็นการทำให้นักท่องเที่ยวหรือนักเดินทาง ลูกค้าหรือผู้บริโภคเกิดความรู้สึกถึงความพึงพอใจ ความสุขได้กับสิ่งที่คาดหวังไว้ที่ได้ใช้บริการด้วยตามเต็มใจจากผู้ให้บริการ Rubogora Felix,(2017) หรือเป็นรูปแบบของทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับการบริการ แต่ไม่เท่ากับความพึงพอใจ ซึ่งเป็นผลมาจากการเปรียบเทียบความคาดหวังและผลการปฏิบัติงานของการให้บริการ ลูกค้ามักใช้เกณฑ์บางอย่างในการประเมินคุณภาพของการให้บริการด้วยการตรวจสอบความน่าเชื่อถือ

                 Gusti Ngurah Joko Adinegara .et al.(2017) ,Parasuraman et al. (1985) .ได้ให้ความหมายของ ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ (Service Quality Satisfaction)หมายถึง การประเมินความรู้ความเข้าใจของนักท่องเที่ยวต่อการให้บริการของสถานท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวหรือบริษัทนำเที่ยวหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ นั้นยากที่จะประเมินมากกว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการสำหรับผู้บริโภค ประการที่สองการรับรู้ คุณภาพการบริการเป็นผลมาจากการเปรียบเทียบจากความคาดหวังของผู้บริโภคกับประสิทธิภาพของการบริการที่เกิดขึ้น ประการที่สามการประเมินคุณภาพไม่ได้ทำเพียงอย่างเดียวกับผลการให้บริการรวมถึงการประเมินผลในกระบวนการให้บริการความพึงพอใจในคุณภาพการบริการซึ่งเป็นผลมาจากการเปรียบเทียบความคาดหวังของการบริการกับสิ่งที่ได้รับ ดังนั้นคุณภาพของบริการจึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญสำหรับความสำเร็จในสภาพแวดล้อมการแข่งขันในธุรกิจปัจจุบัน

                Melo, Hernandez-Maestro & Munoz-Gallego, (2017) ได้ให้ความหมายของ ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ (Service Quality Satisfaction) หมายถึง เป็นการบริการที่มีคุณลักษณะที่เพิ่มขึ้นจากการรับรู้และความคาดหวังของนักท่องเที่ยว เกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจ  เป็นเรื่องของคุณค่าของการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยการให้บริการลูกค้าด้วยความเต็มใจดูแลเอาใจใส่อย่างเป็นกันเองโดยองค์กรธุรกิจผู้ให้บริการ บริการด้วยคุณภาพที่มีความเป็นเลิศ และคุณภาพของการบริการเหนือกว่าคู่แข่งขัน

                Munoz-Gallego ,(2017) ได้ให้ความหมายของ ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ (Service Quality Satisfaction) หมายถึง เป็นการบริการที่มีคุณภาพที่เป็นการตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของนักท่องเที่ยวในขณะที่ การรักษาคุณค่าของลูกค้า คุณภาพการบริการหมายถึงการประเมินระดับการให้บริการโดยรวมขององค์กรและการประเมิน จะขึ้นอยู่กับการรับรู้ในระหว่างการพบปะกับผู้ให้บริการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ ความต้องการส่วนบุคคลประสบการณ์ในอดีตและความพยายามทางการตลาดขององค์กร

                See-Ying Kwok .et al., ,(2017) ได้ให้ความหมายของ ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ (Service Quality Satisfaction) หมายถึง ขึ้นอยู่กับระดับของประสิทธิภาพการบริการจริงในการตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของนักท่องเที่ยว ดังนั้นคุณภาพการบริการสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทาง ลูกค้าหรือผู้บริโภคที่มีความพึงพอใจต่อคุณภาพที่ให้บริการที่ได้รับ

                Sedjai Asma. et al., (2018) ได้ให้ความหมายของ ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ (Service Quality Satisfaction) หมายถึง เป็นผลมาจากการเปรียบเทียบระหว่างบริการที่คาดว่าจะได้รับกับการบริการที่รับรู้ นอกจากนี้พบว่ามันยากที่จะประเมินคุณภาพของการบริการเนื่องจากการจัดส่งพร้อมกันและการบริโภค สำหรับคุณภาพการบริการทำให้ทัศนคติของนักท่องเที่ยวมีการประเมินโดยรวม  ถือเป็นการแสดงออกของเครื่องมือและประสิทธิภาพการแสดงออก ถึงความแตกต่างระหว่างการบริการที่คาดว่าจะรับรู้โดยนักท่องเที่ยว ลูกค้าหรือผู้บริโภคนั่นเอง

                Nuri Wulandari and Andi Novianti Maharani ,(2018).ได้ให้ความหมายของ ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ (Service Quality Satisfaction) หมายถึง เป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพของการบริการที่สามารถมองเห็นหรือจับต้องได้จากสองมุมมองที่มาจากคุณภาพการดำเนินงานและนักท่องเที่ยวรับรู้คุณภาพเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ ทางการท่องเที่ยวจะทำให้ทราบถึงคุณภาพการให้บริการและการดำเนินงาน คุณภาพที่รับรู้ของลูกค้าเป็นการตัดสินใจหรือพิจารณาถึงคุณภาพของบริการเกี่ยวข้องกับความรู้สึกของบุคคลในการใช้ผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ ดังนั้นบริษัทท่องเที่ยวหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจะ ต้องใส่ใจกับคุณภาพของบริการเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทาง ลูกค้าหรือผู้บริโภค และเป็นการสร้างความภักดีในการกลับมาใช้บริการซ้ำอีกครั้งและยังมีการบอกต่อและแนะนำให้คนรอบข้างหรือคนรู้จัก

                Tondani Nethengwe .et al., (2018) ได้ให้ความหมายของ ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ (Service Quality Satisfaction) หมายถึง เป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพการบริการ และการรับรู้คุณภาพการบริการของสถานที่ท่องเที่ยวหรือบริษัทท่องเที่ยว ที่เป็นผู้จัดการการให้บริการและจะบ่งบอกถึงความเป็นไปได้ว่าเมื่อใดการจัดการและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทาง ลูกค้าหรือผู้บริโภคจะได้รับทราบเกี่ยวกับคุณภาพการบริการที่ดีมีความสอดคล้องกันหรือความคล้ายคลึงกัน จะทำให้ความพึงพอใจของลูกค้าอาจเป็นที่ประจักษ์หรือเป็นไปได้มากขึ้น และสามารถทำให้ลูกค้าเกิดความภักดีและมีการบอกต่อ

แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว(Tourist Experience)โดย ชีวรรณ เจริญสุข(2563)DOCTOR OF BUSINESS ADMINISTRATION (DBA.)

ได้มีผู้เชี่ยวชาญนักวิชาการและนักวิจัยกล่าวถึงประสบการณ์ทางการท่องเที่ยว(Tourist Experience) ของนักท่องเที่ยวนับเป็นหัวข้อที่สำคัญของการศึกษาวิจัยนับตั้งแต่แรกของการสร้างแนวคิดทฤษฎีทางด้านประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในทศวรรษที่1960 และได้รับการกล่าวถึงในด้านการศึกษามากมายในสาขาวิชาการท่องเที่ยวโดยทั่วไปประสบการณ์ทางการท่องเที่ยว มีแนวโน้มที่สำคัญสี่ประการในการพัฒนาแนวคิดของการศึกษาวิจัยในด้านประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวUriely,(2005) ประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวของนักนักท่องเที่ยวจากการพักผ่อนหย่อนใจและการท่องเที่ยวสามารถอธิบายได้ว่า เป็นประสบการณ์เกี่ยวกับความรู้สึกของสภาพทางจิตใจของผู้เข้าชมหรือผู้มีส่วนร่วมหรือนักท่องเที่ยว Otto & Ritchie,(1996)คำว่าประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวในภาษาอังกฤษสามารถทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นคำจำกัดความที่เป็นกลาง มีความคลุมเครือสูงซึ่งโดยทั่วไปสามารถอธิบายได้ว่าเป็นทุกสิ่งอย่างที่นักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางบุคคลหรือกลุ่มคนทั่วไปเคยผ่านเหตุการณ์ทางการท่องเที่ยวนั้นมาแล้วAho,(2001)ด้วยการอภิปรายในแบบต่างๆของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์คำจำกัดความที่ชัดเจนของประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวได้พัฒนาขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป Caru and Cova,(2003) มุมมองทางสังคมวิทยาและจิตวิทยาสอดคล้องกับประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวและองค์ความรู้ของนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทาง บุคคลหรือกลุ่มคนทั่วไปของแต่ละบุคคล Larsen,(2007) ความรู้และทักษะที่ได้มาในการมีส่วนร่วมหรือการสัมผัสกับเหตุการณ์จากการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว ที่เฉพาะเจาะจงและอารมณ์ความรู้สึกและความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างประสบการณ์ของการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวนั้น Ismail,(2010)ดังนั้นประสบการณ์ทางด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจึงเป็นการตลาดทางการท่องเที่ยวค่อนข้างเร็ว Jennings et al.,(2009)จากมุมมองทางด้านการตลาดประสบการณ์ได้รับการกำหนดให้เป็นเหตุการณ์ของนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางบุคคลหรือกลุ่มคนทั่วไปของแต่ละส่วนบุคคลที่มีนัยสำคัญทางอารมณ์ที่ได้รับจากการเดินทางท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวหรือแหล่งท่องเที่ยวรวมไปถึงการบริโภคผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว Holbrook and Hirschman,(1982)ในบริบทของประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวแสดงถึงโครงสร้างที่ซับซ้อนซึ่งได้รับการกล่าวอ้างว่าแตกต่างจากประสบการณ์ชีวิตในชีวิตประจำวัน Mac Cannell,(1973);Turner and Ash,(1975) ; Cohen,(1979)ประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวเป็นแนวคิดที่สำคัญในการศึกษาด้านการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมทางการท่องเที่ยว(Uriely,2005)นับตั้งแต่ก่อตั้งแนวคิดทฤษฎีในยุคต้นๆในทศวรรษ 1970 (Mac Cannell,(1973); Csikszentmihalyi,(1975),Cohen,(1979) เนื่องจากการท่องเที่ยวถูกกำหนดโดยการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบการท่องเที่ยวกับประชาชนและบุคคลในฐานะนักท่องเที่ยว Larsen,(2007)การปฏิสัมพันธ์เหล่านี้นำไปสู่การพัฒนาประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวของแต่ละบุคคลMossberg,(2003)ซึ่งได้จากช่วงเวลาแห่งการสร้างมูลค่าเมื่อการผลิตการท่องเที่ยวและการบริโภคมีการตอบสนองนักท่องเที่ยวAndersson,(2007)แม้ว่าประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวจะเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการที่เป็นรูปธรรมและเป็นบริการที่ไม่มีตัวตนแต่ประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเป็นตัวแทนของเหตุการณ์จากประสบการณ์ทางด้านการท่องเที่ยว Pine & Gilmore,(1999),(Fayos Sola & Moro,(1995),Weiermair,(2000) กระบวนการที่นักท่องเที่ยวรับรู้จากแหล่งท่องเที่ยวและการจดจำประสบการณ์ของจุดหมายปลายทางของแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มประสบการณ์ของการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว Prebensen & Foss,(2011),Nina K. Prebensen,et.al.,(2016) แม้ว่านักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางจะได้มีการวางแผนของการเดินทางไว้ล่วงหน้ามาก่อนแล้วก็ตามโดยขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในกระบวนการคัดเลือกจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวคือขั้นตอนการเริ่มต้นก่อนการเดินทางท่องเที่ยวจริงจะเกิดขึ้นChen and Petrick,(2013) และClawson & Knetsch,(1966)การวิจัยพบว่าเร็วที่สุดเท่าที่ในทศวรรษที่1960 ว่าประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวในด้านการพักผ่อนหย่อนใจของนักท่องเที่ยวเป็นไปในแบบ Multiphasicโดยเฉพาะผู้ศึกษาวิจัยได้ศึกษาไว้ 5 ขั้นตอนที่แตกต่างกันและมีปฏิสัมพันธ์กันดังนี้(1).ระยะความคาดหวังของการท่องเที่ยว(An-Anticipation-Phase)(2).การเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวหรือไซด์(Travel-To-The-Site)(3).กิจกรรมในสถานที่ท่องเที่ยวหรือแหล่งท่องเที่ยว(On-Site Activity)(4).การเดินทางกลับจากการท่องเที่ยว(Return Travel)และ(5).ช่วงความทรงจำจากการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว(A Recollection Phase).,Nina K. Prebensen,et al.,(2016),Gunn,(1972)and Mercer,(1971)

                   ฉะนั้นประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวโดยส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่แรงจูงใจทางด้านการท่องเที่ยวและความหมายที่ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้รับจากประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของนักท่องเที่ยวเองในสังคมอุตสาหกรรมขั้นสูงการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนในวันหยุดยังได้ตรวจสอบความหมายทางจิตวิทยาและอารมณ์ที่ได้จากกิจกรรมทางการท่องเที่ยวและมุมมองต่างๆของนักท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่งด้วย Jackson,White & Schmierer,(1994),(1996);Borrie & Roggenbuck,(2001) ; Crompton,(2002) Sternberg,(1997) ; Lee & Shafer,(2002) ประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวเป็นการพักผ่อนที่เป็นประสบการณ์ทางการพักผ่อนหย่อนใจอันน่ารื่นรมย์ของนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางบุคคลหรือกลุ่มคนทั่วไปซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางเพื่อการพักผ่อนจากการท่องเที่ยวในวันหยุดได้รับการยกย่องจากสังคม ที่เป็นกิจวัตรประจำวันในวันทำงานตามปกติและยังเป็นการเพิ่มศักยภาพให้นักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางบุคคลหรือกลุ่มคนทั่วไปเกิดความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของนักท่องเที่ยวเองAllen and Beattie,(1984) ; Mannell and Iso-Ahola,(1987).,De Bloom et al,(2009) ; Hills and Argyle,(2001) ; Kuhnel and Sonnentag,(2011),De Bloom et al,(2012); Chen and Petrick,(2013).

ความหมายประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว  (Tourist Experience)

                   จากการทบทวนแนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้มีผู้เชี่ยวชาญนักวิชาการและนักวิจัยหลายท่านได้ให้ความหมายของประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว(Tourist Experience)ไว้ดังนี้

                   Clawson &Knetsch.,(1966).ได้ให้ความหมายของประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว(Tourist Experience) หมายถึงเป็นประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวที่มีความเกี่ยวข้องกับจุดหมายปลายทางอย่างไรก็ตามประสบการณ์ของกิจกรรมการท่องเที่ยว เริ่มเกิดขึ้นก่อนการเดินทางในขั้นตอนของการวางแผนล่วงหน้าก่อนการเดินทางและการเตรียมตัวและยังคงดำเนินการต่อไปหลังจากที่นักท่องเที่ยวได้รับผลตอบแทนจากประสบการณ์และการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงจากแหล่งท่องเที่ยวหรือระหว่างการเดินทาง

                   Burke and Resnick,(1991).ได้ให้ความหมายของประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว(Tourist Experience) หมายถึง เป็นประสบการณ์ที่เกิดจากนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางบุคคลหรือกลุ่มคนทั่วไปที่ได้เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งจากการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวโดยใช้ทั้งเหตุและผลรวมไปถึงอารมณ์ในการตัดสินใจด้วยเหตุผลต่างๆในเรื่องของค่าใช้จ่ายความน่าเชื่อถือ เวลาสถานที่ท่องเที่ยวหรือแหล่งท่องเที่ยวที่พักและการบริการที่ได้รับรู้จากการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวสามารถทำให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้ถึงข้อมูลทั้งในเชิงบวกและเชิงลบในเวลาเดียวกัน

                   Shaw–Williams,(2014).ได้ให้ความหมายของประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว(Tourist Experience) หมายถึง เป็นประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวที่เกิดจากนักท่องเที่ยว มีแรงจูงใจที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทาง บุคคลหรือกลุ่มคนทั่วไปที่กำลังเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่มีอิทธิพลหลายอย่างรวมทั้งองค์ประกอบของนักท่องเที่ยวแต่ละบุคคลและผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวความรู้และอัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจมีผลต่อนักท่องเที่ยวเป็นผลลัพธ์ของประสบการณ์ทางการท่องเที่ยว ประเภทต่างๆของผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการทางด้านการท่องเที่ยวรวมไปถึงคุณภาพของข้อเสนอเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดอย่างเท่าเทียมกัน

                   Robertson &Aitken,(2014).ได้ให้ความหมายของประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว(Tourist Experience) หมายถึง เป็นประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวที่ไม่ได้เป็นประสบการณ์ที่สร้างความทรงจำเพียงอย่างเดียว ที่น่าจดจำแต่เป็นประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวที่น่าจดจำที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกของนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางการ ที่มีอยู่ในสถานที่ท่องเที่ยวหรือแหล่งท่องเที่ยวความรู้สึกความทรงจำ ประสบการณ์และดูดซับช่วงเวลาของการท่องเที่ยวที่สามารถทำให้สร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำอยู่เหนือทั้งหมดร่วมกับผู้คนหรือการสร้างพันธทางอารมณ์ที่เป็นจุดโฟกัสของประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวที่น่าจดจำของนักท่องเที่ยว

                   Song et al.,(2014).ได้ให้ความหมายของประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว(Tourist Experience)หมายถึง เป็นประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวที่นำไปสู่ความต้องการความคาดหวังจากการเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวหรือแหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ที่มีประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวที่น่าจดจำ ประทับใจ ทำให้เกิดมีความพึงพอใจที่จะกลับมาเยี่ยมชมซ้ำอีกครั้งและส่งผลต่อความตั้งใจในการทบทวนสถานที่ท่องเที่ยวหรือแหล่งท่องเที่ยวและมีการบอกต่อหรือการแนะนำโดยการแชร์ข้อมูลทางด้านการท่องเที่ยวผ่านข้อความ รูปภาพ และวีดีโอให้กับนักท่องเที่ยวรายอื่นๆด้วยความเต็มใจ

                   Ye (Sandy) Shen,(2016).ได้ให้ความหมายของประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว(Tourist Experience) หมายถึงการมุ่งเน้นไปที่การเผชิญหน้าระหว่างนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางบุคคลหรือกลุ่มคนทั่วไปกับเหตุการณ์ทางการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นและคำนิยามที่สองเน้นถึงผลของการประสบเหตุการณ์เหล่านี้นักวิจัยส่วนใหญ่จะใช้นิยามที่สองของประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวที่เป็นประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวที่เป็นการแสดงผลของการประสบกับการเดินทางที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว

                   Jeongmi Kim and Daniel R.Fesenmaier,(2017).ได้ให้ความหมายของประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว (Tourist Experience)หมายถึงประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวที่ไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับกิจกรรมในสถานที่ท่องเที่ยวหรือแหล่งท่องเที่ยวอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังเป็นผลมาจากการวาดฝันและการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวางแผนล่วงหน้าก่อนการเดินทางในอนาคตและจากผลการสะท้อนกลับของการพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์ก่อนการเดินทางและประสบการณ์ระหว่างการเดินทางและประสบการณ์หลังการเดินทาง

                   Hyoungeun Moon & Heesup Han,(2018).ได้ให้ความหมายของประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว (Tourist Experience) หมายถึง เป็นประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวที่เกิดจากการรับรู้ทางด้านภูมิทัศน์ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมและทางด้านจิตวิทยาประกอบด้วยมนุษย์และภูมิทัศน์เป็นการรับรู้ทางด้านภูมิทัศน์ที่ก่อให้เกิดการโต้ตอบซึ่งกันและกันระหว่างบุคคลที่เป็นนักท่องเที่ยวและภูมิทัศน์ที่เกิดจากสภาพแวดล้อมจึงกลายเป็นประสบการณ์ชุดของการโต้ตอบกับสภาพแวดล้อมทำให้เกิดกระบวนการของการทำภายในซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวและเป็นการสร้างการตอบสนองความต้องการและความคาดหวังที่เกิดจากการรับรู้ของเขาหรือเธอจากการตอบสนองทางอารมณ์เช่นความรู้สึกผ่อนคลายและความสนุกสนานตื่นเต้น

                    Wu, Li,& Li,(2018).ได้ให้ความหมายของประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว(Tourist Experience) หมายถึง เป็นประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ในสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมหรือแหล่งท่องเที่ยวโดยรวมของจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทำให้ทราบถึงพฤติกรรม อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดความตื้นเต้นและทัศนคติแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวที่ทำให้เกิดความผ่อนคลาย ประสบการณ์เป็นการเรียนรู้ประสบการณ์ที่เกิดจากการทดลองและเกิดจากประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ตามมุมมองในแนวคิดทฤษฎีของตรรกะหรือเพื่อยืนยันหรือบอกเป็นนัยว่ามีอยู่จริงดังนั้นประสบการณ์จึงเกี่ยวข้องกับการค้นหาประสบการณ์และความถูกต้องของชีวิตของตนเองและของผู้อื่น

บทที่ 1 แนวคิดทฤษฎีทางการตลาด (Marketing Theory) โดย ชีวรรณ เจริญสุข , Cheewan Charoensook ,Students Doctor of Business Administration (DBA)

1.ประวัติความเป็นมาและความหมายของทฤษฎีทางการตลาด

แนวคิดทางการตลาดของ ฟิลลิป คอตเลอร ความสําคญของฟิลลิป คอตเลอร์ในศาสตร์การตลาดฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) เกิดเมื่อปีค.ศ.1931 จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาแห่งชิคาโก (University of Chicago) และปริญญาเอกจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งรัฐแมทซาจูเซทท์ (MIT) ทางด้านเศรษฐศาสตร์และการศึกษาขั้นสูงกว่าปริญญาเอกทางด้านคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และทางด้านวิทยาศาสตร์ทางพฤติกรรม (Behavioural Science) ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐชิคาโกขณะนี้เป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น (Kellogg Graduate School of Management) ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) ได้นำเสนอการนำหลักการตลาดทั้งหลายไปประยุกต์ใช้ในโลกปัจจุบัน ทั้งทางด้านธุรกิจทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) รูปแบบทางการตลาดขององค์กรและคุณค่าต่อลูกค้าและเป็นที่ปรึกษาในด้านของการวางแผนและกลยุทธ์ทางการตลาด การวางผังองค์กรทางด้านการตลาดและการตลาดระหว่างประเทศ ให้กับบริษัทเช้น ไอบีเอ็ม (IBM) เจนเนอรัลอิเล็กทริก(General Electric) เอทีแอนด์ที (AT&T) ฮันนีเวลล์ (Honeywell) ธนาคารแห่งชาติอเมริกา (Bankof America) สายการบินสวิสแอร์ (SAS Airlines) บริษัทมิชลิน (Michelin) โมโตโรลลา (Motorola)และบริษัทรถยนต์ฟอร์ด (Ford)

นอกจากนี้ ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) ได้เสนอผลงานวิจัยโดยส่วนใหญ่นั้น เน้นทางด้านการนำหลักการทางการตลาดไปประยุกต์ใช้ และวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน อันนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆสู่ตลาด และสามารถวางกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้ในระยะยาว ในฐานะอาจารย์และผู้นำเสนอแนวคิดหลักทางการตลาดสู่สังคม ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) จึงได้รับเชิญไปแนะนำและบรรยายแก่หลายๆบริษัท ทั่วโลกเช่นยุโรป เอเชียและอเมริกาใต้ เกี่ยวกับการนำหลักการทางเศรษฐศาสตร์และการตลาดไปปฏิบัติ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กรเหล่านั้น ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) ยังได้ให้คำปรึกษากับรัฐบาลต่างๆ ในด้านการพัฒนาและการนำความสามารถที่มีอยู่ของชาติ หรือคนในชาตินั้นๆ หรือในองค์กรนั้นๆ มาทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันทั้งในประเทศและในระดับนานาชาติอาทิในประเทศไทย  ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) กล่าวได้ว่า เป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่ทางด้านเศรษฐศาสตร์ ทั้งเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค และการตลาดแขนงย่อยๆสาเหตุที่ ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) ได้รับการยกย่องอย่างมากในสาขาทางด้านการตลาด มีดังต่อไปนี้ (The IEBM Handbook of Management Thinking, p. 361.)

ประการแรก ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) เขาเป็นผู้ที่เปลี่ยนการอธิบายทางด้าน การตลาด จากกิจกรรม(activity)ไปสู่การให้ความสำคัญที่การสรางความเข้าใจว่าการตลาดคืองานทางด้านการผลิต (work of production)

ประการที่สอง ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) ได้ต่อยอดความคิดของ ปีเตอร์เอฟ. ดรัคเกอร์ (Peter F. Drucker) ในการเปลี่ยนความคิดทางการตลาดจากเดิม มุ่งเน้นที่ราคา และการกระจายสินค้า (price and distribution) ไปสู่การเน้นที่พบความต้องการของลูกค้า(meeting customers’s need) และประโยชน์ที่จะได้รับจากผลิตภัณฑ์และบริการ (benefits receivesfrom a product or service) และ

ประการสุดท้าย ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) เป็นผู้ขยายขอบเขตของการตลาดให้กว้างขึ้น จากการรับรู้เดิมในมิติของการตลาดว่า เกี่ยวข้องสัมพันธ์ขบวนการสื่อสารและแลกเปลี่ยน (process of communication and exchange) หากแต่ ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) ได้ขยายกรอบความคิดเหล่านี้ให้ได้เห็นว่าการตลาดนั้น สามารถเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจได้เช่นกัน อาทิเช่น การกุศล พรรคการเมือง เป็นต้น

 ความหมายและขอบเขตของการตลาดตลาด (Market)

ในความหมายของ ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) หมายถึง ที่ใดก็ตาม ทั้งที่เป็นสถานที่หรือไม่มีสถานที่ ที่มีอุปสงค์และอุปทาน ในสินค้า หรือบริการมาพบกัน จนทำให้เกิดราคาที่มาจากกลไกตลาด โดยเศรษฐกิจในระบบตลาดนี้ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของราคา เช่น การที่ราคาลดลงโดยอัตโนมัติเมื่อมีการเสนอขายสินค่าเป็นต้น ทางด้านทฤษฏีนั้น เห็นว่า เศรษฐกิจในระบบตลาดที่แท้จริงนั้น จำเป็นต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนี้คือ ผู้ผลิตสินค่าที่มีขนาดเล็ก ผู้บริโภคจำนวนมากรวมถึง มาตรการในการกีดกันการเข้าตลาดที่น้อย เงื่อนไขเหล่านี้ถ้ามีครบทั้งหมดจะถือว่าเป็นตลาดที่สมบูรณ์ซึ่งพบได้มากในโลกปัจจุบัน (Kotler, 2003a, p.11) คำว่า “ตลาด (Market)” มีความหมายครอบคลุมถึงลูกค้าหลายกลุ่ม รวมทั้งตลาดที่มีตัวตนโดยลักษณะทางกายภาพ และตลาดที่ไม่มีตัวตนในกายภาพ (ตลาด Digital) ตลอดจนตลาดขนาดใหญ่ที่มีหลายๆตลาดย่อยซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อยู่ในธุรกิจนั้นขอบเขตของการตลาด (The Scope of Marketing) การตลาดเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ การส่งเสริม และการส่งมอบสินค้า หรือบริการให้กับผู้บริโภคและองค์กรการธุรกิจต่างๆ นักการตลาดมีหน้าที่กระตุ้นความต้องการ ซื้อผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัทตลอดจนรับผิดชอบต่อ

หัวใจทางด้านการตลาดของ ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler)

การตลาดที่แท้จริงนั้นไม่ใช่ศาสตร์แห่งการขายสินค้าหรือบริการ แต่คือการได้รู้ว่าควรจะสร้างสินค้าหรือบริการอะไรสำหรับตลาดที่มุ่งหวัง การตลาด คือศาสตร์แห่งการศึกษาและเข้าใจความต้องการของลูกค้า แล้วจึงค่อยสร้างวิธีการที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้เจ้าของธุรกิจนั้นๆ สร้างผลกำไรที่ยั่งยืนให้กับองค์กรและผู้ถือหุ้น(Kotler,1999) คำอธิบายเช่นนี้ของ ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) น่าจะเป็นคำตอบได้ในระดับหนึ่งให้กับองค์กรต่างๆที่กำลังค้นหาคำตอบว่า จะพัฒนาและสร้างองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืนได้อย่างไร และสะท้อนให้เห็นว่าวิถีทางการตลาดไม่มี “สูตรสำเร็จตายตัว” ว่าจะต้องทำอย่างไรและทางออกของบริษัทแห่งหนึ่งก็อาจไม่ใช่คำตอบของบริษัทอีกแห่งหนึ่งเช่นกัน ดังนั้นนักการตลาดต้องพยายามเข้าใจถึงความจำเป็น และความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอสู่ตลาดจึงจะประสบความสำเร็จ หากมีการสร้างคุณค้าและสร้างความพอใจให้ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายการคิดนอกกรอบ เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ กล่าวคือ ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) อธิบายว่า ปัญหาส่วนใหญ่คือรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไรแต่ไม่รู้วิธีในการสร้างสินค้าให้ได้ตรงกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการ จึงไม่เข้าใจว่าทำไมลูกค้าจึงไม่สนใจสินค้า ในกรณีเช่นนี้ ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) เสนอว่าควรทำการตลาดแบบคิดนอกกรอบ เช่น วิธีคิดของผู้ผลิตตุ๊กตาบาร์บี้ซึ่งเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์จึงสามารถคิดสร้างตุ๊กตาบาร์บี้ที่ เปลี่ยนเสื้อผ้าได้ตามสมัย ตามวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ตุ๊กตาบาร์บี้ในประเทศอินเดียก็ใส่เสื้อผ้าแบบอินเดีย ไปประเทศอื่นตุ๊กตาบาร์บี้ก็แต่งตัวแบบอื่น ดังนั้น ผู้ผลิตตุ๊กตาบาร์บี้จึงไม่เพียงผลิตตุ๊กตาเท่านั้น หากแต่กลับกลายเป็นผู้ผลิตเสื้อผ้ารายใหญ่ในโลกอีกด้วย (Kotler, 2005, p. 2)ในขณะที่การตลาดดั้งเดิมนั้นต้องการ ค้นหาความต้องการของลูกค้าให้เจอ และตอบสนองให้ได้ แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งเราสามารถตอบสนองต่อ “สังคมที่ยังไม่มีความต้องการ”ให้เกิดขึ้นได้เช่นกัน นั้นคือ การสร้างความต้องการใหม่ๆให้เกิดขึ้นมา เช่น อากิโกะ มอริตะผู้บริหารโซนี่กล่าวไว้ในหนังสือ Made in Japan ว่า เราไม่ได้ตอบสนองต่อตลาดแต่เราสร้างตลาดขึ้นมา ดังนั้น โซนี่จึงเป็นบริษัทรายแรกที่ผลิต กล้องวีดีโอ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องปาล์มและเครื่องโทรสารเป็นต้น (Kotler, 2003b, p.58) ฉะนั้น หลักทางการตลาดควรมองไปข้างหน้าเพื่อค้นหาความต้องการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตโดยที่ไม่ยึดติดอยู่เพียงที่ความต้องการในปัจจุบันเท่านั้นแต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ อยู่ด้วยเสมอ

2.องค์ประกอบ  

องค์ประกอบของแนวคิดทฤษฎีทางการตลาดที่เรารู้จักคุ้นชินในโลก ของผู้บริโภคสินค้าและบริการเป็นที่นิยมนั้น การตลาดที่มุ่งขายสินค้าและบริการ แต่ที่จริงแล้วการตลาดไม่จำเป็นต้องมุ้งไปทางทำกำไรเพียงอย่างเดียว อันที่จริงแล้วองค์กรใดๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องกับสาธารณะก็ล้วนจำเป็นต้องใช้การตลาดเข้าช่วยทั้งนั้น แม้แต่องค์กรศาสนาซึ่งต้องการเผยแพร่ธรรมะให้ถึงชาวบ้าน วิธีการเผลแพร่ธรรมะหรือศาสนาออกไปสู่ประชาชนนั้น สำหรับ ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) แล้ว สิ่งนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นการตลาดอย่างหนึ่งเช่นกัน ดังนั้นสามารถกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า การตลาดนั้น สามารถนำไปใช้ในการเผยแพร่อะไรก็ได้ นับตั้งแต่สินค้าไปจนถึงความคิด ซึ่งเรียกกันว่าการตลาดเชิงสังคม (social marketing) เป็นการตลาดที่ไม่ได้มุ่งหวังกำไรแต่อยากปลูกฝังความคิดหรือพฤติกรรมบางอย่างที่เห็นว่าดีให้แก่ผู้คน (นิธิ  เอี่ยวศรีวงศ์ ,2550) แนวความคิดหลักทางการตลาด (Core Marketing Concept)  คอตเลอร์ (Kotler, 2003a, pp.26-42) เสนอแนวคิดหลักทางการตลาดที่ธุรกิจสามารถเลือกใช้ได้ประกอบด้วย 6แนวคิดดังนี้

             1.แนวคิดการผลิต (The Production Concept) นับเป็นแนวคิดที่เก่าแก่ที่สุดในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งใช้ได้ดีเมื่อมีความต้องการซื้อ มากกว่าความต้องการขาย และเน้นการปรับปรุงคุณภาพการผลิตให้ต้นทุนต่ำลง เพื่อขายสินค้าในราคาต่ำกว่าคู่แข่ง แนวคิดนี้ถือว่า ผู้บริโภคนิยมสินค้าที่หาซื้อได้แพร่หลายทั่วไป และราคาถูก แนวคิดเช่นนี้มักถูกนำไปใช้ในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งผู้บริโภคมักจะสนใจตัวสินค้ามากกว่ารูปแบบ

             2.แนวคิดผลิตภัณฑ์ (The Product Concept) ผู้บริโภคจะให้ความสำคัญต่อคุณภาพมากกว่าราคา และในขณะเดียวกัน ผู้ผลิตเองก็เน้นไปที่การปรับปรุงพัฒนา ผลิตภัณฑ์อยู่เสมอแนวคิดนี้ถือว่าผู้บริโภคชอบสินค่าที่มีคุณภาพดีที่สุด อย่างไรก็ตามผู้ผลิตสินค้า หรือ บริการที่ใช้แนวความคิดนี้มักจะหลงใหลไปกับสินค้าของตน จนอาจมองข้ามความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค

           3.แนวคิดการขาย (The Selling Concept) ต้องมีการกระตุ้นการขายด้วยวิธีการในลักษณะต่างๆ เช่น ลดแลกแจกแถม เพื่อให้ซื้อมากขึ้น ปัจจุบันแนวคิดเช่นนี้มักจะถูกใช้ในสินค้าที่ขายยาก หรือไม่ได้อยู่ในความคิดที่จะซื้อเลย (unsought goods) ดังนั้นแนวความคิดนี้จึงมุ่งไปที่การขายเชิงรุก และความพยายามในการส่งเสริมการตลาด แนวความคิดนี้ตั้งข้อสันนิฐานว่า ลูกค้ามีความเฉื่อยในการซื้อ หรือบางครั้งอาจรู้สึกต่อต้านการซื้อ ดังนั้นฝ่ายการตลาดจึงมีหน้าที่ต้องเกลี้ยงกล่อมให้ซื้อ และเชื่อว่าบริษัท มีเครื่องมือการส่งเสริมการตลาดที่สามารถใช้กระตุ้นให้เกิดการซื้อ บริษัทที่ใช้แนวความคิดนี้ยกตัวอย่างเช่น บริษัท coca-cola โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้ขายสินค้าได้มากขึ้น ขายให้ผู้คนจำนวนมากขึ้น ให้บ่อยขึ้น และให้ได้เงินมากขึ้น เพื่อให้ได้กำไรมากขึ้น

           4.แนวคิดมุ่งตลาด (The Marketing concept) แนวคิดนี้เกิดขึ้นเมื่อกลางปี 1950 ซึ่งแนวคิดต่างๆที่ผ่านมานั้นจะเป็นการผลิตแล้วขาย แต่แนวคิดมุ่งตลาดนี้ยึดหลัก มุ่งเน้นลูกค้าและแสวงหากำไรจากความพึงพอใจของลูกค้า มิใช่เป็นการตามล้าหาลูกคา หรือการหาลูกค้าให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์แนวคิดการผลิตแนวคิดผลิตภัณฑ์และ แนวคิดการขาย นั้น มีข้อจำกัดสำหรับการใช้ ในปัจจุบัน กล่าวคือ แนวคิดการตลาดใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กร เริ่มต้นจากการตรวจสอบความจำเป็น และความตองการต่างๆของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และนำเสนอสิ่งที่ต้องการนั้น โดยพยายามสร้างความพึงพอใจให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพกว่าคู่แข่ง ประสานกิจกรรมต่างๆที่จะกระทบต่อลูกค้ากลุ่มนั้นเพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุด

             5.แนวคิดทางด้านลูกค้า(The Customer concept) ส่วนแนวคิดทางด้านลูกค้าจะมุ่งเน้นความต้องการส่วนตัวเฉพาะลูกค้าแต่ละราย เพื่อเสริมสร้างความภักดีของลูกค้าที่มีต่อบริษัทตลอดจนสร้างคุณค้าที่ลูกค้าได้รับให้ตลอดชีพถ้าเป็นไปได้

              6.แนวคดทางการตลาดเพื่อสังคม (The Societal marketing concept)

แนวคิดการตลาดเพื่อสังคม มีจุดเริ่มต้นเช่นเดียวกันกับแนวคิดการตลาดในรูปแบบอื่น

แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด

ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) มีความเชื่อขั้นพื้นฐานว่างานทางด้านการตลาดนั้น ไม่ควรจะมุ่งไปที่แนวคิดการขายมากเกินไป แต่ควรจะเป็นการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการขายกล่าวคือบทบาททางการตลาดที่แท้จริงก็คือ การผลักดันกลยุทธ์ธุรกิจ (Kotler, 2004, p.11) และเปลี่ยนวิธีคิดจากที่เคยคิดว่า เมื่อมีคนได้ก็ต้องมีคนเสีย (zero-thinking) มาเป็นทุกคนมีแต่ได้ (positive-sumthinking ) (Kotler, 2004, p. 59)

            ฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler)  ได้มีการแบ่งระดับของแนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับตลาดออกเป็น (Kotler, 1984) ระดับแรก การตลาดแบบดั้งเดิม (Traditional Marketing) โดยการตลาดแบบนี้มีจุดมุ่งหมายหลักคือ การสร้างความตระหนักในตราสินค้า(brands)แบบที่เคยมุ่งเน้นกันมา โดยการตลาดที่อยู่ในระดับขั้นนี้จะมุ่งให้ความสำคัญกับส่วนประสมการตลาด

            เสรี วงษ์มณฑา (2542: 11) กล่าวว่า ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) หมายถึง การมีสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ ขายในราคาที่ผู้บริโภคยอมรับได้ และผู้บริโภคยินดีจ่ายเพราะเห็นว่าคุ้ม รวมถึงมีการจัดจำหน่ายกระจายสินค้าให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการซื้อหาเพื่อความสะดวกแก่ลูกค้า ด้วยความพยายามจูงใจให้เกิดความชอบในสินค้าและเกิดพฤติกรรมอย่างถูกต้อง

อดุลย์ จาตุรงคกุล (2543: 26) กล่าวในเรื่อง ตัวแปรหรือองค์ประกอบของส่วนผสมทางการตลาด (4P’s) ว่าเป็นตัวกระตุ้นหรือสิ่งเร้าทางการตลาดที่กระทบต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ โดยแบ่งออกได้ดังนี้

  1. ผลิตภัณฑ์ (Products) ที่ต้องมีคุณภาพและรูปแบบดีไซน์ตรงตามความต้องการของลูกค้า หรือสินค้าหรือบริการที่บุคคลและองค์กรซื้อไปเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าอื่นๆ หรือในแนวทางการประกอบธุรกิจ หรือหมายถึงสินค้าหรือบริการที่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการที่ผู้ซื้อไปเพื่อใช้ในการผลิต การให้บริการ หรือดำเนินงานของกิจการ(ณัฐ อิรนพไพบูลย์ 2554)หรือ แม้ผลิตภัณฑ์จะเป็นองประกอบตัวเดียวในส่วนประสมของการตลาดก็ตาม แต่เป็นตัวสำคัญที่มีรายละเอียดที่จะต้องพิจารณาอีกมากมาย ดังนี้ เช่นความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ (Produce Variety) ชื่อตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ (Brand Name) คุณภาพ ของผลิตภัณฑ์ (Quality) การรับระกันผลิตภัณฑ์ (Warranties) และการรับคืนผลิตภัณฑ์ (Returns) (ชีวรรณ เจริญสุข 2547)
  2. ราคา (Pricing) ต้องเหมาะสมกับตำแหน่งทางการแข่งขันของสินค้าและสร้างกำไรในอัตราที่เหมาะสมสู่กิจการหรือจำนวนเงินที่ถูกเรียกเก็บเป็นค่าสินค้าหรือบริการหรืผลรวมของมูลค่าที่ผู้ซื้อทำการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์จากการมีหรือการใช้ผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการหรือนโยบายการตั้งราคา (Pricing Policies)(ณัฐ อิรนพไพบูลย์ 2554)หรือมูลค่าของสินค้าและบริการที่วัดออกมาเป็นตัวเงิน การกำหนดรามีความสำคัญต่อกิจการมาก กิจการไม่สามารถกำหนดราคาสินค้าเองได้ตามใจชอบ การพิจารณาราคาจะต้องกำหนดต้นทุนการผลิต สภาพการแข่งขัน กำไรที่คาดหมาย ราคาของคู่แข่งขัน ดังนั้นกิจการจะต้องเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการกำกำหนดราคาสินค้าและบริการ  ประเด็นสำคัญจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาได้แก่ ราคาสินค้าที่ระบุในรายการหรือราคาที่ระบุ (List Price) ราคาที่ให้ส่วนลด (Discounts) ราคาที่มีส่วนยอมให้ (Allowances) ราคาที่มีช่วงระยะเวลาที่การชำระเงิน (Payment Period) และราคาเงื่อนไขให้สินเชื่อ (Credit Terms) (ชีวรรณ เจริญสุข 2547)
  3. ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) ก็เน้นช่องทางการกระจายสินค้าที่ครอบคลุมและทั่วถึง สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายทุกส่วนได้เป็นอย่างดีหรือเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายเป็นเส้นทางเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคหรือลูกค้า ซึ่งอาจผ่านคนกลางหรือไม่ผ่านก็ได้ ในช่องทางการจัดจำหน่ายประกอบด้วย ผู้ผลิต ผู้บริโภค หรือผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม (Industrial User) หรือลูกค้าทางอุตสาหกรรม (Industrial Consumer) และคนกลาง (Middleman) โลจิสติกส์ทางการตลาด เป็นการวางแผนการปฏิบัติตามแผนและการควบคุมการเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุดเริ่มต้นไปยงจุดที่ต้องการ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าโดยมุ่งผลกำไร (ณัฐ อิรนพไพบูลย์ 2554) หรือกลยุทธ์ทางการตลาดในการทำให้มีผลิตภัณฑ์ไว้พร้อมจำหน่าย สามารถก่ออิทธิพลต่อการพบผลิตภัณฑ์ แน่นอนว่าสินค้าที่มีจำหน่ายแพร่หลายและง่ายที่จะซื้อก็จะทำให้ผู้บริโภคนำไปประเมินประเภทของช่องทางที่นำเสนอก็อาจก่ออิทธิพลต่อการรับรู้ภาพพจน์ของผลิตภัณฑ์ (ชีวรรณ เจริญสุข 2547)หรือ ช่องทางการจัดจำหน่ายที่เกี่ยวข้องกับ หน่วยเศรษฐกิจต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการนำพาสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่มือผู้บริโภค ซึ่งการตัดสินใจเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสม มีความ สำคัญต่อกำไรของหน่วยธุรกิจ รวมทั้งมีผลกระทบต่อการกำหนดส่วนผสมทางการตลาดที่เกี่ยวข้องอื่นๆเช่น การตั้งราคา การโฆษณา เกรดสินค้า เป็นต้น โดยการเลือกช่องทางการตลาดมักมีผลผูกพันในระยะยาว เช่น การเลือกแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายเปลี่ยนตัวแทนจำหน่ายจริง ก็หมายความว่าการบริหารจัดการในส่วนอื่นๆ เช่น การผลิต การบรรจุหีบห่อ พนักงานขาย นโยบายการจัดส่งสินค้า (ภูดินันท์ อดิทิพยางกูร 2555) หรือ การกระจายสินค้าเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายตัวสินค้า จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค หรือผู้ใช้ทางอุตสาหกรรมการขนส่งและการเก็บรักษาตัวสินค้า ภายในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งและระบบช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจนั้น (ชานนท์ รุ่งเรือง 2555)
  4. การส่งเสริมการตลาด (Promotion) ที่เน้นทั้งการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายและการตลาดโดยตรง ซึ่งสามารถเรียกว่า 4P ซึ่งนำไปสู่การได้ครอบครองส่วนแบ่งทางการตลาดที่เพิ่มขึ้นตามเป้าหมายของกิจการนั่นเอง ระดับที่สองคือการตลาดที่มุ่งเน้นทางด้านของการสร้างประสบการณ์ที่ดีน่าประทับใจให้กับลูกค้าซึ่งรู้จักกันในชื่อว่าการตลาดเชิงประสบการณ์ (Experiential Marketing) ซึ่งหากสามารถสร้างประสบการณ์ในการใช้สินค้า หรือบริการที่ดีต่อลูกค้าเป้าหมายแล้ว ก็จะนำไปสู่การสร้างความผูกพันทางด้านอารมณ์ที่แนบแน่น (Emotional Attachment) ต่อผู้บริโภคแบบสนิทแนบแน่น โดยผลลัพธ์ที่คาดหวังจากกิจการในการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดระดับที่สองนี้ คือกิจการจะสามารถมีส่วนแบ่งการตลาดในจิตใจของลูกค้าสูงขึ้น(Share of Heart) เมื่อเทียบกับคู่แข่งขัน(ณัฐ อิรนพไพบูลย์ 2554)หรือ เป็นกิจกรรมติต่อสื่อสารไปยังตลาดเป้าหมายเพื่อเป็นการให้คามรู้ ชักจูง หรือเป็นการเตือน ความจำเป็นของตลาดเป้าหมายที่มีต่อตราสินค้าและผลิตภัณฑ์สินคาหรือบริการ การโฆษณา การส่งเสริมการขาย (ชานนท์ รุ่งเรือง 2555) หรือ เป็นการตลาดทางตรงการให้ข่าวสาร และการประชาสัมพันธ์ เป็นสิ่งสำคัญที่นำมาใช้ในการสร้างการรับรู้ การกระตุ้นชื่อเสียงของบริษัทการแยกแยะข้อมูลข่าวสาร ของผลิตภัณฑ์หรือการนำทางให้กับพนักงานขายหรือเป็นกลยุทธ์การสื่อสารภายใต้เป้าหมายได้ทราบถึงผลิตภัณฑ์ และบริการที่ต้องการจะจำหน่าย ณ สถานที่ใดระดับใด การส่งเสริมการตลาดเป็นตัวแปรที่หนึ่งของส่วนประสมการตลาดโดยทำหน้าที่ชี้ชวน ให้ลูกค้าเป้าหมายสนใจและซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น (เชาว์ โรจนแสง 2545) หรือเป็นเครื่องมือการสื่อสารเพื่อสร้างความพึงพอใจต่อตราสินค้าหรือบริการความคิด ต่อบุคคลโดยใช้เพื่อจูงใจ ให้เกิดความต้องการเพื่อเตือนความทรงจำ ในผลิตภัณฑ์โดยคาดว่าจะมีอิทธิพลต่อความรู้สึก ความเชื่อ และพฤติกรรมการซื้อ(ชีวรรณ เจริญสุข 2547)

การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค

เป็นการคนคว้า หรือวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อและการบริโภค ทั้งที่เป็นบุคคลกลุ่มบุคคล หรือองค์กร เพื่อให้ทราบถึงลักษณะความต้องการและพฤติกรรมการซื้อการบริโภคการเลือกบริการแนวคิด หรือประสบการณ์ที่จะทำให้ผู้บริโภคพึงพอใจ หรือ (ปณิศาลัญ  ชานนท์, 2548) หรือเป็นการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค ด้วยการศึกษาค้นคว้าถึงพฤติกรรมการเลือกซื้อ การตัดสินใจซื้อ และการใช้สินค้าและการบริการของผู้บริโภค เพื่อที่จะให้นักการตลาดทราบถึงความพึงพอใจและความต้องการของผู้บริโภค (กมลรัตน์ สัตยาพิมล, 2552 ; นฤมล อดิเรกโชติกุล, 2548) โดยสามารถช์ 7 คำสถาม (6Ws 1H) ที่จะช่วยในการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อค้นหา 7 คำตอบ (7Os) (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554)

  1. ใครอยู่ในตลาดเป้าหมาย (Who is in the target market?) เป็นคำถามที่ต้องการทราบตลาดเป้าหมาย (target market) หรือลักษณะกลุ่มเป้าหมาย (occupants) โดยมีกลุ่มเป้าหมายทางด้าน (1) ประชากรศาสตร์  (2) ภูมิศาสตร์ (3) จิตวิทยาหรือจิตวิเคราะห์ (4) พฤติกรรมศาสตร์กลยุทธ์การตลาด (4Ps) ประกอบด้วยกลยุทธ์ด้าน ผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย และ การส่งเสริมการตลาด ที่เหมาะสมและการตอบสนองความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554)
  1. ผู้บริโภคซื้ออะไร (What does the consumer buy?) เป็นคำถามที่ต้องการทราบสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ (objects) โดยสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการคือ คุณสมบัติหรือองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ (product component) และความแตกต่างที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน (competitive Differentiation) โดยมีกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product strategy) ทางด้าน (1) ผลิตภัณฑ์หลัก (2) รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ (3) ผลิตภัณฑ์ควบ (4) ผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง (5) ศักยภาพผลิตภัณฑ์ และ (6) ความแตกต่างทางการแข่งขัน (Competitive differentiation) (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554)
  1. ทำไมผู้บริโภคจึงซื้อ (Why does the consumer buy?) เป็นคำถามที่ต้องการทราบวัตถุประสงค์ในการซื้อ (objectives) โดยต้องทำการศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อคือ (1) ปัจจัยทางจิตวิทยา (2) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจน (3) ปัจจัยเฉพาะบุคคล เพราะผู้บริโภคซื้อสินค้าเพื่อสนองความต้องการด้านร่างกาย และจิตวิทยา ซึ่งต้องศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554)
  1. ใครมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ (Who participates in the buying?) เป็นคำถามที่ต้องการทราบบทบาทของกลุ่มต่างๆ (organizations) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริหารโดยมีองค์ประกอบในการตัดสินใจซื้อคือ (1) ผู้ริเริ่ม (2) ผู้มีอิทธิผล (3) ผู้ตัดสินใจซื้อและ (4) ผู้ใช้ (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554)
  2. ผู้บริโภคซื้อเมื่อใด (When does the consumer buy?) เป็นคำถามที่ต้องการทราบโอกาสในการซื้อ (occasions) ของผู้บริโภค เช่น ช่วงฤดูกาลใด ช่วงเดือนใด ตลอดจนเทศกาลหรือ โอกาสพิเศษหรือเทศกาลวันสำคัญต่างๆ เป็นต้น(ปรัชญา ปิยะรังสี 2554)
  3. ผู้บริโภคซื้อที่ไหน (Where does the consumer buy?) เป็นคำถามที่ต้องการทราบช่องทางหรือแหล่ง (outlets) ที่ผู้บริโภคไปทำการซื้อ เช่น ห้างสรรพสินค้า ซูปเปอร์มาร์เก็ตตลอดจนรานขายของชำ (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554)
  4. ผู้บริโภคซื้ออย่างไร (How does the consumer buy?) เป็นคำถามที่ต้องการทราบขั้นตอนหรือกระบวนการในการตัดสินใจเลือกซื้อ (operation)

            พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer behavior role) หมายถึง บทบาทของ ผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจซื้อ จากการศึกษาบทบาทพฤติกรรมของผู้บริโภค นักการตลาดได้นำมาประยุกต์ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด โดยเฉพาะกลยุทธ์การโฆษณาและผู้แสดงโฆษณา (Presenter) ให้บทบาทใดบทบาทหนึ่ง เช่น ผู้ริเริ่ม ผู้มีอิทธิพล ผู้ตัดสินใจซื้อ ผู้ซื้อ และผู้ใช้โดยทั่วไปมี 5 บทบาทคือ(ธวัลวรัตน์  อินทนนชัย 2552)

  1. ผู้ริเริ่ม (Initiator)
  2. ผู้มีอิทธิพล (Influence)
  3. ผู้ตัดสินใจ (Decision)
  4. ผู้ซื้อ (Buyer)
  5. ผู้ใช้ (User)

กลยุทธการตลาดของฟิลลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler)

ในการเตรียมกลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิผลบริษัทต้องศึกษาคู่แข่งลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าที่มีศักยภาพในอนาคต บริษัทต้องกำหนดกลยุทธ์การแข่งขัน วัตถุประสงค์จุดแข็ง จุดอ่อนและรูปแบบของการโต้ตอบของคู่แข่ง (Kotler,2003a)โดยการวางแผนกลยุทธ์นั้นอาศัยหลักการที่เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งย่อมาจาก

             S = Strength (จุดเด่น จดแข็ง)

            W = Weakness (จุดอ่อน จดด้อย)

            O = opportunity (จุดเกิดโอกาส)

            T = Threat (จดดับ อุปสรรค )

การวางแผนการตลาดเชิงกลยุทธ์เป็นกระบวนการพัฒนา และการรักษาความเหมาะสมสอดคล่องระหว่างวัตถุประสงค์ทักษะความสามารถ และทรัพยากรขององค์กรกับโอกาสทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป การวางแผนเชิงกลยุทธ์มีเป้าหมาย เพื่อปรับการดำเนินกิจการ และผลิตภัณฑ์ของบริษัทเพื่อบรรลุถึงเป้าหมายในการทำกำไรและการเติบโตของธุรกิจ การวางแผนเชิงกลยุทธ์จะมีอยู่4 ระดับ ไดแก้

              1.ระดับบริษัท (Corporate)

              2.ระดับส่วน (Division)

             3.ระดับหน่วยธรกิจ (SBU )

             4.ระดับผลิตภัณฑ์ (Product)

โดยสำนักงานใหญ่ของบริษัทจะรับผิดชอบในการกำหนดกระบวนการ เพื่อพัฒนาแผนกลยุทธ์ซึ่งกลยุทธ์ในระดับบริษัทจะวางกรอบเพื่อให้ระดับส่วน (Division) และหน่วยธุรกิจ(Business unit) วางแผนกลยุทธ์ของตนเองการวางแผนกลยุทธ์ในระดับบริษัทมีกิจกรรมสำคัญ 4ประการกล่าวคือ

             (1) ระบุพันธ์กิจ (Mission)

            (2) สร้างหน่วยธุรกิจเชิงกลยุทธ์

            (3) จัดสรรทรัพยากรสำหรับแต่ละหน่วยธุรกิจ ความแข็งแกร่งของหน่วยธุรกิจเชิงกลยุทธ์ (Strategic business unit)

(4) วางแผนธุรกิจใหม่และลดขนาดธุรกิจเดิม

นอกจากนี้แล้ว นักการตลาดต้องเข้าใจสภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม ทัศนคติของผู้คนที่มีต่อตัวเขาเอง รวมถึงทัศนคติที่มีต่อผู้อื่น องค์กร สังคม ธรรมชาติและต่อจักรวาล

นักการตลาดจะต้องวางตลาดสินค่าที่สอดคล้องกับค่านิยมหลัก และค่านิยมรองของสังคม รวมทั้งใส่ใจกับความต้องการของวัฒนธรรมย่อยที่แตกต่างกันภายในสังคมนั้น คอตเลอร์ เสนอว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค(Kotler, 2003a) พฤติกรรมผู้บริโภคมักได้รบอิทธิพลจากปัจจัย 4 ด้าน

  1. ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม (วัฒนธรรมย่อยและชนชั้นทางสังคม)
  2. ปัจจัยทางสังคม (กลุ่มอ้างอิงครอบครัว บทบาท และสถานภาพ)
  3. ปัจจัยสวนบุคคล (อายุขั้นตอนในวัฏจักรชีวิตครอบครัวอาชีพ การงาน สถานะ

ทางเศรษฐกิจรูปแบบการดำเนินชีวิต บุคลิกภาพและแนวคิดของตนเอง) และ

  1. ปัจจัยทางจิตวิทยา  (แรงจูงใจการรับรู้การเรียนรู้ความเชอและทัศนคติ) ซึ่งการวิจัยในปัจจัยต่างๆเหล่านี้สามารถให้แนวทางในการหาวิธีเข้าถึงและตอบสนองต่อผู้บริโภค

ให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

บุคลิกลักษณะของผู้ซื้อ

หน้าที่หลักของนักการตลาดคือพยายามศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งเร้าภายนอก ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในท้ายที่สุด ซึ่งประกอบไปด้วย

  1.   ปัจจัยด้านวัฒนธรรม เป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่สุดในการกำหนดความต้องการและพฤติกรรมของ มนุษย์ เช่น การศึกษา ความเชื่อ ยังรวมถึงพฤติกรรมส่วนใหญ่ที่ได้รับการยอมรับภายในสังคมใดสังคมหนึ่งโดยเฉพาะ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมประกอบไปด้วย วัฒนธรรม วัฒนธรรมย่อย และระดับชั้นในสังคม
  2.  ปัจจัยทางสังคม เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน     และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ ซึ่ง ประกอบด้วยกลุ่มอ้างอิง ครอบครัว บทบาท และสถานะของผู้ซื้อ
  3.     ปัจจัยส่วนบุคคล การตัดสินใจของผู้ซื้อมักได้รับอิทธิพล      จากคุณสมบัติส่วนบุคคลต่าง ๆ เช่น อายุ อาชีพ สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ การศึกษา รูปแบบการดำเนินชีวิต วัฏจักรชีวิตครอบครัว

4.ปัจจัยทางจิตวิทยา การเลือกซื้อของบุคคลได้รับอิทธิพล  จากปัจจัยทางจิตวิทยา ซึ่งจัดปัจจัยในตัว ผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อและใช้สินค้า ปัจจัยทางจิตวิทยาประกอบด้วยการจูงใจ การรับรู้ ความเชื่อและเจตคติ บุคลิกภาพและแนวความคิดของตนเองนักจิตวิทยามาสโลว์  (Abraham Maslow)

กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค (Five-Stage Model of The Customer Buying Process) (Orji and Goodhope, 2013) เมื่อทราบถึงพฤติกรรมในการซื้อของผู้บริโภคและปัจจัยที่มีผลต่อพฤตกรรมการซื้อแล้ว ซึ่งการศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคโดยทั่วไปจะผ่านกระบวนการ 5 ขั้นตอน ดังนี้คือ

  1. การรับรู้ถึงความต้องการ (Need Recognition)
  2. การค้นหาข้อมูล (Information Search)
  3. การประเมินผลทางเลือก (Evaluation of alternative)
  4. การตัดสินใจซื้อ (Purchase Decision)       
  5. พฤติกรรมภายหลังการซื้อ (Postpurchase Behavior) (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554)

แนวความคิดเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการ (Service Quality)

            คุณภาพของการบริการ (Service Quality) หมายถึงการบริการที่ดีเลิศ (ExcellentService) ตรงกับความต้องการหรือเกินความต้องการของพนักงานผู้รับบริการจนทำให้เกิดความพอใจ (Customer Satisfaction) และเกิดความจงรักภักดี (Customer Loyalty) (ชัยสมพล ชาวประเสริฐ, 2547 :106 อ้างอิงจาก Johnston, 1995 : Lloyd-walker & Cheung, 1998) คำว่าบริการที่ดีเลิศตรงกับความต้องการหมายถึง สิ่งที่ผู้รับบริการต้องการหรือคาดหวังไว้ได้รับการตอบสนองส่วนบริการที่เกินความต้องการของผู้รับบริการหมายถึง สิ่งที่ผู้รับบริการต้องการ หรือคาดหวังไว้ได้รับการตอบสนองอย่างเต็มที่จนรู้สึกว่าการบริการนั้นเป็นบริการที่ ประทับใจคุ้มค่าแก่การตัดสินใจ

แนวคิดคุณภาพการบริการ

การศึกษาของ Parasuraman และคณะ (อ้างใน ธีรกิตินวรัตน์ ณ อยุธยา, 2547 : 183-186) พบว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้รับบริการประเมินคุณภาพของการบริการที่เขาได้รับเรียกว่า“คุณภาพของการบริการที่รับรู้” (Perceived Service Quality) ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการที่ผู้รับบริการทำการเปรียบเทียบ “บริการที่รับรู้” (Perceived Service) ซึ่งก็คือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่เขาได้รับบริการแล้วนั่นเองในการประเมินคุณภาพของการบริการดังกล่าวนั้น (ผดุงศักดิ์ สายสระสรง 2555)ลูกค้ามักจะพิจารณาจากเกณฑ์ที่เขาคิดว่ามีความสำคัญ 5ประการดังต่อไปนี้ (ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา, 2547, หน้า 183-186)

  1. Reliability (ความไว้ใจ หรือ ความน่าเชื่อถือ)
  2. Assurance (ความมั่นใจ)
  3. Tangibles (สิ่งที่สามารถจับต้องได้)
  4. Empathy (ความใส่ใจ)
  5. Responsiveness (การสนองตอบลูกค้า) (จรัญชัย กรเกตุมหาชัย 2555)

ในการวิจัยครั้งต่อมาคณะผู้วิจัยทั้ง 3 คนดังกล่าวข้างต้นพบว่า มีระดับของความสัมพันธ์ (Degree of Correlation) กันเองระหว่างตัวแปรดังกล่าวค่อนข้างสูง จึงปรับเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพของบริการใหม่ให้เหลือเกณฑ์อย่างกว้างทั้งหมด รวม 5 ประการ ดังต่อไปนี้

  1. Reliability (ความไว้ใจ หรือ ความน่าเชื่อถือ) ความสามารถในการให้บริการอย่างถูกต้องแม่นยา (Accurate Performance) การให้บริการตรงกับสัญญาที่ให้ไว้กับลูกค้า และบริการที่ให้ทุกครั้ง มีความสม่ำเสมอ ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าน่าเชื่อถือในมาตรฐานการให้บริการ สามารถให้ความไว้วางใจได้ (Dependable)หรือความสามารถในการให้บริการอย่างถูกต้อง(Accurate Performance)และไว้วางใจ (Dependable)(ผดุงศักดิ์ สายสระสรง 2555)หรือเป็นความน่าเชื่อถือไว้ใจในความสามารถที่จะให้บริการได้อย่างไว้วางใจ และมีความแม่นยำ และเชื่อถือได้ว่าจะส่งมอบบริการตามที่ได้สัญญาไว้ ความน่าเชื่อถือ มีความหมายวาการปฏิบัติการให้บริการที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มดำเนินการและถูกต้องอยู่ตลอดเวลา จากการวิจัยความน่าเชื่อถือ จะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญในประเด็นด้านงานบริการ(จรัญชัย กรเกตุมหาชัย 2555)
  2. Assurance (ความมั่นใจ) ผู้ให้บริการมีความรู้และทักษะที่จาเป็นในการบริการ (Competence) มีสุภาพและเป็นมิตรกับลูกค้า (Courtesy) มีความชื่อสัตย์ และสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าได้ (Credibility) และความมั่นคงปลอดภัย (Security)(ผดุงศักดิ์ สายสระสรง 2555)หรือทำให้เกิดความมั่นใจ ความรู้หรือมารยาทของพนักงานและความสามารถที่จะส่งผ่านความน่าเชื่อถือ และการสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้าขึ้น ในคุณภาพการบริการที่มี บ่อยครั้งผู้ให้บริการจะมอบซึ่งความมั่นใจในเบื้องต้นจากความสามารถในตัวงานที่เขามีอยู่(จรัญชัย กรเกตุมหาชัย 2555)
  3. Tangibles (สิ่งที่สามารถจับต้องได้) ลักษณะทางกายภาพของอุปกรณ์ เครื่องมือ สิ่งอานวยความสะดวก พนักงาน และวัสดุที่ใช้ในการสื่อสารต่าง ๆหรือเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกๆประกอบด้วยสภาพแวดล้อม เครื่องมือและอุ ปกรณ์ต่างๆ (ผดุงศักดิ์ สายสระสรง 2555)หรือสิ่งที่จับต้องได้เป็นหลักฐานทางกายภาพของการบริการ หรือสิ่งที่สามารถสังเกตเห็นได้เพื่อช่วยทำให้ลูกค้าทราบรูปแบบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริการได้ล่วงหน้า(จรัญชัย กรเกตุมหาชัย 2555)
  4. Empathy (ความใส่ใจ) สามารถเข้าถึงได้โดยสะดวกและสามารถติดต่อได้ง่าย (Easy Access) ความสามารถในการติดต่อสื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจได้ (Good Communication) ความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจลูกค้า (Customer Understanding) (ผดุงศักดิ์ สายสระสรง 2555) หรือเป็นการดูแลเอาใจใส่ เป็นการสนใจดูแลลูกค้าและความตั้งใจของแต่ละบุคคลที่มีต่องานด้านบริการที่ส่งมอบให้ลูกค้า ความเอาใจใส่เป็นสิ่งต่างๆ ที่ได้รับการพิจารณาจากมุมมองของลูกค้า (จรัญชัย กรเกตุมหาชัย 2555)
  5. Responsiveness (การสนองตอบลูกค้า) ความเต็มใจที่จะให้บริการทันที (Promptness) และให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี (Helpfulness)(ผดุงศักดิ์ สายสระสรง 2555)หรือการเป็นการตอบสนอง คือความยินดีและการมีความสามารถที่จะจัดให้มีบริการโดยฉับพลัน และเพื่อที่จะตองสนองอย่างรวดเร็วต่อความต้องการของลูกค้า บ่อยครั้งที่ลูกค้าร้องเรียนเกี่ยวกับการขาดซึ่งการตอบสนองในส่วนต่างๆของการบริการที่มอบให้ที่ผู้จัดให้มีการบริการแสดงให้เห็นถึงการขาดการตอบสนอง เมื่อเขายากต่อการที่จะติดต่อ แสดงให้เห็นถึงการขาดการติดตาม การให้บริการที่ไม่ดี และกระทำเหมือนกบว่าได้ทำตามสิ่งที่ลูกค้าชอบแล้ว(จรัญชัย กรเกตุมหาชัย 2555)
3.การประยุกต์ใช้  

การประยุกต์ใช้ดังกรณีตัวอย่างเช่น ร้านกาแฟสตาร์บัคส์ที่เป็นหนึ่งในเจ้าแห่งการสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อลูกค้า เน้นแนวคิดของการทำการตลาดหาสัมผัส (Sensory Marketing) กล่าวคือใช้การส่งผ่านประสาทสัมผัสในการสร้างประสบการณ์ที่ประทับใจสู่ลูกค้า ทั้ง รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส ซึ่งครบถ้วนทั้งประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดย รูป คือการดีไซน์ของร้านที่ดูเสมือนสถานที่ที่สามของลูกค้าอันนอกเหนือไปจากบ้านและที่ทำงาน ให้เข้ามาพักผ่อน พูดคุย ทำงาน และจิบกาแฟในบรรยากาศสบายๆ ส่วน รส ก็เป็นรสชาติของกาแฟที่เป็นเลิศจากเมล็ดกาแฟชั้นหนึ่งผ่านการคั่วบดและการชงอย่างประณีต ทางด้าน กลิ่น ก็ได้ออกแบบกลิ่นกาแฟ อโรมาในทางด้านเสียงสตาร์บัคส์ได้ทำสตาร์บัคส์มิวสิคที่จะบรรเลงเพลงขับกล่อม ที่เป็นเอกลักษณะหาฟังไม่ได้จากที่อื่นๆ และได้รับความนิยมจนกระทั่งปัจจุบันสามารถเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับสตาร์บัคส์ได้อีกทางหนึ่ง และสุดท้ายคือ สัมผัส ซึ่งส่งผ่านสู่ลูกค้าด้วยบริการที่เป็นเลิศจากบุคลากรที่สตาร์บัคส์เรียกว่า บาริสตร้า หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านกาแฟ จากทั้งหาช่องทางการสัมผัส จะนำประสบการณ์ที่ประทับใจไม่รู้ลืมให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า

จึงนำมาสู่ ส่วนแบ่งทางด้านจิตใจของลูกค้าด้วยในทางเดียวกันการตลาดด้านภาพลักษณ์และความรู้สึก (Image and Emotional Marketing) หลายบริษัทกำลังมุ่งหน้าสู่แนวทางการตลาด ทางภาพลักษณ์และความรู้สึกเพื่อเอาชนะใจลูกค้าขณะเดียวกันก็ผลักดันให้บริษัทเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่ลูกค้านึกถึงแม้ว่าเรื่องนี้จะเกิดขึ้นมานานแล้วแต่ในปัจจุบันแนวทางดังกล่าวได้พัฒนาไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ในขณะที่สูตรสำเร็จทางการตลาดแบบเดิมๆ จะเน้นย้ำให้เอาชนะคู่แข่งด้วยการนำเสนอ คุณลักษณะที่โดดเด่นด้วยตัวสินค่า

มีการวิเคราะห์ว่า การใช้แนวทางการตลาดที่เน้นย้ำในผลประโยชน์นั้น กระบวนการตัดสินใจของลูกค้าจะเกิดขึ้น ภายหลังการถกเถียงกันเพื่อแสวงหาเหตุผลมากกว่าจะเกิดจากการดึงดูดทางอารมณ์ ดังนั้นในช่วงเวลานี้บริษัทส่วนใหญ่จึง เพียรพยายาม สร้างภาพลักษณ์ที่โดนใจ มากกว่ากระตุ้นให้เกิดความคิดอ่าน ซึ่งกลุ่มหลังนี้มักจะกล่าวถึง เพียงประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์เท่านั้น จะเห็นได้ว่าบริษัทที่ต้องเสนอขายผ่านภาพลักษณ์นั้น จะใช้โฆษณา ที่ใช้ภาพของคนดังมี “รอยยิ้มที่เป็นไปด้วยคราบนม” การรณรงค์อย่างนี้สร้างความตอบรับได้มากกว่า โฆษณาที่ต้องการ สร้างความเข้าใจต่อสิ่งที่ได้พบเห็นเมื่อเป็นเช่นนี้บริษัทจึงหันไปพึ่งนักจิตวิทยาและนักมนุษย์วิทยา เพื่อพัฒนาการสื่อสารที่จะช่วยในการกระตุ้นเร้าอารมณ์ความรู้สึกที่ลึกล้ำยิ่งขึ้นระดับที่สาม คือการตลาดที่สร้างสรรค์สังคม (Social Marketing) ซึ่งผลลัพธ์ที่มุ่งหวังจากการตลาดขั้นสุดท้ายนี้ก็คือ ส่วนแบ่งด้านจิตวิญญาณ (Share of Soul) ซึ่งหมายถึงการที่ลูกค้าจะเกิดความเลื่อมใสเชื่อถือในแบรนด์ของกิจการ เมื่อใดที่ได้บริโภคหรืออุปโภคสินค้าจากกิจการแล้วก็จะเกิดความชื่นอกชื่นใจด้วยว่า ได้ทำสิ่งที่ดีถูกต้อง และตอบสนองต่อสังคมโดยรวมด้วย เรียกว่าได้ทั้งความพอใจจากการบริโภคสินค้าที่ต้องการ รวมถึงได้ความอิ่มเอมใจในการบริโภคนั้นๆ ด้วยเสมือนหนึ่งเติมเต็มถึงระดับจิตวิญญาณ กิจการในปัจจุบัน จึงเน้นการสร้างสรรค์การตลาดเชิงสังคมมากขึ้น เพื่อที่จะสร้างส่วนแบ่งด้านจิตวิญญาณ ดังกล่าวให้กับลูกค้า ซึ่งหากว่าสามารถสร้างความเหนียวแน่นถึงระดับนี้ได้ทำให้เกิดความเป็นได้น้อยที่ลูกค้าจะหันไปใช้สินค้าของคู่แข่งขันตัวอย่างเช่น เดอะบอดี้ชอฟ (The body shop)

โดยตรวจสอบความจำเป็น ความต้องการตลอดจนความสนใจของกลุ่มเป้าหมายและนำเสนอสิ่งที่ต้องการนั้น โดยสร้างความพึงพอใจให้กลุ่มเป้าหมายให้ได้มากกว่าคู่แข่งขัน โดยเนินการรักษาไว้ซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่รักษาความสมดุลย์ระหว่างการทำกำไรของบริษัทความต้องการและความพึงพอใจของผู้บริโภคตลอดจนผลประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของมวลชน

           ศรีสุดา มณีโชติวงศ์ (2550)ได้ศึกษาเรื่องความพึงพอใจของผู้รับบริการภายในต่อการให้บริการของกองคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากข้าราชการลูกจ้างประจำ พนักงานราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(ส่วนกลาง) จำนวน 288 คน โดยเก็บรวมรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้แยกไว้และเลือกตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจในคุณภาพบริการโดยแบบสอบถาม แบ่งเป็น ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้รับบริการ 5 ด้าน ได้แก่ด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านความน้าเชื่อถือ ด้านการตอบสนองความต้องการด้านความมั่นใจต้อการให้บริการ และด้านความเข้าใจถึงความรูสึกของผู้รับบริการโดยใช้มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และข้อเสนอแนะในการใช้บริการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว พบว่าผู้รับบริการภายในของกองคลังมีความพึงพอใจต่อการให้บริการทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อใช้สถิติอ้างอิง t-Test พิจารณาความพึงพอใจตาม(ผดุงศักดิ์ สายสระสรง 2555)

ปัจจัยส่วนบุคคลของลูกค่าที่แตกต่างกัน พบว่าเพศ มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 10ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งในด้าน อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านความน่าเชื่อถือด้านการตอบสนองความต้องการ ด้านความมั่นใจต้อการให้บริการ และด้านความเข้าใจถึงความรู้สึกของผู้รับบริการ และเมื่อในสถิติอ้างอิง One-way ANOVAพิจารณาความพึงพอใจตามปัจจัยส่วนบุคคลของลูกค้า ที่แตกต่างกันพบว่าผู้รับ บริการ ที่มีอายุแตกต่างกันมีความพึงพอใจไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งในด้าน อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านการตอบสนองความต้องการด้านความมั่นใจต่อการให้บริการ และด้านความเข้าใจถึงความรู้สึก ของผู้รับบริการ และพบว่าผู้รับบริการที่มีระดับการศึกษาและสถานภาพการสมรส แตกต่างกันมีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งในด้าน อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านความน่าเชื่อถือด้านการตอบสนองความต้องการด้านความมั่นใจต้อการให้บริการและด้านความเข้าใจถึงความรู้สึกของผู้รับบริการ(ผดุงศักดิ์ สายสระสรง 2555)

ที่มา

Click to access CH7-New-product-development.pdf

http://www.arch.chula.ac.th/journal/files/article/swMGm6zShnThu91446.pd

Click to access phil0351yc_ch3.pdf

บรรณานุกรม

จรัญชัย กรเกตุมหาชัย (2555). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อคุณภาพการให้บริการฝึกอบรมของบริษัท แบงค์คอก ควอลิตี้ เซอร์วิส จำกัด. บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.

ชานนท์ รุ่งเรือง (2555). การเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายสินค้าและการลดต้นทุนโดยใช้เทคนิคการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเลคทรอนิคส์ในอุตสาหกรรมอลูมิเนียม. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิ. เชียงใหม่  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม

ชีวรรณ เจริญสุข (2547). กลยุทธ์การปรับตัวทางการตลาดของร้านค้าปลีกไทยแบบดั้งเดิม (โชวห่วย). บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยศรีปทุม. บริหารธุรกิจ การตลาด.

ณัฐ อิรนพไพบูลย์ (2554). ความพึงพอใจของผู้รับเหมาต่อส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จของโรงงานซีแพคแฟรนไชส์ สาขาจอมทอง. บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บริหารธุรกิจการตลาด.

ธวัลวรัตน์  อินทนนชัย (2552). การโฆษณาเครื่องดมชูกําลังและการบริโภคมายาคติของผู้ขับรถรับจ้างสี่ล้อในจังหวัดเชียงใหม. ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การสื่อสารการศึกษา.

ปรัชญา ปิยะรังสี (2554). การเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้บริโภคในการบริโภคสุราโรงงานกับสุรากลั่นชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่        บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมเกษตร.

ผดุงศักดิ์ สายสระสรง (2555). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อคุณภาพการให้บริการของงานซ่อมบำรุงระบบสื่อสารของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคใต้). บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.

ภูดินันท์ อดิทิพยางกูร (2555). การบริหารช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าระหว่างประเทศ    มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิรา. ภ. อดิทิพยางกูร. กรุงเทพฯ.

บทที่ 2 ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior) โดย ชีวรรณ เจริญสุข , Cheewan Charoensook ,Students Doctor of Business Administration (DBA)

1. ประวัติความเป็นมา และความหมาย

ประวัติความเป็นมาของ”ผู้บริโภค” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค  พ.ศ.2522 ให้ความหมายไว้ว่า  หมายถึง  ผู้ซื้อ  ผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ  หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจ   เพื่อให้ซื้อสินค้าหรือบริการ  และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดนชอบ แม้มิได้เสียค่าตอบแทนก็ตาม “ผู้บริโภคคือพระราชา”  เป็นคำกล่าวที่ให้ความสำคัญแก่ผู้ประกอบธุรกิจจะอยู่ได้ต้องงอาศัยผู้บริโภค  แต่ในสังคมปัจจุบัน  ผู้บริโภคมักจะถูกเอารัดเอาเปรียบด้วยวิธีการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการใช้กลยุทธ์ทางตลาดที่ขาดคุณธรรมและความรับผิดชอบในอดีตคนไทยไม่ค่อยเห็นความสำคัญในเรื่องการใช้สิทธิของผู้บริโภค จึงถูกเอารัดเอาเปรียบทั้งในด้านคุณภาพ และราคามักจะไม่สนใจที่จะรักษาของตนเองให้มากขึ้น อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ  ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและไม่ทราบถึงวิธีการเลือกซื้อสินค้าและบริการที่ถูกต้อง   ตลอดจนขาดข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสิค้า และบริการ  รวมทั้งผู้บริโภคยังคงมีลักษณะไม่สนใจที่จะเอาเรื่องกับผู้ประกอบธุรกิจที่เอารัดเอาเปรียบ  ยังมีลักษณะต่างคนต่างอยู่  ไม่มีการรวมตัวกันเพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของตนเอง ในตลาดปัจจุบันถือว่าผู้บริโภคเป็นใหญ่ และมีความสำคัญที่สุดของนักธุรกิจ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารการตลาด จะต้องศึกษากลุ่มผู้บริโภคให้ละเอียด ถึงสาเหตุของการซื้อ การเปลี่ยนแปลงการซื้อ การตัดสินใจซื้อ ฯลฯ ซึ่งถ้าผู้บริหารศึกษาถึงสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยให้ผู้บริหารทายใจหรือเดาใจกลุ่มผู้บริโภคของกิจการได้ถูกต้องวากลุ่มผู้บริโภคเหล่านั้น ต้องการอะไรมีพฤติกรรมการซื้ออย่างไร แรงจูงใจในการซื้อเกิดจากอะไร แหล่งข้อมูลที่ผู้บริโภคนำมาตัดสินใจซื้อคืออะไร รวมทั้งกระบวนการตัดสินใจซื้อข้อมูลต่างๆเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนทางการตลาด ความหมายของพฤติกรรมผู้บริโภค             พฤติกรรมของผู้บริโภค (Customer Behavior) หมายถึงเป็นการกระทำโดยมนุษย์แสดงออกโดยไม่รู้ตัว การแสดงออกหรือการกระทำโดยธรรมชาติของมนุษย์สามารถส่งอิทธิพลทางการตลาดได้ (Foxall & Sigurdsson, 2013) กลุ่มบุคคลหรือครัวเรือน ซึ่งซื้อหรือต้องการสินค้าหรือบริการเพื่อการบริโภคส่วนตัว หรือพฤติกรรมการตัดสินใจและการกระทำของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ และใช้บริการสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของเขา การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นการศึกษาพฤติกรรมในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อให้ได้รับความพอใจสูงสุดจากงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด (วันดี รัตนกาย, 2554) หรือ การกระทำหรือการแสดงออกของมนุษย์ซึ่งเกิดจากสิ่งกระตุ้นภายใน เช่น ความคิด ทัศนคติ และค่านิยม นอกจากนี้การแสดงออกนั้นๆอาจมาจากการกระทบของปัจจัยภายนอก เช่น วัฒนธรรม และ สังคม (นันทา ศรีจรัส, 2551) หรือ การแสดงกิริยาอาการที่เกี่ยวกบการซื้อ การใช้การประเมินผล การค้นหาข้อมูลสินค้าหรือบริการตามความต้องการหรือตามการคาดหวังของผู้บริโภค 2) พฤติกรรมผู้บริโภคคือ การแสดงปฏิกิริยาของบุคคลที่เป็นกระบวนการ เพื่อให้ได้รับสินค้าหรือบริการตามความต้องการของตน3) พฤติกรรมผู้บริโภคคือ กระบวนการที่เกี่ยวกบการค้นหาข้อมูล การซื้อ การใช้การประเมินผลในสินค้าหรือบริการ หรือพฤติกรรมการผู้บริโภค หมายถึง พฤติกรรมการซื้อ การใช้ การประเมิน และการกำจัดสินค้าและบริการ ของผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ที่ซื้อสินค่าและบริการไปเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน ผู้บริโภคทุกคนที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อวัตถุประสงค์เช่นว่านี้รวมกันเรียกว่าตลาดผู้บริโภค ผู้บริโภคทั่วโลกนั้นมีความแตกต่างกันในลักษณะด้านประชากรศาสตร์อยู่หลายประเด็น เช่น ในเรื่องของอายุรายได้ระดับการศึกษาศาสนาวัฒนธรรม ประเพณีค่านิยม และรสนิยม เป็นต้น พฤติกรรมการกินการใช้การซื้อ และความรู้สึกนึกคิดของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์จึงแตกต่างกันออกไป ทำให้มีการซื้อการบริโภคสินค้าและบริการหลายๆ ชนิดที่แตกต่างกัน นอกจากลักษณะประชากรดังกล่าวแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่ทำให้มีการบริโภคแตกต่างกัน(กมลภพ ทิพย์ปาละ 2555)

2. องค์ประกอบ

การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคเป็นการคนคว้า หรือวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อและการบริโภค มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาสินค้าและบริการทั้งที่เป็นบุคคลกลุ่มบุคคล หรือองค์กร เพื่อให้ทราบถึงลักษณะความต้องการและพฤติกรรมการซื้อการบริโภค การเลือกบริการแนวคิด หรือประสบการณ์ที่จะทำให้ผู้บริโภคพึงพอใจ หรือ (ปณิศาลัญ  ชานนท์, 2548) หรือเป็นการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค ด้วยการศึกษาค้นคว้าถึงพฤติกรรมการเลือกซื้อ การตัดสินใจซื้อ และการใช้สินค้าและการบริการของผู้บริโภค เพื่อที่จะให้นักการตลาดทราบถึงความพึงพอใจ และความต้องการของผู้บริโภค (กมลรัตน์ สัตยาพิมล, 2552 ; นฤมล อดิเรกโชติกุล, 2548) โดยสามารถช์ 7 คําถาม (6Ws 1H) ที่จะช่วยในการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อค้นหา 7 คําตอบ (7Os) (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554)           1.ใครอยู่ในตลาดเป้าหมาย (Who is in the target market?) เป็นคำถามที่ต้องการทราบตลาดเป้าหมาย (target market) หรือลักษณะกลุ่มเป้าหมาย (occupants) โดยมีกลุ่มเป้าหมายทางด้าน (1) ประชากรศาสตร์(2) ภูมิศาสตร์(3) จิตวิทยาหรือจิตวิเคราะห์(4) พฤติกรรมศาสตร์กลยุทธ์การตลาด (4Ps) ประกอบด้วยกลยุทธ์ด้าน ผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย และ การส่งเสริมการตลาด ที่เหมาะสมและการตอบสนองความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554)           2.ผู้บริโภคซื้ออะไร (What does the consumer buy?) เป็นคำถามที่ต้องการทราบสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ (objects) โดยสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการคือ คุณสมบัติหรือองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ (product component) และความแตกต่างที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน (competitive Differentiation) โดยมีกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product strategy) ทางด้าน (1) ผลิตภัณฑ์หลัก  (2) รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ (3) ผลิตภัณฑ์ควบ   (4) ผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง (5) ศักยภาพผลิตภัณฑ์ และ(6) ความแตกต่างทางการแข่งขัน (Competitive differentiation) (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554)(ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)           3.ทำไมผู้บริโภคจึงซื้อ (Why does the consumer buy?) เป็นคำถามที่ต้องการทราบวัตถุประสงค์ในการซื้อ (objectives) โดยต้องทำการศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อคือ (1) ปัจจัยทางจิตวิทยา (2) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจน (3) ปัจจัยเฉพาะบุคคล (ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552) เพราะผู้บริโภคซื้อสินค้าเพื่อสนองความต้องการด้านร่างกาย และจิตวิทยา ซึ่งต้องศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554)           4.ใครมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ (Who participates in the buying?) เป็นคำถามที่ต้องการทราบบทบาทของกลุ่มต่างๆ (organizations) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริหารโดยมีองค์ประกอบในการตัดสินใจซื้อคือ (1) ผู้ริเริ่ม (2) ผู้มีอิทธิผล (3) ผู้ตัดสินใจซื้อและ (4) ผู้ใช้ (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554)(ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)           5.ผู้บริโภคซื้อเมื่อใด (When does the consumer buy?) เป็นคำถามที่ต้องการทราบโอกาสในการซื้อ (occasions) ของผู้บริโภค เช่น ช่วงฤดูกาลใด ช่วงเดือนใด ตลอดจนเทศกาลหรือ โอกาสพิเศษหรือเทศกาลวันสำคัญต่างๆ เป็นต้น(ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)           6.ผู้บริโภคซื้อที่ไหน (Where does the consumer buy?) เป็นคำถามที่ต้องการทราบช่องทางหรือแหล่ง (outlets) ที่ผู้บริโภคไปทำการซื้อ เช่น ห้างสรรพสินค้า ซูปเปอร์มาร์เก็ตตลอดจนรานขายของชำ เป็นต้น (ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)           7.ผู้บริโภคซื้ออย่างไร (How does the consumer buy?) เป็นคำถามที่ต้องการทราบขั้นตอนหรือกระบวนการในการตัดสินใจเลือกซื้อ (operation)โดยมีองค์ประกอบการซื้อโดย (1) การรับรู้ปัญหา  (2) การค้นหาข้อมูล  (3) การประเมินผลทางเลือก (4) การตัดสินใจซื้อ (5) ความรู้สึกภายหลังการซื้อ(ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)   แนวคิดส่วนประสมการตลาด             แนวคิดทฤษฎีส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix หรือ 4P’s) หมายถึง ตัวแปรทางการตลาดที่ควบคุมได้ซึ่งบริษัทใช้ร่วมกัน เพื่อสนองความพึงพอใจแก่กลุ่มเป้าหมาย โดยนำเครื่องมือด้านการตลาดมาเป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค 4 ด้านดังนี้คือ (ศิริวรรณเสรีรัตน์และคณะ, 2546)           1.ผลิตภัณฑ์ (Product) หมายถึง สิ่งที่เสนอขายโดยธุรกิจเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าให้พึงพอใจผลิตภัณฑ์ อาจจะมีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้ผลิตภัณฑ์เป็นส่วนสำคัญที่สุดของส่วนประสมทางการตลาด ประกอบด้วย สินค้า บริการ สถานที่องค์การหรือบุคคล ผลิตภัณฑ์ต้องมีอรรถประโยชน(Utility) มีมูลค่า (Values) ในสายตาของลูกค้า จึงจะมีผลทำให้ผลิตภัณฑ์ขายหรือได้การกำหนดกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ต้องคำนึงถึงปัจจัย 2 อย่างคือความแตกต่างของผลิตภัณฑ์(Product Differentiation) และองค์ประกอบ ของผลิตภัณฑ์(Product Component)(กมลภพ ทิพย์ปาละ 2555)หรือแม้ผลิตภัณฑ์จะเป็นองประกอบตัวเดียวในส่วนประสมของการตลาดก็ตาม แต่เป็นตัวสำคัญที่มีรายละเอียดที่จะต้องพิจารณาอีกมากมาย ดังนี้ เช่นความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ (Produce Variety) ชื่อตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ (Brand Name) คุณภาพ ของผลิตภัณฑ์ (Quality) การรับระกันผลิตภัณฑ์ (Warranties) และการรับคืนผลิตภัณฑ์ (Returns) (ชีวรรณ เจริญสุข 2547)           2.ราคา (Price) หมายถึง คุณค่าผลิตภัณฑ์ในรูปของตัวเงิน ราคาเป็นต้นทุนของผู้บริโภค ผู้บริโภคจะเปรียบเทียบระหว่างคุณค่า (Value) ผลิตภัณฑ์ถ้ามูลค่าสูงกว่าราคาเขาก็จะตัดสินใจซื้อ ดังนั้นผู้กำหนดกลยุทธ์ด้านราคา ต้องคำนึงถึงการยอมรับของลูกค้าในมูลค่าของผลิตภัณฑ์ว่าสูงกว่าราคาของผลิตภัณฑ์ ต้นทุนและคาใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องของผลิตภัณฑ์ตลอดจนภาวะแข่งขัน(กมลภพ ทิพย์ปาละ 2555)หรือมูลค่าของสินค้าและบริการที่วัดออกมาเป็นตัวเงิน การกำหนดรามีความสำคัญต่อกิจการมาก กิจการไม่สามารถกำหนดราคาสินค้าเองได้ตามใจชอบ การพิจารณาราคาจะต้องกำหนดต้นทุนการผลิต สภาพการแข่งขัน กำไรที่คาดหมาย ราคาของคู่แข่งขัน ดังนั้นกิจการจะต้องเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการกำกำหนดราคาสินค้าและบริการ  ประเด็นสำคัญจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาได้แก่ ราคาสินค้าที่ระบุในรายการหรือราคาที่ระบุ (List Price) ราคาที่ให้ส่วนลด (Discounts) ราคาที่มีส่วนยอมให้ (Allowances) ราคาที่มีช่วงระยะเวลาที่การชำระเงิน (Payment Period) และราคาเงื่อนไขให้สินเชื่อ (Credit Terms) (ชีวรรณ เจริญสุข 2547)           3.การจัดจำหน่าย (Place หรือ Distribution) หมายถึง โครงสร้างของช่องทางซึ่งประกอบด้วยสถาบัน และกิจกรรม ใช้เพื่อเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ และบริการองค์การไปยังตลาดสถาบันที่นำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดเป้าหมายคือ สถาบันตลาด ส่วนกิจกรรมเป็นกิจกรรมที่ช่วยในการกระจายสินค้า ประกอบด้วย การขนส่ง การคลังสินค้า และการเก็บรักษาสินค้าคงคลังและการจัดจำหน่าย (กมลภพ ทิพย์ปาละ 2555)หรือ หรือ การกระจายสินค้า หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายตัวสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค หรือผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม หรืออาจหมายถึง การขนส่งและการเก็บรักษาตัวสินค้าภายในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งและระบบช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจนั้น จากความหมายนี้จะเห็นว่างานที่เกี่ยวข้องกับการกระจายสินค้ากลายเป็นการพัฒนา และดำเนินการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ (ชานนท์ รุ่งเรือง 2555)หรือเป็นกลยุทธ์การจัดช่องทางการาจัดจำหน่าย การกระจายสินค้าในการจัดช่องทางและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้า หรือบริการให้ดีเพียงใดก็ตาม หากไม่สนองตอบความต้องการของผู้บริโภคหรือลูกค้าได้ทันเวลาที่ต้องการ และสถานที่ ลูกค้าต้องการแล้ว ก็จะด้วยความหมายลงไป (เชาว์ โรจนแสง 2545)หรือ เป็นกลยุทธ์ด้านกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการจากแหล่งผลิตไปยังแหล่งผู้บริโภคคนสุดท้ายรวมทั้งการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบจากแหล่งวัตถุดิบไปยังผู้ใช้เพื่อการอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอรรถประโยชน์ทางด้านเวลา สถานที่ ความเป็นเจ้าของและรูปร่าง(ชีวรรณ เจริญสุข 2547) ประกอบด้วย 2 ส่วนดังนี้             3.1 ช่องทางการจัดจำหน่าย (Channel of Distribution) หมายถึงเส้นทางที่ผลิตภัณฑ์และกรรมสิทธิ์ของผลิตภัณฑ์ถูกเปลี่ยนมือไปยังตลาด ในระบบช่องทางการจัดจำหน่ายจึงประกอบด้วยผู้ผลิตคนกลางผู้บริโภค หรือผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม(กมลภพ ทิพย์ปาละ 2555)             3.2 การกระจายตัวสินค้า (Physical Distribution) หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายตัวผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค หรือผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม การกระจายตัวสินค้า จึงประกอบด้วยงานที่สำคัญคือการขนส่ง (Transportation) การเก็บรักษา (Storage) การคลังสินค้า (Warehousing)และการบริหารสินค้าคงเหลือ(Inventory Management) (กมลภพ ทิพย์ปาละ 2555)           4.การส่งเสริมการตลาด (Promotion) เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อสร้างทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อ การติดต่อสื่อสารอาจใช้พนักงานขายใช้สื่อ เครื่องมือในการติดต่อสื่อสารมีหลายประเภท(กมลภพ ทิพย์ปาละ 2555)หรือกลยุทธ์การสื่อสารความหมายภายใต้ตลาดเป้าหมายได้ทราบถึงผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการที่จ้องการจะจำหน่าย ณ สถานที่ใดระดับใด การส่งเสริมการตลาดเป็นตัวแปรตัวหนึ่งของส่วนประสมการตลาดโดยทำหน้าที่ชี้ชนให้ลูกค้าหรือผู้บริโภคเป้าหมายเกิดความสนใจและซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการนั้น (เชาว์ โรจนแสง 2545) หรือเป็นเครื่องมือการสื่อสารเพื่อสร้างความพึงพอใจต่อตราสินค้าหรือบริการหรือความคิด หรือต่อบุคคล (Semenik 2002) โดยเพื่อจูงใจ(Persuade)ให้เกิดความต้องการเพื่อเตือนความทรงจำ (Renind) นในผลิตภัณฑ์โดยคาดว่าจะมีอิทธิพลต่อความรู้สึก ความเชื่อ และพฤกรรมการซื้อ(ชีวรรณ เจริญสุข 2547) ซึ่งอาจเลือกได้ดังนี้             4.1 การโฆษณา (Advertising) เป็นกิจกรรมในการเสนอข่าวสารเกี่ยวกับองค์การผลิตภัณฑ์ บริการ หรือความคิดที่ต้องการและจ่ายเงินโดยเป็นผู้อุปถัมภ์รายการ กลยุทธ์ในการโฆษณาจะเกี่ยวข้องกับ กลยุทธ์การสร้างสรรค์งานโฆษณาและกลยุทธ์สื่อ(กมลภพ ทิพย์ปาละ 2555)             4.2 การขายโดยใช้พนักงานขาย (Personal Selling) เป็นกิจกรรมการแจ้งข่าวสารและจูงใจตลาดโดยใช้บุคคล งานในข้อนี้จะเกี่ยวข้องกับ กลยุทธ์การขายโดยใช้พนักงานขายและการจัดการหน่วยงานขายโดยพนักงานขาย(กมลภพ ทิพย์ปาละ 2555)             4.3 การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) หมายถึง กิจกรรมการส่งเสริมการตลาดที่นอกเหนือจากการโฆษณา การขายโดยใช้พนักงานขาย และการให้ข่าวและการ             4.4 การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ (Publicity and Public Relation) การให้ข่าวเป็นการเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ไม่ต้องมีการจ่ายเงิน ส่วนการประชาสัมพันธ์หมายถึง ความพยายามที่มีการวางแผนโดยองค์การหนึ่ง เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์การให้เกิดกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การให้ข่าวกิจกรรมหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ในส่วนประสมการตลาดทั้ง 4ประการ นั่นคือ นำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม (Right Product)ออกจำหน่ายในช่องทางที่เหมาะสม (Right Place)โดยวิธีการส่งเสริมการตลาดที่ดี(Right Promotion)และจำหน่ายในราคาที่เหมาะสมและยุติธรรม (Right price)(กมลภพ ทิพย์ปาละ 2555) สิ่งกระตุ้นทางการตลาด เป็นกลุ่มเครื่องมือการตลาด ซึ่งธุรกิจใช้ร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาด หรือที่เรียกว่า ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix หรือ 4P’s (Pour et al., 2012) โดยนำองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านสินค้าและบริการ (Product) ด้านราคา (Price) ด้านการจัดจำหน่าย (Place) และด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เราเลือกไว้ให้มากที่สุด และถูกนำไปขยายจนกลายเป็นกลยุทธ์ที่สร้างขึ้นเพื่อทำให้ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายอยู่รอดเป็นหลัก และมีเร้าหรือสิ่งกระตุ้นด้านอื่น1. เศรษฐกิจ2. เทคโนโลยี3. การเมือง4. สังคมและวัฒนธรรม(ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552) บุคลิกลักษณะของผู้ซื้อ หน้าที่หลักของนักการตลาดคือพยายามศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งเร้าภายนอก ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในท้ายที่สุด ซึ่งประกอบไปด้วย           1.ปัจจัยด้านวัฒนธรรม เป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่สุดในการกำหนดความต้องการและพฤติกรรมของ มนุษย์ เช่น การศึกษา ความเชื่อ ยังรวมถึงพฤติกรรมส่วนใหญ่ที่ได้รับการยอมรับภายในสังคมใดสังคมหนึ่งโดยเฉพาะ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมประกอบไปด้วย วัฒนธรรม วัฒนธรรมย่อย และระดับชั้นในสังคม           2.ปัจจัยทางสังคม เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน     และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ ซึ่ง ประกอบด้วยกลุ่มอ้างอิง ครอบครัว บทบาท และสถานะของผู้ซื้อ            3.ปัจจัยส่วนบุคคล การตัดสินใจของผู้ซื้อมักได้รับอิทธิพล      จากคุณสมบัติส่วนบุคคลต่าง ๆ เช่น อายุ อาชีพ สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ การศึกษา รูปแบบการดำเนินชีวิต วัฏจักรชีวิตครอบครัว 4.ปัจจัยทางจิตวิทยา การเลือกซื้อของบุคคลได้รับอิทธิพล  จากปัจจัยทางจิตวิทยา ซึ่งจัดปัจจัยในตัว ผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อและใช้สินค้า ปัจจัยทางจิตวิทยาประกอบด้วยการจูงใจ การรับรู้ ความเชื่อและเจตคติ บุคลิกภาพและแนวความคิดของตนเองนักจิตวิทยามาสโลว์  (Abraham Maslow) ได้กำหนดทฤษฏีลำดับขั้นตอนของความต้องการซึ่งกำหนดความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ไว้ 5 ระดับ ซึ่งจัดลำดับจากความต้องการระดับต่ำไปยังระดับสูงคือ1. ความสำเร็จส่วนตัว2. ความต้องการด้านอีโก้ (ความภาคภูมิใจ สถานะ ความเคารพ) 3. ความต้องการด้านสังคม4. ความปลอดภัยและมั่นคง 5. ความต้องการของร่ายกาย กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค (Decision Process) ในกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค (Five-Stage Model of The Customer Buying Process) (Orji and Goodhope, 2013) เพื่อทราบถึงพฤติกรรมในการซื้อของผู้บริโภคและปัจจัยที่มีผลต่อพฤตกรรมการซื้อแล้วการตระหนักถึงปัญหา การแสวงหาข้อมูล การประเมินทางเลือก การซื้อ และการประเมินหลังการซื้อ (กมลภพ ทิพย์ปาละ 2555)ซึ่งการศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคโดยทั่วไปจะผ่านกระบวนการ 5 ขั้นตอน ดังนี้คือ           1.การรับรู้ถึงความต้องการ (Need Recognition) หรือการรับรู้ปัญหา (Problem Recognition) การที่บุคคลใดรับรู้ถึงความต้องการของตนที่อาจเกิดจากสิ่งเร้าภายในตัวบุคคล เช่น ความหิวกระหาย บุคคลจะเรียนรู้ถึงวิธีการที่จะจัดการเพื่อสนองตอบกับสิ่งเร้านั้นๆหรือเป็นการรับรู้ปัญหา (Problem Recognition) การรับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อผู้ซื้อรับรู้ถึงความแตกต่างระหว่างสถานะที่ปรารถนา และสถานะที่เป็นจริง ทำให้เกิดความต้องการในสินค้าและในบางครั้งบุคคลมีปัญหาหรือความต้องการแต่ยังไม่ได้รับรู้ถึง ดังนั้นนักการตลาดอาจจะใช้พนักงานขายการโฆษณาและบรรจุภัณฑ์เพื่อช่วยกระตุ้นการรับรู้ถึงความต้องการหรือปัญหา(กมลภพ ทิพย์ปาละ 2555)           2.การค้นหาข้อมูล (Information Search) ถ้าความต้องการถูกกระตุ้นมากพอ ผู้บริโภคจะดำเนินการกับสิ่งที่อยู่ใกล้ที่สุดเพื่อให้เกิดความพอใจทันที เมื่อผู้บริโภครับรู้ปัญหา คือ เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์ในขั้นที่หนึ่งแล้วในขั้นตอนนี้จะเป็นการค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ดังต่อไปนี้2.1 แหล่งบุคคล ได้แก่ ครอบครัว เพื่อน เพื่อนบ้าน คนรู้จัก เป็นต้น2.2 แหล่งการค้า ได้แก่ สื่อโฆษณา พนักงานขาย ตัวแทนการค้า ฯลฯ2.3 แหล่งชุมชน ได้แก่ สื่อมวลชน หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค 2.4 แหล่งทดลอง ได้แก่ หน่วยงานที่สำรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์ หรือ งานวิจัยต่างๆ(ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)หรือ การแสวงหาข้อมูล (Information Search) การแสวงหาข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งการค้นหานี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2แบบ คือ 1) การแสวงหาข้อมูลภายใน (Internal Search)การแสวงหาข้อมูลภายนอก (External Search) เป็นการเก็บข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม(กมลภพ ทิพย์ปาละ 2555)           3.การประเมินผลทางเลือก (Evaluation of alternative) เมื่อได้ข้อมูลแล้ว ผู้บริโภคจะเกิดความเข้าใจและประเมินผลทางเลือกต่างๆ (ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552) หรือการประเมินทางเลือก  (Evaluation of Alternatives) ในการประเมินผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในกลุ่มทางเลือกพิจารณาผู้บริโภคจะตั้งเกณฑ์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบ ผลิตภัณฑ์โดยเกณฑ์เหล่านี้จะประกอบด้วยลักษณะที่ผู้บริโภคต้องการ (หรือไม่ต้องการ) ผู้บริโภคจะทำการให้ระดับความสำคัญต่อเกณฑ์แต่ละข้อ โดยที่ลักษณะบางอย่างอาจมีความสำคัญมากกว่าลักษณะอื่นๆ ซึ่งผู้บริโภคอาจใช้เกณฑ์ดังกล่าวในการจัดลำดับ ตรายี่ห้อต่างในกลุ่มทางเลือกที่พิจารณา อย่างไรก็ตามในบางครั้งการใช้เกณฑ์ดังกล่าว ก็อาจทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถตัดสินใจเลือกตรายี่ห้อที่จะซื้อได้ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ผู้บริโภคก็ต้องแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม ถ้าการประเมินทางเลือกนำไปสู่การ(กมลภพ ทิพย์ปาละ 2555)           4.การตัดสินใจซื้อ (Purchase Decision) จากการประเมินผลทางเลือก จะช่วยให้ผู้บริโภคกำหนดความพอใจระหว่างผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เป็นทางเลือก โดยจะเลือกสิ่งที่ชอบมากที่สุด และปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการประเมินผลพฤติกรรมและการตัดสินใจซื้อ 3 ประการ คือ4.1 ทัศนคติของบุคคลอื่น ทัศนคติของบุคคลที่เกี่ยวข้องจะมีผลทั้งทางด้านบวกและลบต่อการตัดสินใจซื้อ 4.2 ปัจจัยสถานการณ์ที่คาดคะเนไว้ก่อนการตัดสินใจซื้อ เช่น คาดคะเนถึงคุณภาพและประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ 4.3 ปัจจัยสถานการณ์ที่ไม่ได้คาดคะเนไว้ ขณะที่ผู้บริโภคกำลังจะตัดสินใจ อาจมีสถานการณ์ที่ไม่ได้ คาดคะเนเกิดขึ้นซึ่งกระทบต่อผลการตัดสินใจ(ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552) หรือการซื้อ (Purchase) ในขั้นตอนผู้บริโภคจะเลือกผลิตภัณฑ์หรือตรายี่ห้อที่จะซื้อการเลือกจะขึ้นอยู่กับผลการพิจารณาที่ได้ในขั้นตอนการประเมินและปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วยการที่ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายอาจมีอิทธิพลต่อตรายี่ห้อที่ซื้อ เช่น ยี่ห้อที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุดในขั้นการประเมินไม่มีจำหน่ายผู้บริโภคก็อาจเลือกตรายี่ห้อที่อยู่ในอันดับถัดมา(กมลภพ ทิพย์ปาละ 2555)           5.พฤติกรรมภายหลังการซื้อ (Post Purchase Behavior) เป็นกระบวนการหลังการซื้อ และทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคจะตระหนักได้ถึงความพอใจหรือไม่พอใจในตัว ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ภายหลังมีการซื้อผลิตภัณฑ์ไปใช้ แล้วความรู้สึกนี้เกิดขึ้นกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์และความคาดหวังของผู้บริโภค ถ้าพอใจก็จะซื้อซ้ำ แต่ถ้าไม่พอใจก็จะไม่ซื้ออีก นักการตลาดจะต้องพยายามทราบถึงระดับความพอใจของผู้บริโภคภายหลังการซื้อ (ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)หรือเป็นการประเมินหลังการซื้อ (Post-Purchase Evaluation) หลังการซื้อผู้บริโภคจะเริ่มทำการประเมินผลิตภัณฑ์ว่า ผลิตภัณฑ์สามารถทำหน้าที่ได้ตามระดับที่คาดหวังหรือไม่ เกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในขั้นประเมิน ทางเลือกถูกนำมาใช้อีกครั้งในขั้นนี้ผลที่ได้ในขั้นนี้อาจเป็นได้ทั้งความพอใจ (Satisfaction)และความไม่พอใจ (Dissatisfaction)(กมลภพ ทิพย์ปาละ 2555)

  1. การประยุกต์ใช้

จากกรณีศึกษาของการศึกษาวิจัยในเรื่อง “การเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้บริโภคในการบริโภคสุราโรงงานกับสุรากลั่นชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่” จากการศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจของผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ เป็นขั้นตอนของการตอบสนองจากสิ่งกระตุ้นทั้งภายในและภายนอก และผ่านกระบวนการการพิจารณาการซื้อ โดยผ่านขั้นตอนต่างๆ จากที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดสุดท้ายเป็นการเลือกสินค้า และผลิตภัณฑ์ตามจุดประสงค์ของผู้บริโภค โดยใช้เครื่องมือทางด้าน 1. การเลือกผลิตภัณฑ์ 2. การเลือกตราสินค้า  3. การเลือกผู้จัดจำหน่าย 4. เวลาที่ซื้อผู้ตอบแบบสอบถามด้านผลิตภัณฑ์กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ ชอบดื่มสุราโรงงาน ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับปานกลาง ด้านราคากลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ชอบดื่มสุราโรงงาน ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านราคาอยู่ในระดับปานกลางด้านการจัดจำหน่ายและสถานที่กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ชอบดื่มสุราโรงงานส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมาก ด้านการส่งเสริมการตลาดกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ชอบดื่มสุราโรงงานและกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชน ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับทุกปัจจัยย่อยด้านการส่งเสริมการตลาดอยู่ในระดับปานกลางเหมือนกันเมื่อนำคะแนนเฉลี่ยของระดับความสำคัญ ของแต่ละปัจจัยย่อยในแต่ละกลุ่มปัจจัยมาหาค่าเฉลี่ย พบว่ากลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุราโรงงานให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย เป็นอันดับแรกรองลงมา ได้แก่ด้านราคา ซึ่งแตกต่างกับ กลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชน ที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านราคา เป็นอันดับแรกรองลงมา ได้แก่ด้านการจัดจำหน่าย ส่วนปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และด้านการส่งเสริมการตลาด นั้น ทั้ง 2 กลุ่ม ให้ความสำคัญเป็นอันดับ 3 และ 4 ตามลำดับ             และจากทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค   โดยใช้ 7 คำถาม หรือ 6Ws 1H นำมาวิเคราะห์เพื่อค้นหาคำตอบเกี่ยวกับผู้บริโภคทางด้าน 1. ใครอยู่ในตลาดเป้าหมาย 2. ผู้บริโภคซื้ออะไร 3. ทำไมผู้บริโภคจึงซื้อ 4. ใครมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ 5. ผู้บริโภคซื้อเมื่อใด  6. ผู้บริโภคซื้อที่ไหน และ7. ผู้บริโภคซื้ออย่างไร พบว่า

  1. ใครอยู่ในตลาดเป้าหมาย  ข้อมูลมีลักษณะใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 41 – 50 ปีสมรสแล้ว มีสมาชิกในครอบครัว 3 – 4 คน จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือต่ำกว่า ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปหรือรับจางรายวัน และเกษตรกร มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท

ซึ่งสอดคล้องกับผู้บริโภคสุรากลั่นชุมชน ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ (สุริฉาย อังโขรัมย์, 2547) ผู้บริโภคสุราพื้นบ้านในจังหวัดลำปางและลำพูน (สุพัฒน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล และคณะ, 2550) และผู้บริโภคสุรากลั่นชุมชน ในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่  (สุธีวรรณ ณ เชียงใหม่, 2551) ที่ส่วนใหญ่เป็นเพศชายจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีอาชีพรับจ้างทั่วไป และลูกจ้างทั่วไป รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท

  1. ผู้บริโภคซื้ออะไรกลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุราโรงงาน ส่วนใหญ่ชอบดื่มสุราที่มีความแรงของแอลกอฮอล์ 35 ดีกรีส่วนกลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชน ส่วนใหญ่ชอบดื่มสุราที่มีความแรงของแอลกอฮอล์ 28 ดีกรี  ในขณะที่ผู้บริโภคสุรากลั่นชุมชน ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ (สุริฉาย อังโขรัมย์,2547) ชอบดื่มสุราที่มีความแรงของแอลกอฮอล์ 40 ดีกรีทั้งนี้อาจเนื่องมาจากความนิยมของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม หรือแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน
  2. ทำไมกลุ่มผู้บริโภคจึงซื้อ  กลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุราโรงงานและกลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชน ทั้ง 2 กลุ่ม ส่วนใหญ่มีเหตุผลในการดื่มสุราที่ใกล้เคียงกัน คือเพื่อผ่อนคลายหรือพักผ่อนหลังเลิกงาน เพื่อเข้าสังคม และเพื่อคลายความเครียด ซึ่งใกล้เคียงกับกลุ่มผู้บริโภคในเขตพื้นที่ภาคเหนือ (เทพินทร์ พัชรานุรักษฉ์, 2541)และผู้บริโภคสุรากลั่น ในเขตอำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์ (สุริฉายอังโขรัมย์, 2547) ตลอดจนพฤติกรรมการบริโภคสุราของคนไทย (อุษณีย์ พึ่งปาน, 2549) ที่ว่าการดื่มสุราสามารถช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อลดความเครียดและเพื่อเข้าสังคม
  3. ใครมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ  กลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุราโรงงานและกลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ตัดสินใจซื้อสุราด้วยตนเอง เหมือนกัน ซึ่งสอดคล้องกับ ผู้บริโภคสุราพื้นบ้านในจังหวัดลำปางและลำพูน (สุพัฒน์  โตวิจักษณ์ชัยกุล และคณะ, 2550) ที่พบว่าการตัดสินใจซื้อสุราส่วนใหญ่ เป็นการตัดสินใจด้วยตนเองแต่ไม่สอดคล้องกับผู้บริโภค สุรากลั่นชุมชนในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ (สุธีวรรณ ณ เชียงใหม่, 2551) ที่เพื่อนเป็นผู้มีส่วนในการตัดสินใจซื้อหรือ แนะนำทั้งนี้เหตุผลที่ไม่สอดคล้องอาจเนื่องมา จากการศึกษาของ สุธีวรรณ ณ เชียงใหม่ (2551) เป็นการศึกษากลุ่มผู้บริโภคในระดับอำเภอ ซึ่งแตกต่างจากการศึกษานี้ที่เป็นการศึกษาในระดับจังหวัด
  4. ผู้บริโภคซื้อเมื่อใด  กลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุราโรงงานและกลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชน ส่วนใหญ่นิยมดื่มสุราในช่วงเวลาที่เหมือนกัน คือ ช่วงเวลาเย็น และกลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชน ส่วนใหญ่ดื่มสุราเป็นประจำทุกวัน ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคผู้บริโภคสุรากลั่นชุมชน ในอำเภอสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่ (สุธีวรรณ ณ เชียงใหม่, 2551) ที่พบว่าช่วงเวลาเย็นเป็นช่วงเวลาที่ผู้บริโภคซื้อสุรากลั่นชุมชนบ่อยที่สุด และส่วนใหญ่จะซื้อเป็นประจำวันละหนึ่งครั้ง ในขณะที่กลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุราโรงงานนั้น ส่วนใหญ่ดื่มสุรา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ด้านการใช้เวลาในการดื่มสุรากลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุราโรงงานและกลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชน ส่วนใหญ่ใช้เวลาในการดื่มสุราแต่ละครั้งครึ่งชั่วโมงถึง1 ชั่วโมงครึ่ง เท่ากัน
  5. ผู้บริโภคซื้อที่ไหน  กลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุราโรงงานและกลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชน ส่วนใหญ่ซื้อสุราตามสถานที่ที่ใกล้เคียงกัน คือ ชอบดื่มสุราที่ร้านขายสุราแบ่งขาย หรือร้านเหล้าตองและที่บ้าน หรือที่พักอาศัย (ของตนเองหรือของคนอื่น) ตลอดจนนิยมซื้อสุราจากร้านขายสุราแบ่งขาย หรือร้านเหล้าตองและร้านค้าชุมชน หรือร้านขายของชำ ในกรณีที่ต้องซื้อสุราไปดื่มนอกสถานที่ที่ซื้อ ซึ่งสอดคล้องกับผู้บริโภคสุรากลั่น ในเขตอำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์ (สุริฉาย อังโขรัมย์, 2547) ที่ผู้บริโภคสุรากลั่นชุมชนส่วนใหญ่จะเลือกซื้อสุราจากร้านค้าปลีกทั่วไปใกล้บ้าน และผู้บริโภคสุรากลั่นชุมชน ในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ (สุธีวรรณ ณ เชียงใหม่, 2551) ที่พบว่า ร้านขายสุราเป็นสถานที่ที่ผู้บริโภคซื้อสุรากลั่นชุมชนบ่อยที่สุด
  6. ผู้บริโภคซื้ออย่างไร กลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุราโรงงานและกลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชน ส่วนใหญ่นิยมซื้อและดื่มสุราในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน คือ นิยมซื้อสุราขวดใหญ่ (625 มิลลิลิตร) ในกรณีที่ซื้อเป็นขวดและในการดื่มสุราแต่ละครั้ง จะดื่มครั้งละ 1 ขวดเล็ก หรือ ครึ่งขวดใหญ่ ซึ่งสอดคล้องกับ ผู้บริโภคสุราพื้นบ้านในจังหวัดลำปาง และลำพูน (สุพัฒน์ โตวิจักษณ์ชัยกุลและคณะ, 2550) ที่ในการซื้อสุราแต่ละครั้งจะซื้อไม่เกินครั้งละ 1 ขวดและจากการศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อสุราโรงงาน หรือสุรากลั่นชุมชนของผู้บริโภคโดยใช้ทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด พบว่า
  7. ผลิตภัณฑ์ (Product) กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ชอบดื่มสุราโรงงาน ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งใกล้เคียงกับกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชนที่ส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน โดยมีปัจจัยอยู่ที่กลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุราโรงงานและกลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในระดับมากเหมือนกัน คือผู้ผลิตหรือยี่ห้อเป็นที่รู้จักและคุ้นเคย และความแรงของดีกรีแอลกอฮอล์ซึ่งสอดคล้องกับ ผู้บริโภคสุรากลั่นชุมชน ในเขตอำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์ (สุริฉายอังโขรัมย์, 2547) ที่ไหนความสำคัญต่อปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและให้ความสำคัญกับปัจจัยย่อยเกี่ยวกับตรายี่ห้อสินค้ารสชาติดีขมกลมกล่อม ดื่มแล้วไม่มีอาการแฮ้ง หรือไม่เมาค้างอยู่ในระดับมากแต่ไม่สอดคล้องกับผู้บริโภคสุรากลั่นชุมชน ในอำเภอสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่ (สุธีวรรณ ณ เชียงใหม่, 2551) ที่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์โดยรวมอยู่ในระดับมากและให้ความสำคัญกับปัจจัยย่อย เช่นผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐานไม่มีสารเจือปน บรรจุภัณฑ์สวย และชื่อเสียงความน่าเชื่อถือของผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย
  8. ราคา (Price) กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ชอบดื่มสุราโรงงาน ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านราคาอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งแตกต่างกับกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชน ที่ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญอยู่ในระดับมากโดยปัจจัยย่อยที่กลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุราโรงงาน และกลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในระดับมากเหมือนกันคือราคาเหมาะสมกับรายได้ของผู้ดื่มซึ่งสอดคล้องกับ ผู้บริโภคสุรากลั่นชุมชน ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ (สุริฉาย อังโขรัมย์, 2547) ที่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านราคาโดยรวม  อยู่ในระดับมากและให้ความสำคัญกับในระดับมากปัจจัยย่อยเกี่ยวกับ ราคายุติธรรม ราคาเหมาะสมกับปริมาณ และราคาถูกและสอดคล้องกับผู้บริโภคสุรากลั่นชุมชน ในอำเภอสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่ (สุธีวรรณ ณ เชียงใหม่,2551) ที่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านราคาโดยรวมอยู่ในระดับมาก และให้ความสำคัญ กับปัจจัยย่อย เกี่ยวกับ มีราคาเหมาะสม
  9. การจัดจำหน่ายและสถานที่ (Place) กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ชอบดื่มสุราโรงงาน ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ในระดับมาก ซึ่งใกล้เคียงกับกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชนที่ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยมีปัจจัยย่อยที่กลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุราโรงงาน และกลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในระดับมากเหมือนกัน คือ มีจำหน่ายอยู่ทั่วไป หาซื้อได้ง่าย สามารถดื่มที่ร้านขายได้ มีอาหารหรือกับแกล้มจำหน่ายที่เดียวกันกับสุราและสถานที่จำหน่ายอยู่ใกล้ที่พักอาศัย ซึ่งสอดคล้องกับ ผู้บริโภคสุรากลั่นชุมชน ในอำเภอสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่ (สุธีวรรณ ณ เชียงใหม่, 2551) ที่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านการจัดจำหน่ายโดยรวมอยู่ในระดับมาก และให้ความสำคัญกับปัจจัยย่อยเช่น ใกล้ที่พัก/ที่ทำงานหาซื้อสะดวกและที่จอดรถสะดวก แต่ไม่สอดคล้องกับ ผู้บริโภคสุรากลั่นชุมชน ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ (สุริฉาย อังโขรัมย์, 2547) ที่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านการจัดจำหน่ายโดยรวม อยู่ในระดับปานกลางและให้ความสำคัญกับปัจจัยย่อยเกี่ยวกับ ร้านสะดวกซื้อและร้านค้าชุมชน
  10. การส่งเสริมการตลาด (Promotion) กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ชอบดื่มสุราโรงงาน และกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชน ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับทุกปัจจัยย่อย ด้านการส่งเสริมการตลาดอยู่ในระดับปานกลาง35เหมือนกัน ซึ่งสอดคล้องกับ ผู้บริโภคสุรากลั่นชุมชน ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ (สุริฉาย อังโขรัมย์ , 2547) ที่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และให้ความสำคัญกับปัจจัยย่อย เกี่ยวกับ การเปิดให้มีการจำหน่ายอย่างเสรีแต่ไม่สอดคล้องกับ ผู้บริโภคสุรากลั่นชุมชนในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ (สุธีวรรณ ณ เชียงใหม่,2551) ที่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านการจัดจำหน่ายโดยรวมอยู่ในระดับมากและให้ความสำคัญกับปัจจัยย่อย เช่น การแต่งกายของพนักงานขาย อัธยาศัยของพนักงานขาย และการลดราคาเมื่อซื้อปริมาณมากเมื่อนำคะแนนเฉลี่ยของระดับความสำคัญ ของแต่ละปัจจัยย่อยในแต่ละกลุ่มปัจจัยมาหาค่าเฉลี่ย พบว่ากลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุราโรงงานให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย เป็นอันดับแรกรองลงมา ได้แก่ด้านราคา ซึ่งแตกต่างกับ กลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชน ที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านราคา เป็นอันดับแรกรองลงมา ได้แก่ด้านการจัดจำหน่าย ซึ่งไม่สอดคล้องกับ ผู้บริโภคสุราพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน (ชนิตา พันธุ์มณี, 2548) ที่ให้ความสำคัญด้านผลิตภัณฑ์มาเป็นอันดับที่ 1

ข้อค้นพบ

  1. มีผู้ประกอบการ  ที่ยื่นขออนุญาตผลิตสุรากลั่นชุมชนในเกือบทุกอำเภอ ของจังหวัดเชียงใหม่แต่พบว่า มีสุรากลั่นชุมชนที่ผลิตนอกเขตจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้รับความนิยมในการดื่มของผู้บริโภค เช่น ยี่ห้อแม้ป่ง ซึ่งผลิตในจังหวัดลำพูน และยี่ห้อสักทองแพร่ ซึ่งผลิตในจังหวัดแพร่เป็นต้น
  2. พฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถาม  กลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุราโรงงาน และกลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชน ส่วนใหญ่มีลักษณะที่คล้าย หรือใกล้เคียงกัน แต่พบว่า มีบางประเด็นที่ต่างกัน คือกลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุราโรงงานส่วนใหญ่ มีเหตุผลที่เลือกดื่ม คือเชื่อมั่นในกรรมวิธีการผลิต ว่ามีความปลอดภัยในการบริโภคในขณะที่กลุ่มผู้ที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชนส่วนใหญ่ มีเหตุผลที่เลือกดื่ม คือ มีราคาถูกและอุดหนุนผลิตภัณฑ์ในชุมชน
  3. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด  ที่มีส่วนในการเลือกซื้อสุรา ของผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มที่ชอบดื่มสุราโรงงาน และกลุ่มที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชน ส่วนใหญ่มีลักษณะที่คล้าย หรือใกล้เคียงกัน แต่มีบางประเด็นที่ต่างกัน คือ กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ชอบดื่มสุรากลั่นชุมชนให้ความสำคัญ ต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านราคา มากกว่ากลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ชอบดื่มสุราโรงงาน โดยเฉพาะปัจจัยย่อยเรื่อง ราคาเหมาะสมกับปริมาณสินค้าและราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับยี่ห้ออื่นในปริมาณที่เท่ากัน

กระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ในการซื้อกล่องสะท้อนภาพเลนส์ฉเดี่ยวระบบดิจิทัล ประชากรที่ทำการศึกษาคือผู้ซื้อและผู้ใช้กล้องกลองสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวระบบดิจิทัล ในอำเภอเมือง เชียงใหม่ ที่เป็นเจ้าของ และซื้อกล่องกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวระบบดิจิทัลใช้มาแล้วไม่เกิน 2 ปี ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม และประมวลผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและการทดสอบค่าไคสแควร์ ผลการศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความต้องการซื้อกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวระบบดิจิทัลเพื่อใช้ถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก และมีความชอบส่วนตัว รู้จักกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวระบบดิจิทัลยี่ห้อ Canon ก่อนที่จะซื้อมากที่สุด โดยมีความรู้และข้อมูลก่อนที่จะซื้ออยู่ในระดับปานกลาง และค้นหาข้อมูลในด้านประสิทธิภาพการถ่ายภาพของกล้องเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ อีกทั้งยังมีแหล่งที่จะค้นหาข้อมูลของกล้องจากอินเตอร์เน็ตมากที่สุด และให้ระดับความสำคัญของแหล่งข้อมูลเพื่อการตัดสินใจซื้อกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวระบบดิจิทัลอยู่ในระดับมาก และมีปัจจัยย่อยที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญคือการทดลองใช้งานจริงจากกล้องที่ร้านค่าในด้านของปัจจัยส่วนประสมการตลาดนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ความสำคัญของปัจจัยโดยรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมากทุกปัจจัย โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยดังนี้ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ด้านผลิตภัณฑ์คือคุณภาพของภาพถ่ายที่ได้จากกล้องด้านราคา คือ มีราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย คือความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงของร้านคาและปัจจัยด้านการส่งเสริมการขายคือการลดราคาอีกทั้ง พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการตัดสินใจซื้อ และออกค่าใช้จ่ายในการซื้อกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวระบบดิจิทัลด้วยตัวเองมากที่สุดโดยมีแหล่งในการซื้อที่ห้างฯเช่น บิ๊กซี, โลตัส, แมคโคร, เซ็นทรัลกาดสวนแก้ว และแอร์พอร์ตพลาซ่า และชำระเงินในการซื้อเป็นเงินสดมากที่สุด ส่วนใหญ่มีความรู้สึกพึงพอใจในการใช้งานกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวระบบดิจิทัลที่ซื้อมา ในส่วนของการพฤติกรรมภายหลังการซื้อนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่แน่ใจว่าจะกลับมาซื้อกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวระบบดิจิทัลยี่ห้อเดิม และจากร้านเดิมอีกในอนาคตโดยอาจจะแนะนำผู้อื่นให้ซื้อกล้องยี่ห้อที่ใช้อยู่ และไม่แน่ใจว่าจะแนะนำผู้อื่นให้ซื้อกล้องจากร้านที่เคยซื้อ ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่พบปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการขายในการตัดสินใจซื้อกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวระบบดิจิทัล

บรรณานุกรม

กมลรัตน์ สัตยาพิมล. (2552). พฤติกรรมผู้บริโภคต่อการตัดสินใจเลือกใช้บัตรเครดิตแพลทินัมในห้างสรรพสินค้าในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร. นฤมล อดิเรกโชติกุล. (2548). พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อข้าวสารบรรจุถุงในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร. บุญเกื้อ ไชยสุริยา. (2542). พฤติกรรมผู้บริโภคต่อการใช้บริการร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมัน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. อภิญญา นาวายุทธ. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภคที่มาใช้บริการศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพเชียงใหม่. ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. กมลภพ ทิพย์ปาละ (2555). กระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ในการซื้อกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวระบบดิจิทัล. บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บริการธุรกิจการตลาด. ชีวรรณ เจริญสุข (2547). กลยุทธ์การปรับตัวทางการตลาดของร้านค้าปลีกไทยแบบดั้งเดิม (โชวห่วย). บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยศรีปทุม. บริหารธุรกิจ การตลาด. ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย (2552). การโฆษณาเครื่องดื่มชูกำลังและการบริโภคมายาคติของผู้ขับรถรับจ้างสี่ล้อในจังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ศิลปศาตร์มหาบัณฑิต การสื่อสารการศึกษา.

บทที่ 3 พฤติกรรมการจัดซื้อองค์กร (Organizational Buying Models ) โดย ชีวรรณ เจริญสุข , Cheewan Charoensook ,Students Doctor of Business Administration (DBA) ส่ง ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น

 

1.ประวัติและความหมายของพฤติกรรมการจัดซื้อองค์กร

ความสำคัญของของพฤติกรรมการจัดซื้อองค์กรธุรกิจ และพฤติกรรมการซื้อขององค์กรธุรกิจมีความสำคัญ ต่อองค์กรหรือบริษัทผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ เป็นอย่างมาก  การตลาดขององค์กรเป็นเครื่องมือทางการบริหาร และจัดการที่จะขาดเสียมิได้ สำหรับการดำเนินงานขององค์กรประเภทต่างๆทั้งในส่วนที่มีการนำการตลาดมาใช้ เพื่อการดำเนินงานขององค์กร อย่างเข้มข้นและการเลือกใช้เพียงบางส่วน เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินงานได้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด เช่น การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรสาธารณกุศลต่างๆ ถึงอย่างไร ถือได้ว่าการตลาดได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิธีคิดและการดำเนินงานขององค์กรทุกประเภทอย่างแยกขาดจากกันไม่ได้ โดยสามารถที่จะประมวลประเภทขององค์กร และความจำเป็นต่อการใช้การตลาดเป็นเครื่องมือ ในการบริหารองค์กรเหล่านั้น ดังนั้นการตลาดกับการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจโดยทั่วไปแล้วการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ ย่อมมีเป้าหมายสูงสุด คือ การสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการลงทุนของผู้ถือหุ้น ซึ่งนั่นย่อมหมายถึง การสร้างผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจขององค์กร เพื่อเป้าหมายดังกล่าว  หรือดำเนินงานตามแผนงานใดๆ ขององค์กรที่มีการจัดตั้งแล้ว ซึ่งในเบื้องต้นนี้ อาจจะเกิดจากความสามารถด้านการผลิตสินค้าหรือบริการเป็นหลัก (Product Concept) หรือเกิดขึ้นจากการเล็งเห็นถึงโอกาสหรือช่องว่างทางการตลาดที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา (Marketing Concept) ของผู้บริหารองค์กร  พฤติกรรมการซื้อขององค์กร ประกอบด้วย ปัจจัยภายนอกองค์การ เช่น กายภาพ เทคโนโลยีเศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย ปัจจัยและภายในองค์การ เช่น วัตถุประสงค์ นโยบาย ขั้นตอน โครงสร้างในองค์กรและระบบภายในองค์กร ซึ่งทุกองค์กรมีลักษณะที่แตกต่างกัน การค้าแบบนี้ทุกฝ่ายจะมีความคาดหวังสูงมาก เพราะฉะนั้นนักการตลาดควรหาวิธีที่ทำให้องค์กรตัดสินใจซื้อสินค้าของกิจการ โดยการศึกษาถึงความต้องการและรู้จักองค์กรให้มากขึ้น เพื่อสร้างผลกำไรให้แก่กิจการ และประสบความสำเร็จขั้นสุด

           

พฤติกรรมการซื้อขององค์กร หรือตลาดขององค์กร หมายถึง กลุ่มบุคคล หรือองค์กรที่ซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อการผลิต การอุตสาหกรรม การให้บริการ การดำเนินงานของกิจการ หรือเพื่อขยายต่อพฤติกรรมการซื้อของตลาดองค์การ 2 ตลาด คือ ตลาดอุตสาหกรรมหรือตลาดผูกผลิต และตลาดคนกลางหรือตลาดผู้ขายต่อ ข้อที่ควรพิจารณาในการขายสินค้าให้กับองค์การ (ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ 2533 : 84-85) อย่างเช่น (1)องค์การไม่ได้ซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภค หรืออรรถประโยชน์ส่วนบุคคล แต่ต้องการสินค้าและบริการเพื่อใช้ในการผลิต การขายต่อ หรือการให้บริการต่อไป (2) บุคคลหลายคนเกี่ยวข้องกับการซื้อในองค์การ โดยเฉพาะรายการสินค้าที่สำคัญๆ ผู้ตัดสินใจโดยทั่วไปมีความรับผิดชอบในองค์การ และทำการตัดสินใจต่างๆ เพื่อการตัดสินใจซื้อ (3) องค์การจะกำหนดนโยบาย เงื่อนไข และความต้องการเอาไว้ผู้ซื้อขององค์การจะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับสิ่งที่องค์กรกำหนดไว้  (4) เงื่อนไข ข้อเสนอ และสัญญาซื้อขายจะต้องมีขึ้นในตลาดองค์การ แต่ตลาดผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องมีในตลาดเหล่านี้ หรือตลาดองค์การ หมายถึง กลุ่มบุคคลหรือ องค์การ ผู้ซื้อที่เป็นกลุ่มต่าง ๆ คือเป็นทั้ง ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก รัฐบาล ที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อใช้ในการดำเนินงาน ผลิตต่อ ขายต่อ หรือให้บริการอย่างอื่น หรือ ความหมาย พฤติกรรมการซื้อขององค์กรเป็นกลุ่มบุคคลและ หรือ องค์การ ผู้ซื้อที่เป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก รัฐบาล ที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อใช้ในการดำเนินงาน ผลิตต่อ ขายต่อ หรือให้บริการอย่างอื่น (ธราธนพงศ์ 2553)    

2.องค์ประกอบ

            องค์ประกอบของพฤติกรรมการซื้อขององค์การ เป็นกลุ่มบุคคลและหรือ องค์การที่ซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อการผลิต การอุตสาหกรรม การให้บริการ การดำเนินงานของกิจการ หรือเพื่อการขายต่อ มีความแตกต่างกับพฤติกรรมของลูกค้าหรือผู้บริโภค เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคนั้น จะเป็นการตัดสินใจที่จะซื้อโดยพฤติกรรมส่วนบุคคล แต่ในด้านของพฤติกรรมการซื้อขององค์การนั้น มีหลายประเด็นที่เป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจซื้อ ซึ่งมุ่งเน้นหลายปัจจัยเพิ่มเติมนอกเหนือจากตัวผลิตภัณฑ์ ดังเช่น ข้อมูลทางเทคนิค การอบรม วิธีการใช้งาน รวมไปถึงเอกสารประกอบผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบของตลาดองค์กรจึงนำมือที่เกี่ยวข้องกับทางปัจจัยขององค์กร 4 ปัจจัยดังนี้คือ (พิศาล เกียรติโภคะ 2551)

            1.ปัจจัยสิ่งแวดล้อม (Environmental factor)  เป็นปัจจัยภายนอกองค์การ เช่น กายภาพ เทคโนโลยีเศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมเหล่านี้มีอิทธิพลต่อผู้ขายปัจจัยการผลิต คู่แข่งขัน ผู้บริโภค รัฐบาล สภาพแรงงาน สมาคมการค้า เป็นต้น

            2.ปัจจัยภายในองค์การ (Organizational factors) คือ ทุกองค์กรมีลักษณะที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นด้านวัตถุประสงค์ นโยบาย ขั้นตอนโครงสร้างในองค์กรและระบบภายในองค์กร

            3.ปัจจัยระหว่างบุคคล (Interpersonal factors) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลซึ่งอยู่ในกระบวนการซื้อได้แก่บทบาทของผู้ริเริ่มผู้ใช้ผู้ตัดสินใจผู้มีอิทธิพลผู้ซื้อและผู้ควบคุมรวมถึงทรัพยากรข้อมูลข่าวสารและความชำนาญ (วาสนา มณีวรรณ์  2552)

4.ปัจจัยเฉพาะบุคคล (Individual factors) โดยพิจารณาถึงอายุรายได้การศึกษาอาชีพบุคลิกลักษณะทัศนคติที่มีต่อความเสี่ยงและวัฒนธรรม(พิศาล เกียรติโภคะ 2551)

แนวคิดทฤษฎีและพฤติกรรมการซื้อของตลาดองค์กร

พฤติกรรมการซื้อของตลาดองค์กร ตลาดองค์กรหรือผู้ซื้อองค์กร คือผู้ที่ซื้อสินคาหรือบริการไปเพื่อใช้ในบริษัท หรือซื้อเพื่อใช้ในการผลิตหรือองค์กร การจัดจำหน่ายหรือขายต่อ (ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ 2546) โดยมีพฤติกรรมการจัดซื้อของตลาดองค์กรดังนั้นตลาดธุรกิจ (Business Market) ประกอบด้วย3องค์ประกอบดังนี้คือ ตลาดอุตสาหกรรม หรือตลาดผู้ผลิต (Industrial or Produce Market) และตลาดคนกลาง หรือตลาดผู้ขายต่อ (Reseller Market) (ปราการ เป็งแก้ว 2552)

            1.ตลาดอุตสาหกรรมหรือตลาดผู้ผลิต (Industrial  Market) เป็นตลาดของผู้ผลิตสินค้าหรือบริการ (Producer Market) หมายถึง บุคคลหรือองค์การที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อการผลิตสินค้า การบริการหรือการดำเนินงานของกิจการ ตลาดนี้ประกอบด้วย กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ผู้ขายบริการ(ปราการ เป็งแก้ว 2552)หรือ กลุ่มบุคคลและองค์กรซึ่งต้องการสินค้าและบริการเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการในการนำเสนอขายหรือเพื่อให้บริการต่อไป ในกรณีที่อุตสาหกรรมหรือผู้ผลิตประกอบธุรกิจ เรียกว่าอยู่ในตลาดธุรกิจ(Business Market)(วุฒิชัย ธรรมฐิติพงศ์ 2552) หรือตลาดผู้ผลิต หรือตลาดธุรกิจประกอบด้วยกลุ่มบุคคล และองค์การซึ่งต้องการสินค้าหรือบริการ เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการในการนำเสนอขาย หรือเพื่อให้บริการต่อไป ผู้ซื้อหรือผู้ใช้ในตลาดผู้ผลิตเรียกว่า ผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม (Industrial Users) เป็นองค้าการที่ซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อนำไปใช้ผลิตสินค้าหรือบริการ หรือใช้ในธุรกิจของตนเอง แบบของอุตสาหกรรมที่สำคัญๆที่อยู่ในตลาดผู้ผลิตได้แก่ การเกษตรการป้าไม้การประมง การเหมืองแร่การผลิตหรือการอุตสาหกรรม การก่อสร้างการขนส่งการติดต่อสื่อสารการธนาคารการเงิน และการประกันภัยการให้บริการและ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ  ตลาดอุตสาหกรรมหรือตลาดผู้ผลิต (Industrial  Market) ที่เกี่ยวข้องกับผู้ซื้อแบ่งออกได้ 3 องค์ประกอบที่น่าสนใจดังนี้ 1.การซื้อซ้ำแบบเดิม (Straight Rebuy) 2.การซื้อซ้ำแบบปรับปรุง (The Modified Rebuy) 3. งานใหม่(New Task)(ปราการ เป็งแก้ว 2552)

 

          2.ตลาดคนกลาง หรือตลาดผู้ขายต่อ (Middleman Market หรือ Reseller Market) หมายถึง บุคคลหรือองค์กรที่ซื้อสินค้าเพื่อการขายต่อ ผู้ขายต่อประกอบด้วย ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ตัวแทน (ปราการ เป็งแก้ว 2552) หรือตลาดคนกลางเป็นองค์กรซึ้งซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการเพื่อใช้ในการขายต่อซึ่งตลาดคนกลาง ประกอบด้วยตลาดการค้าส่ง (Wholesaling Market)ตลาดค้าปลีก (Retailing Market) กลุ่มผู้ที่อยู่ในตลาดนี้คือ กลุ่มผู้จัดจำหน่าย(Distribution)กลุ่มผู้ค้าส่ง (Wholesaler)กลุ่มผู้ค้าปลีก(Retailer)(วุฒิชัย ธรรมฐิติพงศ์ 2552)ตลาดผู้ขายต่อประกอบด้วยบุคคลและองค์การซึ่งต้องการสินค้า เพื่อจุดมุ่งหมายในการขายต่อ เพื่อแสวงหากำไร ตลาดผู้ขายต่อจะสร้างอรรถประโยชน์ให้เกิดขึ้นจากเวลา สถานทีและความเป็นเจ้าของ ในการศึกษาถึงตลาดผู้ขายต่อจะต้องใช้คำถามในลักษณะเดียวกันกับตลาดผู้บริโภคและตลาดผู้ผลิต (วุฒิชัย ธรรมฐิติพงศ์ 2552)ต่อไปนี้จะศึกษาถึงตลาดผู้ขายต่อโดยใช้คาถามทั้ง 6 ข้อ 1. ใครอยู่ในตลาดผู้ขายต่อ (Who is in the Reseller Market)  2. ผู้ขายต่อซื้ออะไร (What do Resellers Buy) 3. ผู้ขายต่อซื้อเมื่อไร (When do Resellers Buy) 4. ใครมีส่วนร่วมในขบวนการซื้อของผู้ขายต่อ (Who Participates in the Reseller Buying Process) 5. ผู้ขายต่อต้องการอะไร (What are Resellers Seeking) (ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552; วุฒิชัย ธรรมฐิติพงศ์ 2552)

           

            3.ตลาดรัฐบาล (Government   Market) เป็นตลาดสถาบัน (Industrial Market)มีลักษณะที่สำคัญของตลาดธุรกิจมีดังนี้มีจำนวนผู้ซื้อน้อยราย แต่ละรายเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ ผู้ซื้อมีความต้องการแบบต่อเนื่อง ความต้องการซื้อมีความยืดหยุ่นต่อราคาน้อย ความต้องการซื้อมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ซื้อมีความเป็นมืออาชีพสูง และมีผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อหลายคน (ปราการ เป็งแก้ว 2552)

ทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาดบริการ (Service Marketing Mix)

เป็นกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดบริการ (Service Marketing Mix) หรือ 7 P’s โดยใช้กลยุทธ์การตลาดสำหรับธุรกิจบริการโดยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (The Service Marketing Mix) เช่นเดียวกับสินค้าซึ่งประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด บุคคลหรือพนักงานการสร้างนำเสนอลักษณะทางกายภาพและกระบวนการโดยรวมเป็นตัวแปรทางการตลาด 7 ประการที่ควบคุมได้มีรายละเอียดดังนี้คือ

1.ผลิตภัณฑ์ (Product) เป็นสิ่งที่เสนอขายโดยธุรกิจเพื่อสนองตอบความต้องการของลูกค้าให้พึงพอใจ ผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการที่เสนอขายอาจจะมีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้ ผลิตภัณฑ์จึงประกอบด้วย สินค้า บริการ ความคิด สถานที่ องค์กรหรือบุคคล ผลิตภัณฑ์ต้องมีอรรถประโยชน์(Utility)มีคุณค่า (Value) ในสายตาของลูกค้าจึงมีผลทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถขายได้ (ปราการ เป็งแก้ว 2552)หรือแม้ผลิตภัณฑ์จะเป็นองประกอบตัวเดียวในส่วนประสมของการตลาดก็ตาม แต่เป็นตัวสำคัญที่มีรายละเอียดที่จะต้องพิจารณาอีกมากมาย ดังนี้ เช่นความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ (Produce Variety) ชื่อตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ (Brand Name) คุณภาพ ของผลิตภัณฑ์ (Quality) การรับระกันผลิตภัณฑ์ (Warranties) และการรับคืนผลิตภัณฑ์ (Returns) (ชีวรรณ เจริญสุข 2547)

2.ราคา(Price)หมายถึงเป็นคุณค่าของผลิตภัณฑ์ในรูปตัวเงิน ราคาเป็นP ตัวที่สองที่เกิดขึ้นถัดมาจาก ผลิตภัณฑ์ ราคา ต้นทุน (Cost)ของลูกค้าหรือผู้บริโภคจะเปรียบเทียบระว่างคุณค่า (Value)ผลิตภัณฑ์ราคา (Price)ผลิตภัณฑ์นั้นถ้าคุณค่าสูงกว่าราคา เขาก็ตัดสินใจซื้อ (ปราการ เป็งแก้ว 2552)หรือหรือมูลค่าของสินค้าและบริการที่วัดออกมาเป็นตัวเงิน การกำหนดรามีความสำคัญต่อกิจการมาก กิจการไม่สามารถกำหนดราคาสินค้าเองได้ตามใจชอบ การพิจารณาราคาจะต้องกำหนดต้นทุนการผลิต สภาพการแข่งขัน กำไรที่คาดหมาย ราคาของคู่แข่งขัน ดังนั้นกิจการจะต้องเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการกำกำหนดราคาสินค้าและบริการ  ประเด็นสำคัญจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาได้แก่ ราคาสินค้าที่ระบุในรายการหรือราคาที่ระบุ (List Price) ราคาที่ให้ส่วนลด (Discounts) ราคาที่มีส่วนยอมให้ (Allowances) ราคาที่มีช่วงระยะเวลาที่การชำระเงิน (Payment Period) และราคาเงื่อนไขให้สินเชื่อ (Credit Terms) (ชีวรรณ เจริญสุข 2547)

3.การจัดจำหน่าย (Place) หมายถึง เป็นโครงสร้างของช่องทางซึ่งประกอบด้วยสถาบันและกิจกรรม ใช้เพื่อเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์และบริการจากองค์กรไปยังตลาด สถาบันที่นำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดเป้าหมายคือ สถาบันการตลาดส่วนกิจกรรมที่ช่วยในการส่งเสริมการกระจายสินค้าประกอบด้วยการขนส่ง การคลังสินค้า และการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง และการจัดจำหน่าย (ปราการ เป็งแก้ว 2552)หรือการกระจายสินค้า หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายตัวสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค หรือผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม (ชีวรรณ เจริญสุข 2547)หรืออาจหมายถึง การขนส่งและการเก็บรักษาตัวสินค้าภายในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งและระบบช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจนั้น จากความหมายนี้จะเห็นว่างานที่เกี่ยวข้องกับการกระจายสินค้ากลายเป็นการพัฒนา และดำเนินการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ (ชานนท์ รุ่งเรือง 2555)

4.การส่งเสริมการตลาด (Promotion) หมายถึง เป็นการติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับข้อมูลระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ เพื่อสร้างทัศนะคติและพฤติกรรมการซื้อการติดต่อสื่อสาร อาจใช้พนักงาน ทำการขาย(Personal Selling)และการติดต่อสื่อสารโดยไม่ใช้คน (Non Personal Selling) เครื่องมือในการติดต่อสื่อสารมีหลายประการ ซึ่งอาจเลือกใช้หนึ่งหรือหลายเครื่องมือใช้หลักการใช้เครื่องมือสื่อสารแบบประสมประสาน (Integrated Marketing Communication : IMC ) โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมของลูกค้า และผลิตภัณฑ์คู่แข่ง(วุฒิชัย ธรรมฐิติพงศ์ 2552)

5.บุคคลากรผู้บริการ (People) หมายถึง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ทั้งหมดซึ่งรวมหมายถึงทั้งลูกค้า บุคลากรที่จำหน่าย และบุคลากรที่ให้บริการหลังการขาย บุคลากรผู้ให้บริการจำเป็นต้องอาศัยการคัดเลือก (Selection) การฝึกอบรม (Training)การจูงใจ(Motivation)เพื่อให้สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีคามสามารรถในการแก้ปัญหาและสามารถสร้างค่านิยมที่ดีให้กับองค์กรได้ (ปราการ เป็งแก้ว 2552)

6.การสร้างและการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ (Physical Evidence and Presentation) หมายถึงเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมของสถานที่องค์กร การออกแบบตกแต่งการแบ่งส่วนหรือแผนกของพื้นที่ และลักษณะทางกายภาพอื่นๆ รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่ใช้ในการให้บริการที่สามารถดึงดูดใจผู้บริโภค และทำให้มองเห็นภาพลักษณ์      ขององค์กร ที่เหนือคู่แข่งขันได้อย่างชัดเจน (ปราการ เป็งแก้ว 2552)

7.กระบวนการให้บริการ (Process) หมายถึงขั้นตอนในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ ซึ่งจะต้องส่งมอบคุณภาพในการให้บริการกับลูกค้าได้ถูกต้องรวดเร็วและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า (Customer Satisfaction)โดยนักการตลาดจำเป็นจะต้องพิจารณาในสองด้านคือ ความซับซ้อน (Complexity)และความหลากหลาย (Divergence) ในด้านความซับซ้อนต้องขั้นตอนและความต่อเนื่องของงานในกระบวนการเช่น ความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้อง ส่วนในด้านความหลากหลายต้องพิจารณาถึงความเป็นอิสระ ความยืดหยุ่น ความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงขั้นตอนหรือลำดับการทำงานได้ (ปราการ เป็งแก้ว 2552)

การวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อของตลาดองค์กร

          1.การซื้อโดยตลาดองค์กร (Organizational buying) คือ ขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ ซึ่งเริ่มต้นจากองค์กร สร้างความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ จากนั้นจึง ประเมินและเลือกตรายี่ห้อหรือผู้ขายที่ดีที่สุด โดยตลาดสถาบันขององค์กร รวมไปทั้งหน่วยงานทั้งรัฐเอกชน องค์กรต่างๆ ซึ่งต้องการใช้สินค้าบริการต่างๆ  เพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าบริการอีกทอดหนึ่ง หลังจากนั้นจึงนำไปขายให้กับลูกค้ารายอื่นๆ หรือให้เช่า หรือส่งต่อเพื่อการผลิตสำหรับรายอื่นๆ  (ซึ่งมิใช่ ขายให้ผู้บริโภคคนสุดท้าย)

          2.ถ้าเปรียบเทียบกับตลาดผู้บริโภคคนสุดท้าย (Consumer markets) ตลาดธุรกิจมีผู้ซื้อน้อยรายกว่า แต่ผู้ซื้อแต่ละรายล้วนเป็นผู้ซื้อรายใหญ่กว่าตลาดผู้บริโภคนอกจากนี้ตลาดธุรกิจยังมีความสัมพันธ์ ผู้ซื้อผู้ขายใกล้ชิดกว่า และผู้ซื้อให้ความสำคัญ กับสภาพภูมิศาสตร์มากกว่า ความต้องการของตลาดธุรกิจบริการ เป็นความต้องการที่เริ่มต้น ก่อเกิดมาจากอุปสงค์ของตลาดผู้บริโภค และจะแปรผันขึ้นลงตามวงชีพทางธุรกิจ อย่างไรก็ดี อุปสงค์ สินค้าและบริการ โดยรวมทั้งหมดของตลาดธุรกิจ จะมีลักษณะไม่ยืดหยุ่นตามราคา

          3.ศูนย์จัดซื้อ (Buying Center) คือ หน่วยที่ทำหน้าที่ตัดสินใจซื้อสินค้า/บริการ สำ หรับองค์กร ศูนย์จัดซื้อประกอบด้วยบุคคลที่มีลักษณะแตกต่างกันหลายกลุ่ม เป็นผู้เริ่มต้น (Initiators) ผู้ใช้ (Users) ผู้มีอิทธิพลต่อการซื้อ(Influencers) ผู้ตัดสินใจซื้อ (Deciders) ผู้อนุมัติ (Approvers) ผู้ทำหน้าที่ซื้อ (Buyers) ผู้รักษาประตู (Gatekeepers) ในการดำเนินการตลาดเพื่อให้ได้ผลต่อบุคคลเหล่านี้นักการตลาดต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆดังนี้คือ(1).ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (2).ปัจจัยด้านองค์กร (3).ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสำคัญ (4).ปัจจัยส่วนบุคคลลักษณะส่วนบุคคล

          4.กระบวนการจัดซื้อ (Buying process) ของตลาดธุรกิจองค์กร (Business markets) มีกระบวนการเข้ามาเกี่ยวข้อง 8 ขั้นตอน (Buy phases) ดังนี้คือ (1) การตระหนักรู้ถึงปัญหาที่เกิดกับผู้ซื้อ (2) การระบุรายละเอียดความต้องการโดยทั่วไป (3) การกำหนดรายละเอียดของสินค้า และบริการ (4) การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขาย (5) การเชิญชวนให้ผู้ขายส่งข้อเสนอการขาย ใบเสนอราคา (6) การคัดเลือกผู้ขาย (7) กำหนดรายละเอียดของกระบวนการสั่งซื้อตามปกติ (8) การทบทวนผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่เกี่ยวกับการจัดซื้อ ผู้ซื้อ ผู้ขาย   

          5.ตลาดสถาบัน (Institutional markets) ซึ่งจะประกอบไปด้วย โรงเรียน โรงพยาบาล สถานเลี้ยงเด็ก ห้องขัง   และสถาบันอื่นๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่จัดหาสินค้า ให้บริการ ต่อกลุ่มเป้าหมายของตน ปัจจุบันผู้ซื้อในตลาดสถาบันจะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการสร้างกำไรให้องค์กร หรือการลดต้นทุนให้

 

3.การนำไปประยุกต์ใช้

การนำข้อมูลของพฤติกรรมการซื้อของตลาดองค์การมาประยุกต์เพื่อให้ กลุ่มบุคคลหรือ องค์การที่ซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อการผลิต การอุตสาหกรรม การให้บริการ การดำเนินงานของกิจการ หรือเพื่อการขายต่อ ตลาดองค์การประกอบด้วย ตลาดอุตสาหกรรมหรือตลาดผู้ผลิต ตลาดคนกลางหรือตลาดผู้ขายต้อ และ ตลาดรัฐบาล พฤติกรรมการซื้อขององค์การ ตลาดอุตสาหกรรม ตลาดผู้ขายต่อ ขึ้นอยู่กับลักษณะตลาดอุตสาหกรรม และการจัดประเภทผู้ประกอบอุตสาหกรรม สินค้าอุตสาหกรรม โอกาสในการซื้อและเหตุผลในการซื้อ บทบาทของบุคคลในการซื้อสินค้า และปัจจัยสิ่งแวดล้อม องค์การระหว่างบุคคล และเฉพาะบุคคลกระบวนการตัดสินใจซื้อประกอบด้วยปัจจัย 4 ชนิด ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อขององค์การ คือ 1) สิ่งแวดล้อม คือการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี 2)องค์การ เช่นเป้าหมายวัตถุประสงค์โครงสร้าง หรือทรัพยากรขององค์การ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในดีเอ็มยู (Decision-making Unit: DMU) และ 4) บุคคลเป็นทัศนคติต่อความเสี่ยง ความคิดสร้างสรรค์ประเภทของปัญหาวิธีการแบ่งส่วนตลาดอุตสาหกรรม การแบ่งส่วนตลาดอุตสาหกรรมโดยใช้คุณลักษณะขององค์การ หรือ ระดับมหภาค คือ ชนิดของอุตสาหกรรม ขนาดขององค์การ สถานที่ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และ การใช้ประโยชน์ของผู้ใช้คนสุดท้าย การแบ่งส่วนตลาดอุตสาหกรรมจะใช้

ศึกษาพฤติกรรมการซื้อองค์กรธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ และชิ้นส่วนสนับสนุน เป็นตัวแทนในการศึกษาโดยเลือกศึกษาถึงพฤติกรรมการซื้อขององค์กร โดยศึกษาจากกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟและชิ้นส่วนสนับสนุนในประเทศไทยจำนวน 40 ราย เจาะจงเฉพาะหน่วยงานจัดซื้อของแต่ละองค์กร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) เพื่ออธิบายข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการศึกษาพบว่าองค์กรธุรกิจของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการตัดสินใจซื้อชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบ เพื่อใช้ในการประกอบเข้ากับชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ที่องค์กรได้ทำการผลิตและส่งจำหน่ายต่อไปยังลูกค้า และสนับสนุนในการผลิตขององค์กรมากกว่าเรื่องของการจัดเก็บเพื่อการจัดจำหน่าย และทดสอบคุณภาพวัตถุดิบ ส่วนพฤติกรรมการซื้อขององค์กรธุรกิจส่วนใหญ่แล้ว (ประมาณ 70%) มีพฤติกรรมการนำเข้าวัตถุดิบ (รวมวัตถุดิบหลัก, วัสดุสิ้นเปลือง) จากต่างประเทศมากกว่าครึ่งหนึ่งของวัตถุดิบทั้งหมดที่ใช้ในการผลิต องค์กรจะทำการสั่งซื้อวัตถุดิบหรืชิ้นส่วนสนับสนุนในทุก ๆ เดือน ส่วนผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อนั้น โดยส่วนใหญ่จะดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ หรือผู้จัดการฝ่ายวางแผน กระบวนการตัดสินใจซื้อวัตถุดิบนั้น องค์กรส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับการกำหนดคุณลักษณะและปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการโดยฝ่ายวิจัยและพัฒนาจะกำหนดคุณลักษณะของวัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนสนับสนุน และฝ่ายคุณภาพจะเป็นฝ่ายที่ตรวจสอบ และฝ่ายวางแผนการผลิตจะกำหนดปริมาณของวัตถุดิบที่ต้องการซื้อในแต่ละครั้งโดยประมาณการจากยอดการสั่งซื้อ จากลูกค้าซึ่งเป็นผู้ประกอบฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟเป็นหลัก

ตลาดธุรกิจและพฤติกรรมการซื้อของธุรกิจองค์กรมีความสำคัญอย่างน้อยที่สุด 2 ประการ  ประการแรก ขนาดของตลาดธุรกิจเป็นโอกาสที่ดึงดูดนักการตลาด  ประการที่สอง องค์กรหลายๆแห่งพยายามเพิ่มกำไรโดยการปรับปรุงวิธีการ ในการจัดซื้อทำให้นักการตลาดต้องตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลง นี้และปรับความพยายามทางการตลาดให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดธุรกิจ

จากการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาพฤติกรรมการซื้อของเล่นไม้ของลูกค้าบริษัทไทยวู้ดเด้นเกม จำกัด ได้ทำการรวบรวมข้อมูลด้วยโดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ลูกค้าของบริษัทไทยวู้ดเด้นจำกัด จำนวนทั้งสิ้น 30 ราย ประกอบด้วยลูกค้าไทย 14 ราย และลูกค้า และลูกค้าต่างประเทศ 16 ราย โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ   สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Static) ได้แก้ ร้อยละ (Percentage)ค่าความถี่ (Frequency) แ ละค่าเฉลี่ย (Mean)(วุฒิชัย ธรรมฐิติพงศ์ 2552)

ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นลูกค้าต่างประเทศ ประกอบธุรกิจเป็นเจ้าของคนเดียวมากที่สุด รูปแบบของธุรกิจคือธุรกิจขายส่ง มีระยะเวลาเปิดดำเนินธุรกิจ 10 ปีขึ้นไป มีจำนวนลูกค้ามากกว่า 20 ราย และส่วนใหญ่ลูกค้าค้าธุรกิจเป็นผู้ขายปลีก

พฤติกรรมการซื้อของเล่นไม้ของลูกค้าบริษัทไทยวู้ดเด้นจำกัด พบว่าลูกค้าส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจกับบริษัทฯเป็นเวลา1-5ปีและ 6-10ปี ซื้อสินค้าประเภทพัซเซิล (Puzzles) และเกมส์ (Games) ตามลำดับ และได้มีการสั่งซื้อสินค้าที่มีมูลค่าน้อยกว่า 120,000 บาทต่อครั้ง จะเป็นการสั่งซื้อสินค้าที่ไม่มีในคลังสินค้าหรือเฉพาะที่ต้องการเท่านั้นโดยพิจารณาระดับสินค้าคงคลังบรรจุภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการมีทั้งกล่องกระดาษและกล่องพลาสติก โดยส่วนใหญ่นำไปจำหน่ายต่อทีร้านค้าของลูกค้าซึ่งมีการทำตลาดตลอด โดยลูกค้าจะสร้างเป็นตราสินค้าของตนเองการตัดสินใจในการสั่งซื้อสินค้ามากจากเจ้าของกิจการ ซึ่งในระยะเวลา 1 ปี จะมีการสั่งซื้อเข้ามาถึง 2-3 ครั้งโดยในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม มีคำสั่งซื้อเข้ามามากที่สุด เหตุผลที่ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าของบริษัทฯ คือสินค้าที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ ลูกค้ารู้จักบริษัทฯ ได้จากตลาดไนท์บาซาร์ ในส่วนค่าใช้จ่ายที่มีเกี่ยวกับ การขนส่งในแต่ละครั้งมีอัตราส่วนร้อยละ 5 ของมูลค่าสินค้าที่ซื้อ(วุฒิชัย ธรรมฐิติพงศ์ 2552)

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อของธุรกิจ ที่มีความสำคัญในระดับมากได้แก่ ปัจจัยเฉพาะบุคคล ซึ่งในรายละเอียดพบว่า ปัจจัยย่อยที่ลูกค้าให้ความสำคัญในระดับมาก ได้แก้การยอมรับ และความชอบในตัวสินค้าและบริการ รองลงมาคือ การที่ผู้ผลิตให้การบริการและอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าเมื่อมาติดต่อธุรกิจและการมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกค้าและผู้ผลิต และปัจจัยที่มีอิทธิต่อพฤติกรรมการซื้อขององค์กรธุรกิจ ที่มีความสำคัญในระดับปานกลาง ได้แก่ ปัจจัยส่วนประสมทางด้านการตลาด มีคือ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ สินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐานตรงตามทีต้องการ รองลงมาคือ การใช้วัตถุดิบ ที่ไม่มีสารพิษในการผลิต และการส่งสินค้าที่ดีได้ตารางเวลา มาตรฐาน ด้านราคา พบว่าปัจจัยย่อยที่มีความสำคัญในระดับมาก ได้แก่ราคาของสินค้าที่เหมาะสมกับคุณภาพ และระดับราคาของงสินค้าที่เหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ด้านช่อทางการจัดจำหน่าย ซึ่งในรายละเอียดพบว่า ปัจจัยย่อยที่มีความสำคัญระดับมาก ได้แก่ การติดต่ออีเมล ช่วยทำให้สะดวกและรวดเร็ว รองลงมาคือการที่ผู้ผลิตจัดเก็บ สินค้าคงคลังมากขึ้นทำให้ลูกค้าลดการถือสินค้าคลัง และการมีโชว์รูม ช่วยให้ลูกค้าติดต่อสะดวกรวดเร็วและสั่งซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น ด้านการส่งเสริมการตลาด พบว่าปัจจัยย่อยที่มีความสำคัญในระดับมากคือมีการส่งตัวอย่างสินค้าใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้าเป็นประจำ รองลงมาคือ การได้เข้าเยี่ยมชมโรงงานช่วยให้ลูกค้ามีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น และการให้เครดิตการชำระเงินโดยแบ่งจ่ายได้ 2-3 งวด  ปัจจัยระหว่างบุคคล พบว่า ปัจจัยย่อยลูกค้าให้ความสำคัญในระดับมาก ได้แก่ความเข้าอกเจ้าใจระหว่างลูกค้าและผู้ผลิต ปัจจัยภายในองค์กร ซึ่งรายละเอียดพบว่า ปัจจัยย่อยลูกค้าให้ความสำคัญในระดับมากได้แก่วัตถุประสงค์และนโยบายของการสั่งซื้อของลูกค้า และปัจจัยสิ่งแวดล้อม ซึ่งในรายละเอียดพบว่า ปัจจัยย่อยลูกค้าให้ความสำคัญในระดับมาก ได้แก่ ระดับความต้องการซื้อของลูกค้าธุรกิจและวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้า ปัญหาในการซื้อสินค้าพบ ปัญหาลำดับแรกคือการส่งสินค้าที่ไม่ตรงเวลา รองลงมาคือการนำเสนอสินค้าใหม่มีน้อย มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นน้อย วิธีเล่นหรือคำอธิบายไม่ชัดเจน และสินค้าคงคลังมีไม่มากพอตามลำดับ(วุฒิชัย ธรรมฐิติพงศ์ 2552)

บรรณานุกรม

Brown, B. P. (2007). Determinants of brand sensitivity in organizational buying contexts. Ann Arbor, Georgia State University. 3279392: 180-n/a.

Ghingold, M. (1985). A SOCIAL PROCESS EXAMINATION OF ORGANIZATIONAL BUYING BEHAVIOR (MARKETING, INDUSTRIAL BUYING). Ann Arbor, The Pennsylvania State University. 8526019: 450-450 p.

Klugman, C. M. (2007). “Buying the Fourth Estate.” American Journal of Bioethics 7(8): 16-18.

Kroll, A. (2012). “MILLIONAIRES AGAINST BUYING ELECTIONS.” Mother Jones 37(6): 7-10.

Wallace, N. (2010). “Land Trust Aids Low-Income Homebuyers.” Chronicle of Philanthropy 23(2): 25-25.

ธราธนพงศ์, พ. (2553). “ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของโรงงานเซรามิคจังหวัดลำปาง ในการซื้อเคมีที่ใช้ในการเคลือบ.”

พิศาล เกียรติโภคะ (2551). “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้รับเหมาไฟฟ้าในการซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้า ในจังหวัดลำพูด.”

วาสนา มณีวรรณ์ (2552). “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกกิจการผู้นำเข้าสินค้าของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ.”

สิทธา จงศิริการค้า (2551). “พฤติกรรมการซื้ออาหารไก่ไข่สำเร็จรูปของฟาร์มไก่ไข่.”

ชีวรรณ เจริญสุข (2547). กลยุทธ์การปรับตัวทางการตลาดของร้านค้าปลีกไทยแบบดั้งเดิม (โชวห่วย). บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยศรีปทุม. บริหารธุรกิจ การตลาด.

ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย (2552). การโฆษณาเครื่องดื่มชูกำลังและการบริโภคมายาคติของผู้ขับรถรับจ้างสี่ล้อในจังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ศิลปศาตร์มหาบัณฑิต การสื่อสารการศึกษา.

ปราการ เป็งแก้ว (2552). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการคัดเลือกผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกลจากภายนอกของโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ. บัณฑิตวิทยาลัย. จังหวัดเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

วุฒิชัย ธรรมฐิติพงศ์ (2552). พฤติกรรมการซื้อของเล่นไม้ของลูกค้าบริษัทไทยวู้ดเด้นเกมส์ จำกัด. บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.

บทที่ 4 ราคา (Price) โดย ชีวรรณ เจริญสุข , Cheewan Charoensook ,Students Doctor of Business Administration (DBA) ส่ง ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น

1.ประวัติเป็นมาและความสำคัญของราคา

ประวัติความสำคัญและความเป็นมาของราคาแต่เดิมราคาเกิดจากการต่อรองกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ปลายคริสศตวรรษที่  19   ผู้ขายรายใหญ่เริ่มมีบทบาทในการกำหนดราคาสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมมากขึ้น และในปัจจุบันราคาสินค้าเกิดขึ้นจากหลายฝ่าย หากผู้ซื้อมีความรู้ และพิถีพิถันกับการเลือกซื้อสินค้าจะทำให้คนกลางต้องลดราคาสินค้าลงจากนั้นคนกลางก็จะไปกดดันให้ผู้ผลิตลดราตามไปด้วย นอกจากนี้บางสถานการณ์รัฐบาลอาจเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดราคาเพื่อความยุติธรรมอีกด้วยก็ได้ ราคาจึงเป็นกุญแจและกลไกลที่สำคัญเพื่อสร้างกำไรให้กับบริษัททั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตัดสินใจด้านราคามีผลกระทบอย่างมากต้องบกำไรและขาดทุน (Profit and loss statement) วัตถุประสงค์หลักของบริษัทในระยะยาวคือ การสร้างคุณค่าสูงสุดให้กับผู้บริโภค (Superior value) ดังนั้นราคาสินค้าควรมากกว่าต้นทุน กล่าวอีกนัยหนึ่ง วัตถุประสงค์ในระยะยาวของธุรกิจก็คือ การตั้งราคาระดับสูงอย่างน้อยก็เพื่อรักษาส่วนครองตลาด หรือยอดขายที่ไม่กัดเซาะกำไรของธุรกิจ ผู้บริโภคคัดเลือกผู้ขายปัจจัยการผลิต (Supplier) ที่มีคุณค่าสูงสุด คุณค่าเป็นผลรวมของราคา ความได้เปรียบด้านหน้าที่ และด้านจิตวิทยาของยี่ห้อ บริษัทจะเสนอสิ่งที่ดีที่สุด โดยใช้นวัตกรรม คุณภาพ ความรวดเร็วในการส่งมอบ ดังนั้น บริษัทจะเลือกขายปัจจัยการผลิตที่มีคุณค่าสูงสุด แทนที่จะเลือกขายผู้ปัจจัยการผลิตที่แข่งขันโดยราคาต่ำและกำไรส่วนเกินต่ำ

           

            ความหมายของราคา (Price) เป็นจำนวนเงินที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน และใช้กำหนดมูลค่าของสินค้าหรือบริการคือมูลค่าในการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ หรือบริการในรูปแบบของเงินตราว่าผลิตภัณฑ์นั้น และบริการจะถูกพัฒนาอย่างถูกต้องตามความต้องการ ของตลาดเป้าหมายแล้วก็ตามไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์จะขายได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ราคาจะต้องให้ถูกต้องและยุติธรรมโดยคำนึงถึงต้นทุน ลักษณะการแข่งขันในตลาดเป้าหมายได้เป็นอย่างดี (เชาว์โรจนแสง 2545 ) หรือเป็นจำนวนเงินที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ (สินค้าและบริการ) โดยผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกัน  หรือเป็นจำนวนเงินหรือเป็นจำนวนเงินหรือสิ่งต่างๆ ที่มีความจำเป็นต้องจ่ายเพื่อให้ผลิตภัณฑ์  (Etzel. Walker and Stanton 2545)หรือเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปตัวเงิน ราคาเป็น P ตัวที่สองที่เกิดขึ้นถัดจาก Produce ราคาเป็นต้นทุน (Cost) ของลูกค้าโดยผู้บริโภคจะเปรียบเทียบระหว่างคุณค่า (Value) ของผลิตภัณฑ์กับราคา (Price) ของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ถ้าคุณค่าสูงกว่าราคาผู้บริโภคก็จะตัดสินใจซื้อ (ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ 2546) หรือมูลค่าของสินค้าและบริการที่วัดออกมาเป็นตัวเงิน การกำหนดรามีความสำคัญต่อกิจการมาก กิจการไม่สามารถกำหนดราคาสินค้าเองได้ตามใจชอบ การพิจารณาราคาจะต้องกำหนดต้นทุนการผลิต สภาพการแข่งขัน กำไรที่คาดหมาย ราคาของคู่แข่งขัน ดังนั้นกิจการจะต้องเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการกำกำหนดราคาสินค้าและบริการ  ประเด็นสำคัญจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาได้แก่ ราคาสินค้าที่ระบุในรายการหรือราคาที่ระบุ (List Price) ราคาที่ให้ส่วนลด (Discounts) ราคาที่มีส่วนยอมให้ (Allowances) ราคาที่มีช่วงระยะเวลาที่การชำระเงิน (Payment Period) และราคาเงื่อนไขให้สินเชื่อ (Credit Terms) (ชีวรรณ เจริญสุข 2547)

 

2.องค์ประกอบ

ในการตั้งราคาภัณฑ์สินค้าหรือบริการ ชนิดใดชนิดหนึ่งประกอบด้วยปัจจัยมากมาย  แต่ปัจจัยที่ถือเป็นทางด้าน (1) ต้นทุน (2) กำไร (3) ความต้องการของตลาด (4) คู่แข่งและ (5) การรับรู้ (ธิดารัตน์ โชคบัณฑิต 2549) หัวใจสำคัญที่ต้องคำนึงถึงมีด้วยกัน 5 ประการ ดังนี้             

           1.ต้นทุนทางด้านของราคา  เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินการผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ ก่อนที่กิจการจะกำหนดไว้อย่างไร หรือว่าอยากได้กำไรเท่าไร  กิจการควรที่จะตั้งราคา และคำนวณต้นทุนทั้งหมดออกมาให้เรียบร้อยก่อน ทั้งค่าวัตถุดิบ  ค่าแรงงาน  ค่าใช้จ่ายในการผลิต  ค่าขนส่ง  ค่าโฆษณา และอื่นๆ (สุชาดา ร่มไทรทอง 2551)

         2.กำไรทางด้านของราคา  เป็นสิ่งที่ทุกองค์หรือบริษัทกิจการด้านธุรกิจควรคำนึงถึงอยู่เสมอ ตลอดระยะเวลาของกระบวนการตั้งราคาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์  เพราะกำไรเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความสามารถของธุรกิจผลิตภัณฑ์หรือบริการ และสามารถที่จะอยู่ได้ถึงอนาคต  ผู้ประกอบการธุรกิจภัณฑ์สินค้าบริการของหลายๆ กิจการอาจมองข้ามเป้าหมายนี้ไป ซึ่งการที่ตัดราคาสินค้ากันเองเป็นสิ่งที่ทุกกิจการไม่ควรกระทำ  แต่สิ่งที่ควรจะทำก็คือการหันมาปรับราคาและสร้างมูลค่าให้กับสินค้าให้มากขึ้น  เพื่อเป็นการทำกำไรให้ถึงเป้าหมายตามที่กิจการต้องการ (สุชาดา ร่มไทรทอง 2551)

         3.ความต้องการของตลาดทางด้านของราคา นั้นเป็นการกำหนดราคามักจะขึ้นอยู่กับกลไกของตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ ถ้าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์บริการในช่วงเวลานั้นมีความต้องการจากผู้บริโภคสูงมาก ในการกำหนดราคาสินค้าหรือบริการก็ย่อมสามารถที่จะกำหนดสูงได้เช่นกัน  และในทางกลับกันถ้าหากสินค้าและบริการในขณะนั้นไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค  การกำหนดราคาของสินค้าหรือบริการนั้นก็จะลดลงตามไปด้วย  ดังนั้น ราคาของสินค้าหรือบริการจึงมีความยืดหยุ่นและปรับตัวขึ้นลงได้อยู่เสมอตามตลาดสินค้าและบริการ (สุชาดา ร่มไทรทอง 2551)

         4.คู่แข่งทางด้านของราคา  เป็นราคาภัณฑ์สินค้าและบริการนั้นเป็น ราคาสินค้าของคู่แข่งนั้นมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าค่อนข้างมาก  ถ้าสินค้าหรือบริการเจ้าหนึ่งมีราคาถูกกว่าและเมื่อเทียบกับคุณภาพและวัตถุดิบแล้วมีความใกล้เคียงกัน ผู้บริโภคก็มักจะเลือกสินค้าที่ราคาถูกกว่าเพราะคุณภาพไม่แตกต่างกันมาก  ดังนั้นการตั้งราคาจากต้นทุนและความต้องการของตลาดนั้นอาจไม่เพียงพอด้วยซ้ำไป (สุชาดา ร่มไทรทอง 2551)

         

         5.คุณค่าที่รับรู้ในสายตาผู้บริโภคทางด้านของราคา   เป็นความรู้สึกของผู้บริโภคที่เกิดจากการรับรู้ถึงคุณภาพสินค้าและบริการโดยรวม  หรือคุณภาพที่เหนือกว่า  และนำไปสู่การตัดสินใจซื้อ ซึ่งการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคนั้นเกิดจากการยอมรับของผู้บริโภคว่าคุณค่าหรือคุณภาพของสินค้าและบริการนั้นมีคุณค่า  สูงกว่าราคาของสินค้า (สุชาดา ร่มไทรทอง 2551)

 

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งราคา

การตั้งราคาสินค้า บริการหรือการแลกเปลี่ยนระหว่างสินค้ากับสินค้าที่กระทำกันในขณะที่การตลาดยังไม่ได้รับการพัฒนานั้นมักเกิดขึ้นมากมาย เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว มนุษย์จึงได้หันมาใช้การแลกเปลี่ยนโดยอาศัยเงินเป็นสื่อกลาง การใช้เงินเป็นสื่อกลางนี้จำเป็นต้องมีการกำหนดจำนวนเงิน หรือราคาสำหรับสินค้าแต่ละชนิดขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยน ดังนั้นจึงมีองค์ประกอบทางด้านของการตั้งราคาดังนี้

           

  1. การตั้งราคาตามแนวภูมิศาสตร์ (Geographical  pricing)  เป็นการตั้งราคาโดย

ใช้เขตภูมิศาสตร์เป็นเกณฑ์ เนื่องจากผู้บริโภคกระจายกันอยู่ทั่วประเทศ  การนำสินค้าไปขายยังเขตต่าง ๆ     จะมีค่าขนส่งซึ่งเป็นต้นทุนของสินค้าซึ่งมีผลกระทบต่อราคา บริษัทมีทางเลือกเกี่ยวกับการตั้งราคา ในหลายระดับหรือหลายแบบด้วยกันคือ  1. การตั้งราคาสินค้าแบบ F.O.B.  ณ จุดผลิต  หรือจุดเริ่มต้น (F.O.B.  plant  for  F.O.B.  origin  pricing)  เป็นการตั้งราคาที่ไม่รวมค่าขนส่ง  ผู้ซื้อจะต้องมีภาระจ่ายค่าขนส่งเอง  ผู้ขายจะจ่ายให้เฉพาะค่าขนย้ายสินค้าลงสู่พาหนะที่ผู้ซื้อจัดไว้  (F.O.B.  ย่อจาก  Free  on  board)  จุดเริ่มต้น (Origin)  ที่จะส่งสินค้าอาจเป็นจุดผลิต (plant)  2. การตั้งราคาส่งมอบราคาเดียว (Uniform  delivered  pricing)              3. การตั้งราคาตามเขน (Zone  delivered  pricing)  4. การตั้งราคาแบบผู้ขายรับภาระค่าขนสง (Freight  absorption  pricing)  5. การตั้งราคาจากจุดฐานที่กำหนด (Basing  point  pricing)

           2.การตั้งราคาให้แตกต่างกัน (Discrimination  pricing)       1. การตั้งราคาตามกลุ่มลูกค้า (Customer  segment  pricing) 2. การตั้งราคาตามรูปแบบผลิตภัณฑ์  (Product  from  pricing)  3. การตั้งราคาตามภาพลักษณ์ (Image  pricing)  4. การตั้งราคาตามสถานที่  หรือทำเลที่ตั้ง (Place  or  location  pricing)             5. การตั้งราคาตามเวลา  (Time  pricing)

         3.กลยุทธ์การตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา (Psychological  pricing)  เป็นวิธีการตั้งราคาที่คำนึงถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้ซื้อ  มีวิธีการดังต่อไปนี้  1. การตั้งราคาตามความเคยชิน  (Customary  pricing)  2. การตั้งราคาเลขคี่  หรือเลขคู่ (Odd or  ever  pricing)  3. การตั้งราคาสินค้าที่มีชื่อเสียง (Prestige  goods  pricing)

         4.การตั้งราคาสำหรับสินค้าใหม่ (New  product  pricing)  สินค้าใหม่ (New  product)  อาจเป็นสินค้าใหม่แบบริเริ่ม (Innovate  product)  หรือเป็นสินค้าใหม่แบบปรับปรุง (Modified  product)  บริษัทมีทางเลือกในการตั้งราคาสินค้าใหม่  ดังนี้ 1. การตั้งราคาระดับสูง (Market  skimming  pricing)  2. การตั้งราคาเพื่อเจาะตลาด (Penetration  pricing)

         5.การตั้งราคาสินค้าที่เสื่อมความนิยม (Declining  product  pricing) สินค้าที่เสื่อมความนิยม  เป็นสินค้าซึ่งอยู่ในวงจรชีวิตขั้นตอนสุดท้าย  มียอดขายสินค้าลดลงเรื่อย ๆ มีสินค้าให้ผู้ซื้อเลือกจำนวนมาก  ตลาดอิ่มตัวเพราะมีสินค้าใหม่มาแทน  ผู้ซื้อมีความเชื่อถือในสินค้าและตรายี่ห้อน้อยลง  บริษัทมีทางเลือกในการตั้งราคาสินค้าที่เสื่อมความนิยม

         6.การตั้งราคาส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (Product  mix  pricing)  เป็นการตั้งราคาที่ผู้ผลิตมีสินค้าหลายชนิดขาย  ซึ่งจะต้องคำนึงให้มีกำไรรวมสูงสุด  บริษัทมีทางเลือกในการตั้งราคาดังนี้ 1. การตั้งราคาสำหรับสายผลิตภัณฑ์  (Product  line  pricing)  2. การตั้งราคาสินค้าที่เลือกซื้อประกอบหรือไม่ซื้อก็ได้  (Optional  feature  pricing) 3. การตั้งราคาสินค้าที่เป็นผลพลอยได้ (Byproduct  pricing) 4. การตั้งราคาสินค้าเป็นสองส่วน (Two  part  pricing)  5. การตั้งราคาสินค้าที่ขายรวมห่อ (Product – bonding  pricing 6. การตั้งราคาสินค้าประกอบที่ผู้ผลิต  ผลิตขึ้นสำหรับใช้กับสินค้า (Captive  product  pricing)

7.การตั้งราคาเพื่อส่งเสริมการตลาด (Promotion  pricing)  เป็นวิธีการตั้งราคาเพื่อให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าจากพ่อค้าปลีกมากขึ้น   บริษัทใช้วิธีต่าง ๆ ได้ดังนี้1. การตั้งราคาล่อใจ (Loss – leader  pricing)  และการตั้งราคาเหยื่อล่อ (Bait  pricing)   1) การตั้งราคาล่อใจ  การตั้งราคาเหยื่อ ซึ่งเป็นสินค้าตราที่รู้จักกันดี  ตั้งราคาไว้ถูกที่สุด  เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้าร้าน แต่ไม่มีสินค้าไว้ 2. การตั้งราคาในเทศกาลพิเศษ (Special – event  pricing)  เนื่องในเทศกาลพิเศษต่าง ๆ เช่น  เทศกาลปีใหม่  เทศกาลเปิดเทอมใหม่  พ่อค้าปลีกโดยทั่วไปจะตั้งราคาขายเป็นพิเศษ  3. การขายเชื่อแบบคิดดอกเบี้ยต่ำ (Low – interest  financing)  4.  การให้ส่วนลดตามหลักจิตวิทยา (Psychological  discounting)    5.  การลดราคาเพื่อการส่งเสริมการขาย (Cent – off  promotion)  6. การคืนเงิน (Cash  rebates)

         8.นโยบายการให้ส่วนลดและส่วนยอมให้ (Discounts  and  allowances)   ในการตั้งราคาสินค้า  บริษัทจะพิจารณาจัดให้มีส่วนลดและส่วนยอมให้ในบางช่วงเวลาของการขายส่วนลด (discount)  เป็นจำนวนเงินที่ผู้ขายลดให้จากราคาที่กำหนดไว้ในรายการ เพื่อจูงใจให้ผู้ซื้อตัดสินใจซื้อทันทีและซื้อเพิ่ม  ส่วนยอมให้ (allowance)  คือส่วนที่ผู้ขายชดเชยให้กับผู้ซื้อเหมือนทำให้ผู้ซื้อได้ลดราคา ส่วนลดและส่วนยอมให้ที่ใช้ในทางการตลาด  มีดังนี้1.  ส่วนลดปริมาณ (Quantity  discount)   2.  ส่วนลดการค้า (Trade  discount)  หรือ ส่วนลดตามหน้าที่ (Functional discount) เป็นส่วนลดที่บริษัทจัดให้กับคนกลางในช่องทางการตลาด 3.  ส่วนลดเงินสด (Cash  discount) 4.  ส่วนลดตามฤดูกาล (Seasonal  discount5.  ส่วนยอมให้จากการนำสินค้าเก่ามาแลก (Trade – in  allowance)   6.  ส่วนยอมให้สำหรับการส่งเสริมการตลาด (Promotional allowance7.  ส่วนยอมให้สำหรับการเป็นนายหน้า (Brokerage  allowance

9.นโยบายระดับราคา (The  level  of  price  policy)   ผู้ผลิตจะตั้งราคาสินค้าตามตำแหน่งสินค้าของธุรกิจ  ถ้ามีคู่แข่งขันดังต่อไปนี้1.  การตั้งราคา  ณ ระดับราคาตลาด (Pricing  at  the  market)   2.  การตั้งราคา  ณ ระดับราคาที่สูงกว่าราคาตลาด (Pricing  above  the  market)  3.  การตั้งราคา  ณ ระดับราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด (Pricing  below  the  market)

10.นโยบายราคาเดียวกับนโยบายหลายราคา (One  price  policy  and  variable  price  policy)1.  นโยบายราคาเดียว (One  price  policy)  2.  นโยบายหลายราคา (Variable  price  policy)

         11.นโยบายแนวระดับราคา (Price  lining  policy)   เป็นนโยบายในการผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน  แต่มีระดับคุณภาพแตกต่างกัน  ขายให้กับผู้ซื้อโดยตั้งราคาระดับต่าง ๆ  ผู้ผลิตต้องจัดทำเช่นนี้เนื่องจากมีผู้ซื้อกลุ่มต่าง ๆ

3.การประยุกต์ใช้

การประยุกต์ใช้ในการด้านการตั้งราคาผลิตภัณฑ์สินค้า หรือบริการเป็นหลักในการกำหนด ปัจจัยทางด้านราคาที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายจะต้องปฏิบัติ คือ พยายามกำหนดราคาให้ได้เปรียบการแข่งขันพร้อม ๆกับการให้ผู้บริโภคยอมรับด้วย โดยทั่วไปถ้ากำหนดราคาสูงปริมาณขายอาจจะตั้งแต่การกำหนดราคาต่ำกำไรก็อาจจะต่ำตามไปด้วย จึงเป็นเหตุให้ทางด้านราคาต้องพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมายทั้งปัจจัยภายในธุรกิจ   และปัจจัยภายนอกธุรกิจและเครื่องมือวัดด้านราคา  มี 2 เครื่องมือ

         1.Return on Investment : ROI Marketing  ROI Marketing เป็นเครื่องมือที่ทำ ให้เห็นภาพ “ผลตอบแทนการลงทุน” ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

         2.Return on Investment : ROI Analytics ผลตอบแทนทางการลงทุนทางด้านการ เงินหรือทางด้านราคา ซึ่งเป็นตัวช่วยวัดผลให้มีประสิทธิภาพของกิจกรรม เทคนิคการตลาดต่างๆที่นิยมใช้อยู่ทั้งหมดให้ออกมาชัดเจน อาทิ การส่งเสริมการขายโดย การจัดโปรโมชั่น แคมเปญโฆษณา การตั้งราคา หรือการใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายต่างๆ เนื่องจากพวกเขาสามารถ “ประเมินผลลัพธ์” ในการลงทุน อาทิ ด้านการเงิน การผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการจัดซื้อสินค้าได้” เพราะการทำธุรกิจจำเป็นต้องมุ่งสร้าง “ผลกำไร”ในด้านยอดขายเพิ่มมากขึ้น และเน้นทางด้านกิจกรรม งานอีเว้นต่างๆ  ไม่ใช่คิดแต่ในเชิงการตลาดที่มุ่งสร้างกระแส “ความสนใจ” เท่านั้น  (Shin, 2005)

         3.Input  การบริหารงานโดยวัดความสำเร็จที่ผลงาน เราได้ไล่ตั้งแต่ ภาคยุทธ์ศาสตร์ กลยุทธ์ธุรกิจ ที่จะเลือกว่าจะเด่นจะดังในเรื่อง ต้นทุนต่ำ Cost Leadership, ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ๆก่อนใคร  Innovation , ให้ Solution แบบเบ็ดเสร็จสำเร็จรูปเฉพาะลูกค้า , หรือ มอบประสบการณ์แปลกใหม่ Experience จากนั้นเราพูดถึง เป้าหมายทางการเงินหรือทางด้านราคา เรื่องการดำเนินธุรกิจเรานั้นเรามุ่งหวัง กำไรเร็ว หรือเพิ่มการเติบโตยอดขาย เพิ่มส่วนแบ่งตลาดหรือผลตอบแทนการลงหรือ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ ตามมาด้วยผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ Customer value ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สินค้า บริการความสัมพันธ์ ข่าวสารข้อมูล และ ประสบการณ์แปลกใหม่ แนวทางในการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน เหมือนกับคนแต่ละคนต่างมีวิถีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน แต่โดยทั่วๆ ไป ธุรกิจกิจการจะมีการดำเนินธุรกิจ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

การออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้า หรือบริการที่ลูกค้ายินดีซื้อสินค้าเรียกว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการที่มีคุณค่า (Design) ซึ่งประเทศไทย มีผู้ริเริ่มในสิ่งที่แปลกใหม่ โดยเรียกว่านวัตกรรมใหม่ๆ Innovation เป็นที่ถูกตาต้องใจของลูกค้า การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ R&D ตัวชี้วัด คือจำนวนผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ออก ยอดขายที่มาจากผลิตภัณฑ์ใหม่ ระยะเวลาพัฒนา นวัตกรรมใหม่ ลดลง ออกสินค้าสู่ตลาดก่อนคู่แข่ง ผลตอบแทนการลงทุนในผลิตภัณฑ์ใหม่ จำนวนความคิดใหม่ๆในการพัฒนาที่เกิดขึ้นและนำไปใช้ให้เห็นเป็นรูปธรรม ต่อไตรมาสต่อปี จำนวนแนวคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้ทดลองผลิต และทดสอบตลาดแล้ว ที่เรียก New Product Development Pipeline

          การผลิตสินค้าบริการหรือสร้างผลิตภัณฑ์ออกมาใหม่(Create) แน่นอนว่า ขบวน การนี้จะต้องมีสิ่งที่ใส่เข้าไปและผลลัพธ์ที่ออกมาการบริหารผลิตภาพ Productivity ให้มีคุณภาพสูงและมีมาตรฐาน ของเสียหรือของตกสเป็คมีน้อยหรือต่ำที่สุด ในขณะเดียวกันความ ความยืดหยุ่นในการผลิต เช่นการผลิตได้หลากหลายโดยไม่ต้องเสียเวลาตั้งเครื่อง Setup time นานๆจนเกินไป ดังนั้นต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่ ซัพพลายเออร์ Supply chain การบริหารความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ รวมถึงการจ้างผลิตแทนการผลิตเองสต็อก วัตถุดิบ ปัจจัยการผลิต และ การบริหารการรับวัตถุดิบ คุณภาพปัจจัยการผลิต ความรวดเร็วในการได้รับปัจจัยผลิตตรงตามที่ต้องการ

การบริหารต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ การปรับปรุงคุณภาพ และผลิตภาพการผลิต ลดเวลาการผลิตสินค้าและบริการให้รวดเร็วเพิ่มมากขึ้น การใช้ทรัพย์สินถาวรให้มีประสิทธิภาพ การบริหารสินค้าคงคลัง ทั้งวัตถุดิบ ระหว่างผลิตสินค้าและบริการ และที่ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปแล้ว Inventory Control ตัวชี้วัด คือด้านการลดต้นทุนการผลิต ทำให้สินค้าและบริการนั้นขายได้ราคาที่ถูกกว่า คุณภาพดีกว่า ถึงมือลูกค้าได้เร็วกว่า และสต๊อกมีผลิตภัณฑ์สินค้า และบริการมีความหลากหลายให้ลูกค้าเลือก ใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่อย่างมีผลิตภาพ โดยมีการลดสต๊อกสินค้าลง รอบการหมุนสินค้าให้ไวขึ้น

การบริหารการจัดส่งไปยังปลายทาง Logistics ระยะเวลาขนส่ง และการตอบสนองต่อความต้องการลูกค้าอย่างรวดเร็วเช่น เมื่อของขาดมือ หรือ เมื่อลูกค้ามีคำสั่งซื้อด่วน Quick Response การส่งมอบ คุณค่าจะเกี่ยวข้องกับการคัดเลือกช่องทาง การจำหน่ายจัดส่ง ดังนั้น เราจะควบคุมเวลา ทรัพยากร และต้นทุน อย่างไรในการส่งมอบ ให้ลูกค้าตัวชี้วัด คือ เวลาในการตอบสนองต่อความต้องการลูกค้า เช่น จากสั่งจนของถึงมือลูกค้า ต้นทุนในการบริการลูกค้า เวลาในการให้บริการ และแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า การส่งมอบของถูกต้องครบถ้วน จำนวนข้อร้องเรียนจากลูกค้า

การบริหารความเสี่ยงที่เกิดจาก การลงทุนใหม่ ทั้งทางด้านเทคโนโลยีและ เครดิตการค้า บริหารลูกหนี้ และเจ้าหนี้การค้า ด้านการบริหารความเสี่ยง จากการปล่อยเครดิต และการลงทุนในกิจการในเรื่องใหม่ เทคโนโลยี การบริหารสต๊อกสินค้า การบริหารดอกเบี้ย และสภาพคล่องตัวชี้วัด เช่น สัดส่วนหนี้สูญ หรือ ลูกหนี้คงค้าง สต๊อกสินค้าหมดอายุหรือเสื่อมเสื่อมสภาพ หนี้สินต่อทุน ความทันสมัยของเทคโนโลยีเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

ประเภทดัชนีตัวชี้วัดของขบวนการธุรกิจ (Business process) ส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับเรื่องสำคัญ 3 เรื่องคือ เรื่องบริหารต้นทุน (ABM-Activity based management -Cost) เรื่อง บริหารเวลา (TBM-Speed) เรื่องบริหารคุณภาพ (Quality-TQM) ทั้ง 3 ตัวนี้คือการปรับปรุงแบบค่อยเป็นค่อยไป Continuous Improvement ส่วนการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบหวือหวา หรือ Radical Change นั้นจะเน้นการปฎิรูปขบวนการ การยกเครื่องขบวนการธุรกิจ การทำกิจกรรม ใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน

การมอบคุณค่าและการบริหารลูกค้า (Value Delivery) ลูกค้าในที่นี้มี 3 ส่วน คือ ลูกค้าภายในองค์กรเอง ลูกค้าภายนอกซึ่งเป็นคนกลาง ผู้จัดจำหน่าย และลูกค้าคนสุดท้ายที่เป็นผู้ใช้ ผู้บริโภคนั้นเองขบวนการบริหารลูกค้า คือ การเลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เรามีโอกาสดลใจมากที่สุด กลยุทธ์การหาลูกค้าใหม่ กลยุทธ์ในการรักษาลูกค้าเก่า การสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าหรือที่เรียกว่า CRM Customer Relationship Management ซึ่งเราจะกำหนดตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดลูกค้าภายนอก สัดส่วนลูกค้าใหม่ ต่อลูกค้าเก่า จำนวนการนำเสนอกลุ่มลูกค้าคาดหวัง สัดส่วนรายได้และกำไรจากลูกค้าแฟนพันธุ์แท้ การซื้อผลิตภัณฑ์หลากหลายของบริษัทจากลูกค้าประจำ ความพึงพอใจลูกค้าต่อเรา การแนะนำบอกต่อของลูกค้าเก่าให้ลูกค้าใหม่เข้ามา ต้นทุนต่อการได้มาซึ่งลูกค้า มูลค่าหัวของลูกค้าเก่าแต่ละราย

บรรณาณุกรม

Armstrong, G. (2009). Marketing : an introduction ([European ed.). Harlow, England: Financial Times Prentice Hall.

Kotler, P. (2009). Marketing management. Harlow, England ; New York: Pearson/Prentice Hall.

Shin, N. (2005). Strategies for Generating E-business Returns on Investment. Hershey, PA: Idea Group.

Stanton, W. J., & Buskirk, R. H. (1987). Management of the sales force (7th ed.). Homewood, Ill.: Irwin.

Wisner, F. (1996). El dictador del Paraguay José Gaspar de Francia. Asunción, Paraguay: Instituto Cultural Paraguayo-Alemán.

ชีวรรณ เจริญสุข (2547). กลยุทธ์การปรับตัวทางการตลาดของร้านค้าปลีกไทยแบบดั้งเดิม (โชวห่วย). บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยศรีปทุม. บริหารธุรกิจ การตลาด.

ชยันต์ ตันติวัสดาการ. (2550). เศรษฐศาสตร์จุลภาค:ทฤษฏีและการประยุกต์ (Vol. 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พัฒนา เทวนิยมพันธ์ม. (2550). กลยุทธ์การตั้งราคาฟิตเนส. ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพ.

สรยุทธ มีนะพันธ์. (2546). เศรษฐศาสตร์การจัดการองค์กรธุรกิจ. กรุงเทพ: สแตรทโทโนมิคส์

บทที่ 5 ผลิตภัณฑ์ (Product) โดย ชีวรรณ เจริญสุข , Cheewan Charoensook ,Students Doctor of Business Administration (DBA) ส่ง ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น

1.ประวัติความเป็นมาและความหมายของผลิตภัณฑ์

ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ หรือจะเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถนำเสนอขายสู่ตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เมื่อศึกษาแนวคิดทางการตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ พบว่า การตอบสนองความต้องการผู้บริโภค หมายรวมถึงความพึงพอใจทางด้านความต้องการของผู้บริโภค ของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ทั้งทางด้านกายภาพ (ตัวผลิตภัณฑ์) จิตวิทยา (ความเชื่อมั่น, ภาพลักษณ์ ผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ ฯลฯ) และสังคมวิทยา (การเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ฯลฯ) ที่ผู้บริโภคได้รับหลังการบริโภคผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ ในตัวผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการมีการจัดระดับไว้เพื่อให้สามารถแยกแยะได้ และเพื่อใช้ในการสื่อสารทางการตลาดได้อย่างเหมาะสมลงตัว (Fetscherin et al., 2014) และเพื่อให้เกิดการส่งมอบของ ผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ (Goods and Services)ได้นั้น จะต้องมีส่วนประสมทางด้านการตลาดหรือ 4’P ซึ่งประกอบด้วย สินค้า (Products) หรือสิ่งที่จะเกิดการส่งมอบ และรับมอบกัน ซึ่งสินค้านั้นจะมีลักษณะที่สัมผัสจับต้องได้และสัมผัสจับต้องไม่ได้  ราคา (Price) ที่จะเกิดการซื้อขาย  สถานที่ (Place)ที่จะเกิดการแลกเปลี่ยนสินค้า และ การส่งเสริมการขาย (Promotion) เพื่อให้เกิดการซื้อขาย หากเป็นการบริการหรือ Services นอกจาก จะประกอบด้วยส่วนประสมทางการตลาด 4’P แล้วยังจะต้องพิจารณาอีกสามส่วน หรือ 3’P (รวมแล้วเป็น 7’P) คือ คน  กระบวนการ และ หลักฐานประจักษ์ด้านกายภาพ (People, Process และ Physical Evident) (Fetscherin et al., 2014) หรือเป็นการแบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ไม่มีสูตรสำเร็จเฉพาะเจาะจงและสามารถแบ่งแบบใดก็ได้ เพื่อให้เหมาะสมและเกิดความเข้าใจที่ตรงกันในด้านการสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์เป้าหมายของธุรกิจหรือองค์กร แต่โดยทั่วไปได้มีการแบ่งสินค้า ออกเป็นสองกลุ่ม ใหญ่ๆตามลักษณะคือการคงสภาพหรือจับต้องได้ (Durability, Tangibility) และตามลักษณะการใช้งาน (Use) สำหรับสินค้าในกลุ่มตามลักษณะการใช้งานของผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ โดยสินค้าประเภทนี้มีการแบ่งตามลักษณะการนำไปใช้ (Dass and Kumar, 2012)

            ความสำคัญของผลิตภัณฑ์นั้นเป็นผลิตภัณฑ์หรือสินค้า และบริการของกิจการใดๆ เป็นที่มาของรายได้ให้กับกิจการนั้นๆจึงอาจกล่าวได้ว่า ธุรกิจกิจการจะไม่สามารถอยู่รอดได้ ถ้าผลิตภัณฑ์ที่ขาย นำเสนอสู่ตลาดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นก่อนสำเสนอผลิตภัณฑ์สู่ตลาดธุรกิจ กิจการควรที่จะได้สำรวจให้ทราบถึงลักษณะของผลิตภัณฑ์ ที่ผู้บริโภคต้องการให้ได้เสียก่อน ถ้าหากธุรกิจกิจการใดนำเสนอผลิตภัณฑ์ เป็นเจ้าแรกธุรกิจกิจการนั้นๆ   ก็มีโอกาสที่จะเป็นผู้นำตลาดได้นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดียังทำให้ธุรกิจ  กิจการนั้น ๆ มีภาพลักษณ์ ที่ดีในสายตาของผู้บริโภคอีกด้วยเมื่อพิจารณาโดยรอบ จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ดีมีประโยชน์ และตรงกับความต้องการของผู้บริโภคจะช่วยยกมาตรฐานการครองชีพแก่ผู้บริโภคได้และการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอของธุรกิจจะช่วยให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคและนำความเจริญสู่เศรษฐกิจ

ผลิตภัณฑ์และบริการ (Product) เป็นกลยุทธ์ตัวแรกของส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสำคัญที่สุดที่นักการตลาดจะต้องหยิบยกขึ้นมา พิจารณาก่อนโดยการเลือกผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาดเป้าหมาย เพื่อสะดวกในการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดตัวอื่นๆ ให้สัมพันธ์กัน (เชาว์  โรจนแสง 2545) หรือเป็นกลยุทธ์ที่เสนอขายสินค้าโดยธุรกิจ เพื่อตอบสนองความจำเป็นหรือความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจ ประกอบด้วยสิ่งที่สัมผัสไม่ได้ (ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ 2546) หรือสินค้าหรือบริการ แนวคิดหรือแนวปฏิบัติที่นำเสนอให้กับตลาดเป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการ ความปรารถนาของตลาดเป้าหมายให้เกิดความพึงพอใจในสิ่งที่จับต้องได้ มีตัวตน คือสินค้า และสิ่งที่จับต้องได้ไม่มีตัวตน คือบริการแนวคิดและแนวปฏิบัติ (พิษณุ จงสถิตวัฒนา 2544) หรือตัวสินค้าและบริการ ซึ่งเกิดจากกิจการจะต้องผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าหรือผู้บริโภค กิจการสามารถพัฒนาปรับปรุงตัวผลิตภัณฑ์ได้ในหลายลักษณะ (ศูนย์ศึกษาพัฒนาละการวิจัยการตลาด 2545) หรือแม้ผลิตภัณฑ์จะเป็นองประกอบตัวเดียวในส่วนประสมของการตลาดก็ตาม แต่เป็นตัวสำคัญที่มีรายละเอียดที่จะต้องพิจารณาอีกมากมาย ดังนี้ เช่นความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ (Produce Variety) ชื่อตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ (Brand Name) คุณภาพ ของผลิตภัณฑ์ (Quality) การรับระกันผลิตภัณฑ์ (Warranties) และการรับคืนผลิตภัณฑ์ (Returns) (ชีวรรณ เจริญสุข 2547)

 

2.องค์ประกอบผลิตภัณฑ์

            องค์ประกอบผลิตภัณฑ์  (Product   Component)  เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาตัวสินค้าผลิตภัณฑ์หรือบริการ   เป็นการพิจารณาถึงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่นักการตลาดจะต้องนำองค์ประกอบที่ได้ มาเป็นตัวกำหนดลักษณะสินค้าผลิตภัณฑ์หรือบริการในการตอบสนองความต้องการลูกค้าหรือของตลาด   โดยสามารถแบ่งได้  ดังนี้

          1.ผลิตภัณฑ์หลัก (Core  Product)  บริษัทต้องมีความรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้  ผลิตภัณฑ์ของบริษัทต้องมีความชัดเจนว่าเป็นสบู่บำรุงผิว   กาแฟทรีอินวัน   น้ำยาล้างจาน   รถยนต์ขนาดเล็กเพื่อใช้ในเมือง  รถขนาดกลางสำหรับครอบครัว ฯลฯ   ผลิตภัณฑ์ที่ขายเป็นสินค้า   บริการ  บุคคล  สถานที่หรือแนวความคิด  ต้องกำหนดลงไปให้แน่ชัด

         2.คุณสมบัติผลิตภัณฑ์  (Product  Attribute)  เราต้องทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตมาจากอะไร  มีคุณสมบัติอย่างไร   ลักษณะทางกายภาพ  ขนาด  จุดเด่น  ความงาม  ความคงทน  ด้านรูปร่าง  รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตัวของมันเอง

         3.จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ (Product   Feature)  เราต้องรู้ว่าสินค้าของเรามีอะไรเด่นเป็นพิเศษ  (Differentiation)  กว่าสินค้าอื่น  เพื่อดึงดูดลูกค้าให้ใช้สินค้าของเรา

         4.ผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์  (Product  Benefit)  ลูกค้าส่วนใหญ่มักจะสับสนระหว่างจุดเด่นผลิตภัณฑ์  และผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์  ซึ่งจะแตกต่างกันจุดเด่นผลิตภัณฑ์คือ สิ่งที่อยู่ในตัวสินค้า  ส่วนสิ่งที่เป็นผลประโยชน์แก่ลูกค้าที่เกิดขึ้นในความรู้สึกของลูกค้า  เรียกว่า  ผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง  ผลประโยชน์ของผลิตภัณฑ์สามารถแบ่งออกเป็น  3  ประเภท  คือ 4.1 ผลประโยชน์ที่ผลิตภัณฑ์พึงมี (Defensive  Benefit)  หรือผลิตภัณฑ์หลัก (Core  product)  เป็น ประโยชน์หลัก (Core  benefit)   หรือประโยชน์พื้นฐานที่ผู้ซื้อจะได้รับจากสินค้าแต่ละชนิด ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ผู้ซื้อใช้ในการพิจารณาตัดสินใจซื้อ  4.2 ผลประโยชน์พิเศษ (Extra  Benefit)  ที่ทำให้เหนือกว่าคู่แข่งขัน  เพื่อทำให้ชนะคู่แข่งขัน  4.3  ผลประโยชน์เสริม (Fringe  Benefit)  ที่ทำให้สินค้าแตกต่างไปจากคู่แข่งขัน   หรือหมายถึง  ประโยชน์เพิ่มเติมที่ผู้ซื้อได้รับนอกเหนือจากสินค้าปกติ

3.การประยุกต์ใช้

การประยุกต์ใช้ทางด้านผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการโดยมีการประเมิน และวัดผลโดยนำเครื่องมือทางด้าน (Output Measurable-VBM) เป็นการนำเอาเครื่องมือทางด้าน VBM (Value Based Management) และปัจจัยที่จะนำเข้ามาวัดผลการดำเนินงานของกิจการประกอบด้วย  TWC, DPO, DSO, ROI and the most important thing is Cash Flow. แนวทางในด้านการบริหารจัดการทางด้านตัวชี้วัดใหม่นั้น เพื่อสำหรับการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กรทางด้านการบริหารจัดการ คุณภาพโดยรวมองค์กร เป็นการเพิ่มขีดความสามารถ ในการาบริหารการจัดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การปรับรื้อ ,ไคเซ็น , การสร้างทีมงาน และอื่น ๆ หลายคนได้ประสบความสำเร็จ  แต่ค่อนข้างน้อยมีความล้มเหลวมักจะเกิดความล้มเหลวเป็น เป้าหมาย ผลการปฏิบัติงานที่มีความ ชัดเจนหรือ ไม่ได้ อย่างถูกต้องสอดคล้อง กับเป้าหมาย สูงสุดของการสร้างมูลค่าทางด้านการจัดการผลิตภัณฑ์มูลค่าตาม ( VBM ) ให้ความแม่นยำและ ชัดเจน เมตริก  ค่า  ซึ่งทั้งหมดองค์กรสามารถสร้างคิดที่อยู่เบื้องหลัง VBM เป็นเรื่องง่าย มูลค่าของ บริษัทจะถูกกำหนดโดยลดของกระแสเงินสดในอนาคต ราคา จะถูกสร้างขึ้น เฉพาะเมื่อบริษัทลงทุนทุนที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าต้นทุนของเงินทุนที่ VBM ขยาย เหล่านี้แนวคิดโดยเน้นวิธีการที่บริษัทใช้พวกเขาที่จะทำให้ทั้งสองที่สำคัญ เชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจ ในการดำเนิน ชีวิตประจำวันดำเนินการ อย่างถูกต้องก็ เป็นวิธีการ ที่จะการจัดการ ที่สอดคล้องแรงบันดาลใจโดยรวมของบริษัทเทคนิคการวิเคราะห์และ กระบวนการบริหารจัดการ ที่จะมุ่งเน้น การตัดสินใจ ใน การบริหารจัดการไดรเวอร์ที่สำคัญ ของมูลค่าหลักการ

จากสรุปของผู้วิจัยของการนำมาประยุกต์ใช้ ของการสร้าสินค้าผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ โดยใช้ทฤษฎีทางด้านผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการของระบบมาประยุกต์ใช้ในด้าน Input เช่นการวิจัยทางการตลาด กลยุทธ์ทางการตลาด การวิเคราะห์ทางการขาย และอื่น ๆ เพื่อเข้าสู่กระบวนการของขั้นตอน เพื่อได้มาซึ่งความคิดใหม่ซึ่งจะต้องมีการสกรีนในเบื้องต้น เพื่อที่จะได้งานวิจัยหรือวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้องออกมามาซึ่ง concept ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่โดยจะมีความสัมพันธ์กับกลกลยุทธ์ทางการตลาด และกลยุทธ์ทางด้านผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ (Lee et al., 2014) และจึงเป็นการศึกษาถึงความเป็นไปได้ และมีการทดสอบของตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ก่อนที่จะมีการออกผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการใหม่ออกสู่ตลาด (Ozler, 2011) ทั้งนี้ต้องมีการ Review ในตัวผลิตภัณฑ์ (มานะ อินพรมมี, 2555) ซึ่งในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ OTOP (หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์) เป็นการทำวิจัยซึ่งได้รับความสนใจทางการตลาดเป็นอย่างมาก(กิตติคุณ บุญเกตุ, 2556) 2555) หรือการวิเคราะห์ทางด้านOutput หลังจากผ่านกระบวนการข้างต้น จะได้ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ผ่านการทดสอบ และจัดให้มีแบรนด์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์สินค้า หรือบริการใหม่และเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ (Noguti and Russell, 2014) พร้อมทั้งจัดการอบรมให้กับพนักงานเพื่อให้มีความรู้ต่อผลิตภัณฑ์ วางตัวในการตลาด ไปจนถึงคำนวณถึงผลกำไรของการออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ เพื่อผลประโยชน์สูงสุดขององค์กร*(ณัฐนันท์ หอมวิเศษวงศา, 2555)

 

บรรณานุกรม

กิตติคุณ บุญเกตุ .(2556)  วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร

วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์)

คณะสถิติประยุกต์  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

  1. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชีวรรณ เจริญสุข (2547). กลยุทธ์การปรับตัวทางการตลาดของร้านค้าปลีกไทยแบบดั้งเดิม (โชวห่วย). บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยศรีปทุม. บริหารธุรกิจ การตลาด.

 

วลีรักษ์ สิทธิสม. 2553.  OTOP ในจังหวัดนนทบุรี. สาขาวิชาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อรรถสิทธ์ ทองทั่ว. 2552.  มหาวิทยาลัยบูรพา.

อ้างอิง (Reference)

http://forum.datatan.net/index.php?topic=126.0

http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sms/market/Unit4/Subm1/U411-1.htm

http://marketingdirector.com/wp-content/uploads/2012/07/New-Product-Development-Methodology4.jpg

http://www.businessdictionary.com/definition/product.html

http://www.learnmarketing.net/theory.htm

http://businesscasestudies.co.uk/business-theory/marketing/marketing-mix-price-place-promotion-product.html#axzz3HEnvG4YI

Click to access linn_gtm_08.pdf

บทที่ 6 การโฆษณา (Advertising) โดย ชีวรรณ เจริญสุข , Cheewan Charoensook ,Students Doctor of Business Administration (DBA) ส่ง ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น

1.ประวัติและความเป็นมาของการโฆษณา

ประวัติความเป็นมาของการโฆษณาในประเทศไทยยังไม่เป็นที่ประจัก และแน่ชัดว่าเป็นมาอย่างไรหรือไม่ได้ระบุไว้แน่ชัดว่า การโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการนั้นเกิดขึ้นมาเมื่อไร แต่เข้าใจได้ว่าการ โฆษณาของประเทศไทยนั้นมีมาช้านานตั้งแต่โบร่ำโบราณ หรือแต่ครั้งโบราณกาลนับตั้งแต่คนไทยเริ่มมีผลิตภัณฑ์สินค้า หรือบริการเข้ามาวางขายตามท้องตลาด โดยวิธีการแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของ มีคนขายและคนซื้อ การโฆษณาสินค้าของคนไทยหรือประเทศไทยนั้น ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นการร้องขายสินค้าของบรรดาพ่อค้าแม่ค้าทั้งหลาย โดยอาศัยการบอกกล่าวขายผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการของตนไปยังลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยตรง  ซึ่งรูปแบบของการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้า  และบริการในลักษณะนี้นั้น ยังคงสืบทอดต่อมาจนกระทั่งรุ่นลูกรุ่นหลานหรือประชาชนในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากบรรดาหาบเร่ แผงลอย รถเข็น และพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นรูปแบบ ในลักษณะของรถบรรทุกเล็ก ที่วิ่งขายผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการไปตามแหล่งชุมชน และที่อยู่อาศัยเพื่อขายสินค้าทั่วไปตามท้องตลาดและที่ชุมชนต่างๆ  และเมื่อย้อนหลังไปประมาณเกือบ 200 ปี การโฆษณาประชาสัมพันธ์นั้นเป็นแนวความคิดที่เกิดขึ้น และพัฒนามาจากประเทศกลุ่มตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ได้แพร่ขยายเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกพร้อมๆ กับการพัฒนาของสื่อมวลชนชนิดแรก คือ หนังสือพิมพ์วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387 นายแพทย์ Dan Beach Bradley ได้ออกหนังสือพิมพ์ภาษาไทยชื่อ หนังสือจดหมายเหตุฯ หรือ The Bangkok Recorder โดยออกเป็นรายปักษ์ความหนาจำนวน 8 หน้า ด้วยยอดพิมพ์ 300 ฉบับ และพร้อมกำเนิดของหนังสือพิมพ์ฉบับแรกนี้โฆษณาชิ้นแรกของไทยก็ได้ปรากฎขึ้นด้วย นั่นคือ โฆษณาของอู่ต่อเรือบางกอกด๊อก และนับจากนั้นมา เมื่อมีนิตยสารอื่นๆ เกิดขึ้น ก็จะมีสินค้าลงโฆษณาในนิตยสารเหล่านั้นด้วยแทบทุกฉบับ(ไพศาล กาญจนวงศ์ 2556)

รากฐานของการจัดทำโฆษณาอย่างเต็มรูปแบบ ถูกวางพื้นฐานขึ้น เมื่อ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ทรงตั้งแผนกโฆษณากรม รถไฟ พร้อมทั้งการวางแผนและหลักปฏิบัติงานโฆษณาไว้ให้อย่างดี โดยทรงนำเอาตัวอย่างแผน การโฆษณากิจการรถไฟในประเทศอังกฤษ มาใช้ในเมืองไทย เป็นครั้งแรก ต่อมาได้ทรงวางแผนและทรงรณรงค์โฆษณา ให้กับการคลังออมสินจนประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง การโฆษณาครั้งนั้นได้กลายเป็นรูปแบบปฏิบัติของ การพัฒนามาตราบเท่าทุกวันนี้ เมื่อธุรกิจการค้าขยายตัว การสื่อสารเพื่อแจ้งข่าวสารต่อมวลชนจึงทวีบทบาทสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 6 การโฆษณาเจริญมาก เพราะ เป็นหนังสือพิมพ์และนิตยสารได้เปลี่ยนมือผู้บริหาร จากการเป็นของเจ้านายมาสู่สามัญชน และต้อง ดำเนินการในรูปธุรกิจเพื่อเลี้ยงตัวในรอด การโฆษณาจึงได้กลายเป็นแหล่งรายได้สำคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์ และสื่อมวลชน ประเภทอื่นๆ ในเวลาเดียวกันการโฆษณาก็ได้กลายมาเป็นเครื่องมือทางการตลาดกิจการค้า อีกด้วยในปี พ.ศ. 2467 มีเหตุการณ์ สำคัญอีกอย่างหนึ่งของวงการโฆษณาเกิดขึ้น นั่นคือ ได้มีบริษัทที่รับจ้างทำงานโฆษณา เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ดำเนินงานในลักษณะ ของบริษัทโฆษณาท้องถิ่นชื่อ บริษัทสยามแอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด จากการก่อตั้งของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชร อัครโยธิน และผู้เล็งเห็นประโยชน์อย่างคุ้มค่าของการใช้บริการจากบริษัทโฆษณารายแรกคือ ห้างนายเลิศ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีสินค้า หลายประเภท ดังนั้นกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินยังได้ทรงถ่ายทำภาพยนตร์สารคดี เกี่ยวกับอุตสาหกรรมของประเทศไทย เช่น โรงงานสบู่ของบริษัท สยาม อินดัสตรี จำกัด ผู้ผลิตสบู่ซันไลต์ เป็นต้น ฉะนั้น การเกิดของ บริษัท สยามแอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด ย่อมแสดงให้เห็นว่า การโฆษณาในสมัยนั้นเจริญรุ่งเรือง จนกระทั่งมีผู้คิดทำธุรกิจเกี่ยวกับการโฆษณาขึ้น ในรูปของบริษัทการค้า ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของธุรกิจโฆษณาในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น โดยเปลี่ยนจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายสินค้าติดต่อโดยตรง กับเจ้าของสื่อโฆษณา มาเป็นตัวกลางรับจัดทำโฆษณา และติดต่อสื่อสารต่างๆให้ ซึ่งเป็นลักษณะของธุรกิจการ โฆษณาในปัจจุบัน การที่กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินทรงเป็นผู้บุกเบิก และนำเอากิจการโฆษณาแบบตะวันตก เข้ามาใช้ในกิจการหลายแห่ง และ บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายเป็นอย่างดี หลักการปฏิบัติก็ยังคงทันสมัยอยู่เสมอ จึงทำให้พระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่าทรงเป็น พระบิดาแห่งวงการโฆษณาไทย (ไพศาล กาญจนวงศ์ 2556)

ฉะนั้นบทบาทสำคัญของการโฆษณาการโฆษณา จึงมีหน้าที่สำคัญเพื่อติดต่อสื่อสารไปยังลูกค้า  ด้วยเหตุที่การแข่งขันทางด้านธุรกิจในปัจจุบันมีความรุนแรง   บทบาทของการโฆษณาจึงทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น  ซึ่งจะเห็นได้ว่าบริษัทใหญ่ ๆ ได้ทุ่มงบประมาณมหาศาลเพื่อการโฆษณาโดยเฉพาะ  ทำให้ทุกหนทุกแห่งเต็มไปด้วยการโฆษณาในรูปแบบต่าง ๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป  การโฆษณาจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนเราอย่างแยกไม่ออก การประกอบธุรกิจทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การขายหรือการให้บริการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้บริโภค ย่อมต้องอาศัยสื่อมวลชน เพื่อบอกกล่าว ให้ความรู้หรือจูงใจให้ผู้บริโภคสนใจและเกิดความพอใจในสินค้าหรือบริการการโฆษณา (Advertising) เป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสารไปยังผู้บริโภคโดยอาศัยเหตุผลหรือคุณสมบัติต่างๆ ของสินค้าหรือบริการมาใช้ในการจูงใจ ด้วยจุดมุ่งหมายที่ช่วยให้การจำหน่ายสินค้าหรือบริการผ่านมือจากผู้ผลิต ผู้จำหน่ายไปยังผู้บริโภคโดยเร็วที่สุด (ศิริวรรณ เสรีรัตน์, 2538: 4)(ไพศาล กาญจนวงศ์ 2556)

ความหมายของการโฆษณา (Advertising) เป็นสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการโฆษณาเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญทางการตลาด เป็นกระบวนการทางด้านสื่อมวลชนที่เกิดขึ้นเพื่อจูงใจให้มีความต้องการในการซื้อสินค้าหรือบริการ (ธวัลวรัตน์  อินทนนชัย 2552)  หรือ หรือสมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (the American marketing association หรือ AMA) ให้คำจำกัดความโฆษณาว่า “การโฆษณาคือรูปแบบของการเสนอใดๆ ซึ่งต้องชำระเงินและผ่านสื่อที่มิใช้ตัวบุคคลการเสนอนี้เป็นการส่งเสริม และเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการต่าง ๆ โดยมีผู้อุปถัมภ์ที่ระบุไว้” (แน่งน้อย บุญยเนตร, 2539 : 7) หรือ เสรีวงษ์มณฑา (2535 : 6) ได้ให้คำจำกัดความหมายของ “โฆษณา” ไว้ว่าการโฆษณาเป็นกิจกรรมสื่อสารมวลชนที่เกิดขึ้น เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมอันเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของธุรกิจ การขายสินค้าหรือบริการโดยอาศัยจากเหตุผลซึ่งมีทั้งกลยุทธ์จริงและผลสมมุติผ่านสื่อโฆษณา (ศิริพรรณวดี รุ่งวุฒิขจร (2541 : 13) ให้ความหมายของการโฆษณาว่าเป็นการสื่อสารผ่านสื่อโฆษณาเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการโดยต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับสื่อและระบุตัวผู้โฆษณาด้วย (อนุพงษ์ พูลพร 2552)

2. องค์ประกอบของการโฆษณา

องค์ประกอบของการโฆษณาเป็นการสร้างสรรค์งานโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต หรือประเภทอื่นๆ จะมีองค์ประกอบที่ประกอบด้วยภาพ (Picture) ข้อความ (Words) และเสียง (Sound) เพื่อให้งานโฆษณามีความน่าสนใจและดึงดูดใจผู้บริโภค ( กัลป์ยกร วรกุลลัฎฐานีย์ และพรทิพย์ สัมปัตตะวนิช , 2551 : 169) ได้อธิบายองค์ประกอบของภาพ ข้อความและสีของภาพไว้ดังนี้1) ภาพ การสร้างสรรค์ด้านภาพสำหรับการโฆษณามีความแตกต่างกันระหว่างการสร้างสรรค์ภาพทางสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อโทรทัศน์ โดยที่สื่อสิ่งพิมพ์ จะเป็นภาพที่ทำขึ้นจากคอมพิวเตอร์หรือภาพวาดด้วยมือก็ได้ ในขณะที่โทรทัศน์อาจเป็นภาพเคลื่อนไหวสมจริง (Life Action) หรือเป็นภาพอนิเมชั่น (Animation) ที่สร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์หรือวาดขึ้นได้เช่นกัน 2) ตัวอักษร การออกแบบลักษณะตัวอักษร ลักษณะตัวอักษรที่ต้องการก็สามารถแสดงถึงอารมณ์ที่ต่างกันได้เช่น ตื่นเต้น เป็นต้น การออกแบบลักษณะตัวอักษรนั้นต้องให้สอดคล้องกับองค์ประกอบของภาพโฆษณา รวมทั้งต้องผสมผสานกับบุคลิกของตราสินค้าด้วยเช่น รถกระบะนิสสัน 4WD ตัวอักษรที่ใช้เข็มแข็ง ท้าทาย เป็นต้น 3) สีของภาพ สีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างสรรค์ ควรจะแสดงเอกลักษณ์ของตราสินค้านั้นๆ เช่น โฆษณาโค้ก จะมีโทนสีของภาพเป็นสีแดง ในขณะที่เป๊ปซี่จะมีโทนสีของภาพเป็นสีฟ้าเป็นต้น และยังมีความเกี่ยวของกันทางด้านโฆษณาดังนี้คือ

         1.ผู้โฆษณา (Advertiser) คือ เจ้าของผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ มีประสงค์ที่จะทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ โดยยินยอมที่จะรับผิดชอบ กับค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์    ผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการทั้งหมด(ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)

         2.บริษัทตัวแทนโฆษณา (Advertising Agency) เป็นด้านองค์กรหรือบริษัทที่ได้รับการว่าจ้างจากผู้โฆษณาประชาสัมพันธ์ ทางด้านผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ ได้ให้ทำการออกแบบ  และผลิตโฆษณาต่างๆ(ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)

         3.สื่อโฆษณา (advertising media) เป็นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการไปยังกลุ่มผู้บริโภคหรือลูกค้าเป้าหมาย เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ (ฐิติรัตน์ แก้วผนึกรังษี 2556)(ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)

         4.ผู้บริโภค (consumer)  เป็นผู้ที่ยินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ  ต่างๆซึ่งเลือกจากความต้องการและความพึงพอใจของผู้บริโภคหรือลูกค้า โดยอาศัยทางด้านการรับรู้ข่าวสารสินค้าผ่านสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ในตัวผลิตภัณฑ์สินค้า หรือบริการในการช่วยตัดสินใจอีกทางหนึ่ง(ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)

ประเภทการโฆษณา

การแบ่งการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ ทำให้เข้าใจแนวทางปฏิบัติหรือกลยุทธ์ในการโฆษณาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และเป็นการแบ่งการโฆษณา สามารถแบ่งได้หลายแบบตามแนวทางการนำเสนอของนักวิชาการหลายๆ ท่าน เช่น การแบ่งตามหน้าที่ แบ่งตามกลุ่มเป้าหมาย แบ่งตามสื่อโฆษณา แบ่งตามจุดมุ่งหมายและตามเขตภูมิศาสตร์ แต่ยังคงสาระที่ใกล้เคียงกัน ประเภทการโฆษณาตามแนวทางของ (วิไลลักษณ์ ซ่อนกลิ่น และศิริชัยสุวรรณประภา (2551 : 70-76) ทั้งนี้เพราะมีความชัดเจน และเข้าใจงานการโฆษณาได้ในขั้นพื้นฐานดังนี้   

         1.การโฆษณาแบ่งตามกลุ่มเป้าหมาย การโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สินค้าและริการประเภทนี้จะเน้นกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดที่จะซื้อผลิตภัณฑ์สินค้า หรือบริการของผู้โฆษณาที่เป็นองค์กรธุรกิจทั้งหลาย ทั้งนี้เพื่อสร้างความดึงดูดใจให้ลูกค้าเป้าหมาย ให้ลูกค้าหรือผู้บริโภคเกิดความสนใจที่จะดูผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ และซื้อสินค้า โดยผ่านสื่อโฆษณาต่างๆ(ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552) 4 ประเภท ดังนี้ (1) การโฆษณามุ่งสู่ผู้บริโภค (consumer advertising) เป็นการโฆษณาผ่านสื่อมวลชนต่างๆ ในการนำข่าวสารไปสู่ผู้บริโภค คือ สื่อทางโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต และสื่อโฆษณาอื่นๆ (2) การโฆษณามุ่งอุตสาหกรรม (industrial advertising) การโฆษณาประเภทนี้ มีจุดประสงค์ให้กลุ่มลูกค้าได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารทางอุตสาหกรรมเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการทางอุตสาหกรรมต่างๆ (3) การโฆษณามุ่งการค้า (trade advertising) การโฆษณาประเภทนี้จะถูกนำมาใช้ในเรื่องของการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย และบริการของบริษัทที่ทำการโฆษณา ทั้งนี้เพื่อให้มีการเพิ่มการขายมากขึ้น 4) การโฆษณามุ่งงานอาชีพ (professional advertising) เป็นการโฆษณาที่ผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายโฆษณาให้แก่บุคคลผู้มีอาชีพต่างๆ ได้ซื้อสินค้าไว้ในการประกอบอาชีพการงาน รวมทั้งแนะนำให้ลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ซื้อสินค้าไว้ (ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)

          2.การโฆษณาแบ่งตามสื่อโฆษณา เป็นการนำสื่อโฆษณามาใช้เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสาร จากผู้ผลิตสินค้าไปสู่กลุ่มผู้บริโภค หรือกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด ซึ่งสามารถแบ่งได้ 9 ประเภทได้แก่(1) การโฆษณาทางโทรทัศน์ (2) การโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ (3) การโฆษณาทางวิทยุ ได้แก่ คลื่นต่างๆ(4) การโฆษณาทางนิตยสาร(5) การโฆษณาทางยวดยานพาหนะ(6) การโฆษณาทางไปรษณีย์7) การโฆษณากลางแจ้ง(8) การโฆษณาทางอินเตอร์เน็ต(9) การโฆษณาทางภาพยนตร์ก่อนฉาย(ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)

           3.การโฆษณาที่แบ่งตามจุดมุ่งหมาย โดยจะมีการแบ่งตามลักษณะการนำไปใช้งาน หรือจุดมุ่งหมายทางการตลาด รวมทั้งการโฆษณาระหว่างบริษัทผู้ขายสินค้าหรือบริการไปยังกลุ่มเป้าหมาย 5 ประเภทได้แก่ (1) การโฆษณาผลิตภัณฑ์ (2) การโฆษณาตรา  ยี่ห้อของสินค้า (3) การโฆษณาสถาบัน (4) การโฆษณาเพื่อแก้ไขความผิดพลาด (5) การโฆษณาแยกประเภท เป็นการโฆษณาเกี่ยวกับเหตุการณ์ ประกาศรับสมัครงาน ขายลดรารา หรือบริการต่างๆ ตามหน้าของการโฆษณา          

           

            4.การโฆษณาแบ่งตามภูมิศาสตร์ การโฆษณาโดยแบ่งตามเขตภูมิศาสตร์ สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทได้แก่ (1) การโฆษณาระดับชาติ เป็นการโฆษณาที่จัดทำโดยผู้ผลิตสินค้า ที่มีสินค้าจำหน่ายอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ เพื่อโฆษณากระจายข่าวสารผ่านทางสื่อโฆษณาระดับชาติต่างๆ ได้แก่ สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม หนังสือพิมพ์และนิตยสารเพื่อให้ผู้บริโภคได้ทราบถึงตราของสินค้า เครื่องหมายการค้า คุณภาพของสินค้า เป็นหลักสำคัญ (2) การโฆษณาระหว่างประเทศ เป็นการโฆษณาที่จัดทำขึ้นมาเพื่อต้องการที่จะโฆษณาไปในตลาดทั่วโลก ที่มีลักษณะความต้องการซื้อสินค้าและบริการเหมือนกัน ชิ้นงานโฆษณาจะเป็นรูปแบบเดียวกันทุกตลาดทั่วโลก (3) การโฆษณาระดับท้องถิ่น ในบางครั้งเรียกว่า การโฆษณาร้านค้าปลีก (local or retail advertising) เป็นการโฆษณาสำหรับร้านค้าปลีก หรือร้านค้าย่อยต่างๆ ในท้องถิ่นนั้นๆ (ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)

การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคเป็นการคนคว้า หรือวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อและการบริโภค ทั้งที่เป็นบุคคลกลุ่มบุคคล หรือองค์กร เพื่อให้ทราบถึงลักษณะความต้องการและพฤติกรรมการซื้อการบริโภคการเลือกบริการแนวคิด (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554) หรือประสบการณ์ที่จะทําให้ผู้บริโภคพึงพอใจ หรือ (ปณิศาลัญ  ชานนท์, 2548) หรือเป็นการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค ด้วยการศึกษาค้นคว้าถึงพฤติกรรมการเลือกซื้อ การตัดสินใจซื้อ และการใช้สินค้าและการบริการของผู้บริโภค เพื่อที่จะให้นักการตลาดทราบถึงความพึงพอใจและความต้องการของผู้บริโภค (กมลรัตน์ สัตยาพิมล, 2552 ; นฤมล อดิเรกโชติกุล, 2548) โดยสามารถช์7 คําถาม (6Ws 1H) ที่จะช่วยในการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อค้นหา 7 คําตอบ (7Os)  (ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)

         1.ใครอยู่ในตลาดเป้าหมาย (Who is in the target market?) เป็นคําถามที่ต้องการทราบตลาดเป้าหมาย (target market) หรือลักษณะกลุ่มเป้าหมาย (occupants) โดยมีกลุ่มเป้าหมายทางด้าน (1) ประชากรศาสตร์(2) ภูมิศาสตร์(3) จิตวิทยาหรือจิตวิเคราะห์(4) พฤติกรรมศาสตร์กลยุทธ์การตลาด (4Ps) ประกอบด้วยกลยุทธ์ด้าน ผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย และ การส่งเสริมการตลาด ที่เหมาะสมและการตอบสนองความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554)  (ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)

         2.ผู้บริโภคซื้ออะไร (What does the consumer buy?) เป็นคําถามที่ต้องการทราบสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ (objects) โดยสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการคือ คุณสมบัติหรือองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ (product component) และความแตกต่างที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน (competitive Differentiation) โดยมีกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product strategy) ทางด้าน (1) ผลิตภัณฑ์หลัก  (2) รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ (3) ผลิตภัณฑ์ควบ   (4) ผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง (5) ศักยภาพผลิตภัณฑ์ และ(6) ความแตกต่างทางการแข่งขัน (Competitive differentiation) (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554) (ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)

         3.ทําไมผู้บริโภคจึงซื้อ (Why does the consumer buy?) เป็นคําถามที่ต้องการทราบวัตถุประสงค์ในการซื้อ (objectives) โดยต้องทําการศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อคือ (1) ปัจจัยทางจิตวิทยา (2) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจน (3) ปัจจัยเฉพาะบุคคล เพราะผู้บริโภคซื้อสินค้าเพื่อสนองความต้องการด้านร่างกาย และจิตวิทยา ซึ่งต้องศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554)(ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)

         4.ใครมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ (Who participates in the buying?) เป็นคําถามที่ต้องการทราบบทบาทของกลุ่มต่างๆ (organizations) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริหารโดยมีองค์ประกอบในการตัดสินใจซื้อคือ (1) ผู้ริเริ่ม (2) ผู้มีอิทธิผล (3) ผู้ตัดสินใจซื้อและ (4) ผู้ใช้ (ปรัชญา ปิยะรังสี 2554)(ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)

         5.ผู้บริโภคซื้อเมื่อใด (When does the consumer buy?) เป็นคําถามที่ต้องการทราบโอกาสในการซื้อ (occasions) ของผู้บริโภค เช่น ช่วงฤดูกาลใด ช่วงเดือนใด ตลอดจนเทศกาลหรือ โอกาสพิเศษหรือเทศกาลวันสำคัญต่างๆ เป็นต้น(ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)

         6.ผู้บริโภคซื้อที่ไหน (Where does the consumer buy?) เป็นคําถามที่ต้องการทราบช่องทางหรือแหล่ง (outlets) ที่ผู้บริโภคไปทําการซื้อ เช่น ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ตตลอดจนรานขายของชํา เป็นต้น (ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)

        7.ผู้บริโภคซื้ออย่างไร (How does the consumer buy?) เป็นคําถามที่ต้องการทราบขั้นตอนหรือกระบวนการในการตัดสินใจเลือกซื้อ (operation)โดยมีองค์ประกอบการซื้อโดย (1) การรับรู้ปัญหา  (2) การค้นหาข้อมูล  (3) การประเมินผลทางเลือก (4) การตัดสินใจซื้อ (5) ความรู้สึกภายหลังการซื้อ(ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย 2552)

3.ตัวชี้วัดของการโฆษณา

ตัวชี้วัดและประเมินผลของการโฆษณา  ( วิไลลักษณ์ ซ่อนกลิ่น และศิริชัยสุวรรณประภา 2551 : 234-236) กล่าวถึงความสำคัญของการติดตามและประเมิน ผลการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้า และบริการว่า เป็นการตรวจสอบเพื่อให้ได้คำตอบว่า การโฆษณาที่ได้ดำเนินการไปแล้วมีปัญหา มีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร เป็นไปตามกำหนดเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่ รวมทั้งติดตามว่ามีผู้รับสารเป็นไปตามที่องค์กรหรือบริษัทคาดหวังหรือไม่ วิธีการติดตามและประเมินผลทางการโฆษณาดังกล่าวหรือไม่ เรียกว่า Monitoring Audience Research เพื่อให้การโฆษณานั้นได้ส่งผลไปสู่ความสำเร็จที่ดีในการขายผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ

           

            ความจำเป็นที่ต้องวัดประสิทธิผลของการโฆษณา  การวัดประสิทธิผลของการโฆษณาเป็นเหตุผลที่มีความจำเป็นต่อผู้บริหารงานโฆษณา และการตลาดของบริษัทต่างๆ การวัดผลประสิทธิผลจะต้องพิจารณาประเด็นสำคัญ 3 ประเด็นคือ(1) เป็นหลีกเลี่ยงความผิดพลาดด้านต้นทุน (Avoiding costly mistakes) เป็นการวัดประสิทธิผลของการโฆษณาว่าคุ้มค่า และบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ รวมทั้งทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้น หรืออุปสรรคที่จะแก้ปัญหานั้นไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป(2) เป็นการประเมินทางเลือกจากกลยุทธ์ (Evaluating alternative strategies) เป็นการเลือกว่าควรใช้สื่อใดที่มีประสิทธิผล โดยการประเมินเปรียบเทียบระหว่างกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด หลายอย่างที่ต้องเลือกและตัดสินใจ (3) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการโฆษณา (increasing the efficiency of advertising in general) เป็นการให้ข่าวสารที่ผู้รับข่าวสารเข้าใจง่ายซึ่งข้อมูลข่าวสารไม่ยุ่งยากซับซ้อน เป็นการติดต่อสื่อสารที่เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์ของการประเมินผลการโฆษณา

การประเมินประสิทธิภาพ การโฆษณา (Efficiency evaluation) เป็นการค้นหาแนวทางหรือวิธีการที่ดีสำหรับการนำเครื่องมือมาประยุกต์ใช้ ในการวัดประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผลของการโฆษณาอย่างต่อเนื่องเพื่อได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อองค์กรหรือบริษัท  เพื่อประสบสำเร็จทางการตลาดทางด้านการเพิ่มยอดขายและผลกำไรตามเป้าหมายขององค์กรหรือบริษัทที่กำหนดไว้ โดยจะต้องพิจารณาประเด็นสำคัญ 3 ประการคือ (1) สื่อโฆษณานั้นสามารถเข้าถึงผู้รับสารเป้าหมายมีประสิทธิภาพเพียงใด (2) ผู้รับสารเป้าหมายได้รับสื่อโฆษณานั้นด้วยความถี่เท่าใดที่มีประสิทธิภาพ (3) การประเมินเปรียบเทียบระหว่างการเข้าถึงกลุ่มผู้รับสารกับการใช้เงินคุ้มค่าเพียงใด

การประเมินผลประสิทธิผลการโฆษณา (Effective evaluation) เป็นการประเมินผลในด้านการบรรลุผลสำเร็จ (achievement) หรือผลที่ได้จากการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้า หรือบริการนั้นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่องค์กร หรือบริษัทกำหนดไว้ หรือไม่ซึ่งขั้นตอนในการประเมินผลการโฆษณาสามารถทำได้ 3 ขั้นตอนคือ (1) ก่อนการโฆษณา (2) ระหว่างการโฆษณา และ (3) หลังการโฆษณา

           

            วิธีการประเมินผลการโฆษณา เป็นการประเมินผลการโฆษณาทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการวัด มีวิธีการต่างๆ ดังนี้ (1) การประเมินผลการโฆษณาด้วยคูปอง เหมาะสำหรับสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร แผ่นพับ ใบลิว ฯลฯ โดยการพิมพ์คูปองไปกับสื่อเหล่านั้นให้ผู้สนใจกรอกข้อความ ส่งกลับมาทางผู้ที่ต้องการวัดผล (2) การประเมินผลจากยอดขาย เหมาะสำหรับการประเมินผลการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการโดยวิธีง่ายๆ คือเป็นการสังเกตหรือบันทึกสถิติยอดขายก่อนการโฆษณา และเปรียบเทียบจากยอดขายหลังจากที่ได้โฆษณาไปแล้วระยะหนึ่ง (3) การประเมินผลโดยการส่งชิ้นส่วนมาจับฉลากชิงรางวัล เป็นวิธีที่นิยมใช้กันบ่อยๆ ในการวัดผลโฆษณา และเป็นการส่งเสริมการขายหรือนำมาใช้สิทธิเป็นส่วนลด หรือแลกซื้อสินค้าชนิดอื่นๆ (4) การประเมินผลของการโฆษณาประชาสัมพันธ์   โดยใช้แบบสอบถาม เป็นวิธีการออกแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของการโฆษณาโดยนักวิจัยโฆษณาจะวัดผลสื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ โดยมีการจัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีต่างๆ เช่น พนักงานสัมภาษณ์ สอบถามทางไปรษณีย์ สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

เอกสารอ้างอิง

ฐิติรัตน์ แก้วผนึกรังษี (2556). การโฆษณาผ่านสื่อ Super Mart TV ของร้าน 7-Eleven ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค ในกรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยรามคำแหง่

ปนัดดา ตันสุวรรณรัตน์ (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างจุดดึงดูดใจทางโฆษณา (จุดดึงดูดใจด้านความกลัว จุดดึงดูดใจด้านอารมณขัน และจุดดึงดูดใจทางเพศ) กับบุคลิกภาพตราสินค้าในภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปิยะพล หรูรักวิทย์ (2551). การโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์กลางแจ้งต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร เอสแอนด์ พี, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ผดุงศักดิ์ ตั้งติระโสภณ (2552). ความพึงพอใจภาพยนต์โฆษณารณรงค์การดื่มนมของคู่สมรสใหม่, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิรดา สุริโย (2553). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาแฝง : ศึกษากรณีสินค้าประเภทให้โทษ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิรัช  ลภิรัตนกุล.ประวัติและวิวัฒนาการของการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์.ในการบริหารงานโฆษณา. เล่ม1. หน้า 53 – 67. พิมพ์ครั้งที่ 10.

นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2537.

ธนัญญา เชรษฐา. วิวัฒนาการและแนวคิดเกี่ยวกับการโฆษณา. ใน การบริหารงานโฆษณา. เล่ม 1. หน้า 1 – 50. พิมพ์ครั้งที่ 3.

นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2535.

ธวัลวรัตน์  อินทนนชัย (2552). การโฆษณาเครื่องดมชูกําลังและการบริโภคมายาคติของผู้ขับรถรับจ้างสี่ล้อในจังหวัดเชียงใหม. ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การสื่อสารการศึกษา.

ธวัลวรัตน์  อินทนนชัย (2552). การโฆษณาเครื่องดมชูกําลังและการบริโภคมายาคติของผู้ขับรถรับจ้างสี่ล้อในจังหวัดเชียงใหม. ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การสื่อสารการศึกษา.

ธวัลวรัตน์ อินทนันชัย (2552). การโฆษณาเครื่องดื่มชูกำลังและการบริโภคมายาคติของผู้ขับรถรับจ้างสี่ล้อในจังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ศิลปศาตร์มหาบัณฑิต การสื่อสารการศึกษา.

ไพศาล กาญจนวงศ์ (2556). คณะพัฒนาการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พัฒนาการท่องเที่ยว.

อนุพงษ์ พูลพร (2552). การเปิดรับสื่อและทัศนคติต่อการโฆษณาและการรณรงค์การเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลทางโทรทัศนของประชาชน ในเขตอำเภอเวียงป่าเป้าจังหวัดเชียงราย. บัณฑิตวิทยาลัย. จังหวัดเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต.

เอนก นาวิกมูล. โฆษณาไทย. กรุงเทพมหานคร : โนรา, 2543.

Britt, S.H.Advertising. In The Encyclopedia Americana International edition.(Vol.1, pp.195 – 206).           Danbury, CT : Grolier, 1995.

O’ Guinn, T.C , Allen, C.T. and Semenik, R.J. Advertising.Cincinnati,OH :South–Western College, 1998.

O’ Toole, J.E . Advertising. In Compton’s Encyclopedia & Fact – Index. (Vol.1, pp. 54 – 60).

Chicago : Compton’s Learning. 1994.

Russell, J.T. and Lane, W.R. Kleppner’s Advertising Procedure. 12th rev. ed.

Englewood Clifts, NJ : Prentice – Hall, 1993.

บทที่ 7 การส่งเสริมการขาย (Sale Promotion) โดย ชีวรรณ เจริญสุข , Cheewan Charoensook ,Students Doctor of Business Administration (DBA) ส่ง ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น

1.ประวัติและความเป็นมาของการส่งเสริมการตลาด

การส่งเสริมการตลาด(Promotion) เป็นส่วนประสมทางการตลาด (Marketing  mix)  ตัวหนึ่งขององค์กรหรือบริษัทกิจการที่นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์  ราคาและการจำหน่ายที่ใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารทางการตลาด (Marketing  Communication)  เพื่อผู้มุ่งหวัง (Prospect)  ทั้งในตลาดอุตสาหกรรมและตลาดผู้บริโภค  เพื่อแจ้งข่าวสาร  (Inform)  จูงใจ (Persuade)  และเตือนความทรงจำ  (Remind)  ของลูกค้าเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือหรือเพื่อสร้างเจตคติ  การรับรู้  การเรียนรู้  ในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการเป็นการสร้างภาพลักษณ์ (Image)  ที่ดีแก่องค์กรหรือบริษัท กิจการร้านค้าทั่วไป หากธุรกิจใดมีการวางแผนทางด้านการส่งเสริมการโดยมีตัวผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ มีการกำหนดราคาอย่างเหมาะสม  โดยมีการวางแผนการจัดจำหน่ายที่ดีและสามารถทำได้อย่างทั่วถึง  ผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการอาจจะขายได้ในระดับหนึ่ง  แต่ถ้าหากต้องการให้การดำเนินการด้านการตลาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลอย่างเห็นผลรวดเร็ว บริษัทก็ควรใช้เครื่องมือในการส่งเสริมการตลาดควบคู่กันไปด้วย  โดยเฉพาะในกรณีต่อไปนี้

  1. เมื่อกิจการอยู่ในสภาวะการแข่งขัน  เพื่อเพิ่มเงินสดหมุนเวียน  และลดปริมาณสินค้าคงคลังตลอดจนสินค้าที่ล้าสมัย
  2. การติดต่อสื่อสารไปยังผู้มุ่งหวังไม่สะดวกและไม่เพียงพอ เพราะจำนวนผู้มุ่งหวังมีมาก  จำเป็นต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารโดยผ่านคนกลาง
  3. ระยะทางระหว่างผู้ผลิตและมุ่งหวังอยู่ห่างไกลกัน  ต้องอาศัยสื่อประเภทต่าง  ๆ ที่มีประสิทธิภาพ
  4. กิจการต้องการสนับสนุนเจตคติเดิมที่ดี   หรือเปลี่ยนแปลงเจตคติและพฤติกรรมการซื้อของตลาดเป้าหมายที่อาจนำไปสู่พฤติกรรมที่ต้องการ

 

            ความหมายของการส่งเสริมการขาย ( Sale Promotion) หมายถึง กิจกรรมการส่งเสริมการตลาดที่นอกเหนือไปจากการโฆษณา การตลาดทางตรง การขายโดยใช้พนักงานขาย และการประชาสัมพันธ์ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราวเพื่อกระตุ้นผู้บริโภคหรือลูกค้าให้เกิดความสนใจผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการขององค์กรหรือบริษัทเพื่อเป็นการทดลองใช้ หรือการซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการของผู้บริโภคหรือลูกค้าขั้นสุดท้าย บุคคลในช่องทางการตลาด หรือพนักงานขายของกิจการ การส่งเสริมการขายไม่สามารถใช้เพียงเครื่องมือเพียงอย่างเดียว โดยทั่วไปองค์กรหริบริษัทมักจะใช้เครื่องมือการส่งเสริมการตลาด ร่วมกับการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การตลาดทางตรง หรือการขายโดยใช้พนักงานขาย เช่นโฆษณาให้รู้ว่ามีการลด แลก แจก แถม หรือ ส่งพนักงานขายไปแจกผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการตัวอย่างตามบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย เป็นต้น

ดังนั้นการส่งเสริมการขายจึงเป็นกิจกรรมต่างๆทางการตลาดในการส่งเสริมการขาย ที่นอกเหนือจากการโฆษณา การประชาสัมพันธ์และการขายโดยพนักงานขาย โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อให้ผู้บริโภคหรือลูกค้า เกิดการซื้อผลิตภัณฑ์หรือสินค้าบริการเพิ่ม เพื่อให้ยอดขายขององค์กรหรือบริษัทเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงผลกำไร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ของคนกลางในการจัดจำหน่าย โดยการจัดและตกแต่งร้าน การแสดงสินค้า การสาธิตการใช้งาน และความพยายามทางการตลาดอื่นๆ ที่ไม่ใช่งานด้านการขายที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำเป็นกลุ่มของเครื่องมือทางการตลาด ที่มีการส่งข้อมูลไปยังผู้รับหรือผู้นบริโภคดังนี้โดยอาศัยเครื่องมือทางด้านการตลาดดังนี้ price, place, promotion, produc

         

2.องค์ประกอบของการส่งเสริมการตลาด

ส่วนประสมการส่งเสริมการตลาด (Promotion Mix) เป็นเครื่องมือการติดต่อสื่อสารทางการตลาด  เพื่อแจ้งข่าวสาร  จูงใจ  สร้างเจตคติและพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคหรือลูกค้าทางการตลาด  ส่วนประสมการส่งเสริมการตลาดที่สำคัญ ๆ ประกอบด้วยเครื่องมือ  5  ประการ คือ การโฆษณา  การขายโดยใช้พนักงานขาย  การส่งเสริมการขาย  การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์  การตลาดทางตรง โดยมีรายละเอียด  ดังนี้

          1.การโฆษณา (Advertising)  เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ขายสินค้ากับผู้ซื้อสินค้า  โดยผ่านสื่อต่าง ๆ ได้แก่  สิ่งพิมพ์  วิทยุ   โทรทัศน์  ป้ายโฆษณา  การโฆษณาในโรงภาพยนตร์ ฯลฯ  บทบาทและความสำคัญของการโฆษณาจึงมีหน้าที่สำคัญเพื่อติดต่อสื่อสารไปยังลูกค้า  ด้วยเหตุที่การแข่งขันทางด้านธุรกิจในปัจจุบันมีความรุนแรง   บทบาทของการโฆษณาจึงทวีความสำคัญและรุนแรงมากยิ่งขึ้น(กาญจนรัตน์ รัตนสนธิ 2544)  หรือเป็นรูปแบบค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารโดยไม่ใช้บุคคล เพื่อนำเสนอ เกี่ยวกับความคิดในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ โดยมีผู้อุปถัมภ์ที่ระบุชื่อ

 

           2.การขายโดยใช้พนักงานขาย (Personal Selling) เป็นการติดต่อสื่อสารข้อมูลโดยใช้บุคคลเพื่อจูงใจให้ซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการบางสิ่งบางอย่าง โดยเป็นการเสนอขายโดยตรงแบบเผชิญหน้า หรือทางโทรศัพท์กับผู้บริโภคหรือลูกค้าและผู้มุ่งหวัง  โดยตัวแทนขายของบริษัท  (Etzel, Walker  and  Stanton. 1997 : G – 10)  หรือเป็นการขายโดยใช้พนักงานขายผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ  2  ทาง (Two  way  communication)  เพื่อตอบคำถามต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าเกิดความต้องการซื้อสินค้าที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยใช้เครื่องมือในการส่งเสริมการตลาดวิธีนี้ใช้ได้ดีกับระยะเวลาที่นำผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการเข้าสู่ตลาดใหม่ๆโดยมีการใช้ร่วมเครื่องมือทางการตลาดนี้ร่วมกับการส่งเสริมการตลาดอื่น ๆ (กาญจนรัตน์ รัตนสนธิ 2544)

 

           3.การส่งเสริมการขาย (Sales  Promotion)   หมายถึง เป็นการส่งเสริมการขาย    โดยการใช้เครื่องมือต่างๆ ในทางการตลาดด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเชิญชวนให้ซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ (kotler 1973 :645) โดยสามารถนำเครื่องมือที่ได้มากระตุ้นความ สนใจของผู้บริโภคหรือลูกค้าให้เกิดการอยากซื้อโดย การทดลองใช้หรือการซื้อผลิตภัณฑ์  หรือสินค้าและบริการ ของลูกค้าขั้นสุดท้ายหรือบุคคลอื่นในช่องทาง  การส่งเสริมการขายต้องใช้ร่วมกับการโฆษณาหรือการขายโดยพนักงานขาย(กาญจนรัตน์ รัตนสนธิ 2544) หรือเป็นกิจกรรมทางการตลาดที่สามารถกระตุ้นผู้บริโภคให้เกิดการซื้อขาย ผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการได้ทันทีทันใด โดยอาจจัดหาสิ่งจูงใจพิเศษ หรือคุณค่าพิเศษของผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ

 

         4.การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) หรือ PR หมายถึง เป็นการประชาสัมพันธ์  (Public  Relation)    ที่มีการติดต่อสื่อสารทางด้านการประชาสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อเจตคติที่ดีต่อบริษัทหรือองค์การกลุ่มต่างๆอาจเป็นผู้บริโภคหรือลูกค้า ผู้ถือหุ้น  พนักงาน  กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  และวัฒนธรรม  รัฐบาล  ประชาชนในท้องถิ่นหรือกลุ่มอื่น ๆ  ในสังคม (ศิริวรรณ  เสรีรัตน์, 2535 ; 192)หรือเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์การและชุมชนโดยใช้การให้ข่าวเป็นเทคนิคในการติดต่อสื่อสารที่สำคัญเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีสร้าสงความเข้าใจและการยอมรับจากผู้บริโภคหรือลูกค้าหรือชุมชน (กาญจนรัตน์ รัตนสนธิ 2544)

 

         5.การตลาดทางตรง (Direct Marketing) เป็นตลาดทางตรงซึ่งในระบบทางการตลาดแบบมีปฏิสัมพันธ์ที่ใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ตั้งแต่หนึ่งอย่างขึ้นไปเข้ามาช่วย  เพื่อก่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนอง  หรือการแลกเปลี่ยนที่สามารถวัดได้  ณ  สถานที่ใดที่หนึ่ง ปัจจุบันมีนักการตลาดให้ความสำคัญ กับเรื่องบทบาทกับการตลาดทางตรง อย่างกว้างขวางขึ้น  เป็นบทบาทในการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวกับผู้บริโภคหรือลูกค้า  เพิ่มมากขึ้น(กาญจนรัตน์ รัตนสนธิ 2544) หรือเป็นสื่อสารเฉพาะเจาะจง เพื่อการเข้าถึงตลาดเหล่านี้มากขึ้น เช่นสื่อจำพวกนิตยสาร ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อถ่ายทอดการโฆษณาละบทบรรณาธิการบริการลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ในขณะที่ความก้าวหน้าของสื่อโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ตออนไลน์เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก เพื่อนำไปสู่การเผยแพร่การกระจายช่องสัญญาณทีวีจำนวนมากมาย เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในอนาคตมากยิ่งขึ้น สื่อเหล่านี้ไม่เพียงแต่เข้าถึงส่วนตลาดแต่ยังเข้าถึงปัจเจกบุคคลหรือส่วนประกอบลูกค้าคนเดียวอีกด้วย (กาญจนรัตน์ รัตนสนธิ 2544)

         6.การติดต่อสื่อสารทางการตลาดแบบประสมประสาน  (Intergrated  Marketing  Communication : IMC) เป็นกระบวนการทางการตลาดของการพัฒนาแผนงานการสื่อสารการตลาดที่ต้องใช้การสื่อสารเพื่อการจูงใจหลายรูปแบบกับกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง IMC  เป็นวิธีการพื้นฐานในการสำรวจกระบวนการติดต่อสื่อสาร กับผู้รับข่าวสารที่เป็นเป้าหมาย  ทัศนะ  การวางแผน  IMC  คือ  เกณฑ์แนวความคิด  4  ประการ  (เสรี  วงษ์มณฑา. 2540 : 29)  IMC  จะรวมการติดต่อสื่อสารทุกรูปแบบที่เหมาะสมกับลูกค้า (IMC  coordinates  all  customer  communication) 2. IMC  จะเริ่มต้นที่ลูกค้าไม่ใช่ผลิตภัณฑ์  (IMC  starts  with  the  customer, not the  product)  3. IMC  พยายามค้นหาการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าให้เข้าถึงด้วยความถี่สูงสุดจากการที่รู้จักลูกค้าเป็นอย่างดีเหมือนคนคุ้นเคยกัน (IMC  seeks  to  create  one – on – one  communication  with  customers) 4. IMC  จะสร้างการติดต่อสื่อสารแบบ  2  ทางกับลูกค้า (IMC  creates  two – way  communication  with  customers)(กาญจนรัตน์ รัตนสนธิ 2544)

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดส่วนประสมการส่งเสริมการตลาด

            ลักษณะของตลาดเป้าหมาย (Nature of Target Market) ประเภทของลูกค้า(Type of Customer) การกระจายตัวตามขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของตลาด (Concentration and Geographic Scope of Marketing) ระดับความสนใจในการซื้อสินค้า (Readiness to Buy) 2. ลักษณะของผลิตภัณฑ์ (Nature of Product) ลักษณะความเฉพาะตัวของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อลูกค้า  (Degree of Customization) มูลค่าต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์  (Unit Value) และปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมการตลาด การตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้การส่งเสริมการขาย นักการตลาดจะต้องทำการตัดสินใจเกี่ยวกับด้านการส่งเสริมการตลาดต่างๆมีองค์ประกอบ 5 ด้านดังนี้คือ

          1.การกำหนดวัตถุประสงค์ของการส่งเสริมการขาย (Setting Sales-Promotion Objectives)เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการขาย 3 ส่วนคือ (1)การส่งเสริมการขายไปยังผู้บริโภคหรือผู้ซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ เพื่อสร้างการทดลองผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการใหม่ๆ ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อเปลี่ยนตรายี่ห้อมาใช้ผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการขององค์กรบริษัทหรือกิจการเรา กระตุ้นการตัดสินใจซื้อ หรือ เป็นการให้รางวัลแก่ผู้บริโภคหรือลูกค้าที่ซื่อสัตย์ (2) เป็นการส่งเสริมการขายไปยังร้านค้า คนกลางต่างๆ อาจมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการยอมรับผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการใหม่ๆไปขาย เพิ่มสินค้าคงคลังของคนกลาง หรือเพิ่มพื้นที่ในการจัดแสดงสินค้าของกิจการ และ (3)เป็นการส่งเสริมการขายไปยังพนักงานขายของกิจการ อาจมีวัตถุประสงค์ต่างๆเพื่อเพิ่มความเอาใจใส่ในผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการตัวใดตัวหนึ่งเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดการแข่งขัน การขายระหว่างพนักงานขายและ อาจใช้เป็นสิ่งจูงใจในการทำงานของพนักงานขาย

         2.การเลือกเครื่องมือในการส่งเสริมการขาย (Selecting Sales-Promotion Tools) จะเห็นได้ว่าการส่งเสริมการขายสามารถทำได้กับกลุ่มต่างๆ 3 กลุ่มได้แก่ ลูกค้า คนกลาง และ พนักงานขาย ดังนั้นในการส่งเสริมการขายไปยังกลุ่มผู้บริโภคหรือผู้ซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการต่างๆ         จึงมีการนำใช้เครื่องมือทางด้านการตลาดของการส่งเสริมการขายที่แตกต่างกันดังนี้ (1) การส่งเสริมการขายไปยังผู้บริโภคหรือลูกค้า มีเครื่องมือที่นักการตลาดนิยมนำมาใช้ได้แก่ การให้ตัวอย่างสินค้า (Sample) การใช้บัตรส่งเสริมการขายหรือคูปอง (Coupons) การเสนอคืนเงิน(Money Refund Offer) ข้อเสนอส่วนลด (Price Pack)สำหรับการซื้อสินค้าหลายๆอย่างร่วมกัน หรือสินค้าอย่างเดียวพร้อมกันหลายๆชิ้น ของแถม (Premium) การให้สะสมแสตมป์ไว้แลกสินค้า (Trading Stamp) การแข่งขัน(Contest) เช่น เล่นเกมส์เพื่อชิงรางวัลการส่งสลากชิงโชค(Sweepstake) (2) การส่งเสริมการขายไปยังคนกลาง เครื่องมือที่นักการตลาดนิยมนำมาใช้ได้แก่ การให้ส่วนลดพิเศษแก่ และ (3)คนกลาง(Buying Allowance)สินค้าให้เปล่า (Free goods) การโฆษณาร่วม (Cooperative Advertising) และการแข่งขันการขาย(Sales Contest)ระหว่างร้านค้าต่างๆ การส่งเสริมการขายไปยังพนักงานขาย เครื่องมือที่มักถูกนำมาใช้ทางด้านเงินรางวัล (Incentives) การแข่งขันระหว่าพนักงานขาย (Sales Contest) และการประชุมการขาย (Sales Meeting)

           3.การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมการขาย (Developing the Sales-Promotion Program) เป็นการพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมการขาย จะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องต่างๆได้แก่ ขนาดของรางวัลที่จะให้ (Size of the Incentive) เงื่อนไขของการรับรางวัล (Condition for Participation) วิธีการที่จะทำให้ทราบถึงการส่งเสริมการขายและการส่งมอบการส่งเสริมการขาย (How to Promote and Distribute the Promotion Program) ระยะเวลาของการส่งเสริมการขาย (The Length  of the Promotion) และงบประมาณของการส่งเสริมการขาย(Sales-Promotion Budget)

4.การทดสอบและการดำเนินงานตามแผน(Per-testing and Implementing) ขั้นตอนนี้เป็นการดำเนินงานตามแผนงานทางด้านการส่งเสริมการตลาด โดยการนำเครื่องมือการส่งเสริมการขายออกมาทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกจากผู้บริโภคหรือลูกค้าเป้าหมายก่อนนำออกใช้ นั้นมีวิธีการทดสอบที่ใช้หลายวิธีด้วยกันดังนี้คือ  เป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การทดสอบในห้องปฏิบัติการ การทดสอบภาคสนาม การทดสอบทางไปรษณีย์ การทดสอบตามบ้าน การทดสอบผ่านสื่อต่างๆ หลังจากมีการทดสอบโปรแกรมการส่งเสริมการขายแล้ว ว่าโปรแกรมนั้นๆเป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเป้าหมายจากผู้บริโภคหรือลูกค้าหรือไม่ จะมีการดำเนินการตามโปรแกรมการส่งเสริมการขายที่ได้กำหนดไว้ทันที

         5.การประเมินผลการส่งเสริมการขาย (Evaluating and  Implementing) การประเมินผลการส่งเสริมการขายเป็นขั้นตอนอีกขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะจะช่วยให้นักการตลาดหรือพนักงานขาย สามารถทราบได้ว่าการส่งเสริมการขายครั้งนั้นๆ   สามารถช่วยให้วัตถุประสงค์ที่ต้องการบรรลุผลหรือไม่อย่างไร  หากไม่จะได้มีการปรับปรุงแก้ไขในคราวต่อไป การประเมินผลที่นิยมใช้ได้แก่ การเปรียบเทียบยอดขาย ก่อนและหลัง ระหว่างการส่งเสริมการขาย   การวิจัยผู้บริโภคหรือลูกค้า (Consumer Research) เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวข้องกับการจำได้ ความคิด ความรู้สึกของผู้บริโภคหรือลูกค้าเป็นประการสำคัญ เกี่ยวกับโปรแกรมการส่งเสริมการขายและผลกระทบที่มีต่อการซื้อผลิตภัณฑ์สินค้า และบริการ  ในลักษณะของเป้าหมาย  ลักษณะของผลิตภัณฑ์เครื่องมือการส่งเสริมการขาย มีการ ลด แลก แจก แถม หรือการคืนเงินของบัตรเครดิต

 

3.การประยุกต์ใช้

ตัวชี้วัดทางด้านผลิตสินค้า หรือบริการเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนิน งานทางด้านการส่งเสริมการขายของร้านค้าในการนำเสนอ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความสนใจที่จะใช้หรือบริโภคผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าบริการที่เป็นสินค้าที่มีมูลสูง มีลักษณะเฉพาะตัว เครื่องมือทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์หรือสินค้าเพื่อส่งเสริมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์หรือสินค้า เพื่อส่งเสริมการตลาดโดยการคัดเลือกตรายี่ห้อสินค้า การออกแบบ บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการและคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก ตัวชี้วัดทางด้านราคา คือราคานั้นมีความสำคัญต่อรายได้ขององค์กรหรือบริษัทเป็นอย่างมาก ดังนั้นการกำหนดราคาสินค้าจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพิจารณาถึงปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในเรื่องของต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ และการรับประกันสินค้าเป็นหลัก โดยใช้หลัก การกำหนดราคาที่เป็นมาตรฐานเหมือนกันทุกที่ ต้นทุน การรับประกัน จรรยาบรรณของผู้ค้าช่องทางการจัดจำหน่ายโดยการเสาะแสวงหาลูกค้าที่คาดหวัง ดังนั้นการเสาะหาลูกค้าจึงเป็นหน้าที่ของพนักงานขายในการสังเกตลูกค้าที่เข้ามาเพื่อ วิเคราะห์ถึงความต้องการของลูกค้า การเข้าหาลูกค้า การนำเสนอการขาย และการติดตามหลังการขาย การส่งเสริมการตลาดขายผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ พบว่าเครื่องมือทางการตลาดทั้งหมด นั้น ได้แก่ทางด้านผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการขาย นั้นมีความสำคัญช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกัน ดังเช่น ด้านผลิตภัณฑ์ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญอันดับแรก ที่จะต้องคัดเลือกโดยดูถึงประโยชน์และคุณค่าของผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการในสายตาของลูกค้าหรือผู้บริโภค รวมไปถึงทางด้านต้นและ ด้านปริมาณยอดขายขององค์กรหรือบริษัท

ประโยชน์ของการส่งเสริมการขายเป็นสาระสำคัญ ในการจัดทำการส่งเสริมการขายนั้นก็เพื่อ เป็นการกระตุ้นยอดขายของกิจการ และ การแนะนำสินค้าสู่ลูกค้า ทั้งนี้ยังสืบเนื่องกับ ความพึงพอใจที่ดีของลูกค้าหรือผู้บริโภคสินค้าหรือบริการ ในการบริโภคหรืออุปโภคสินค้า เพื่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทางการตลาด เหนือคู่แข่ง เป็นไปได้องค์การหรือบริษัทผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ โดยผู้บริโภคจะต้องมีการเลือกสินค้าหรือบริการเพื่อบริโภคหรืออุปโภคสินค้านั้นๆอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการแนะนำสินค้าโดยอาศัย ช่องทางแบบปากต่อปากหรือเพื่อนสู่เพื่อนต่อไป และถ้าจะให้ผมสรุป “การส่งเสริมการขายคือการสนับสนุนการสร้างราคาสินค้าเฉพาะเจาะจง/การสร้างมูลค่าตราสินค้า การสร้างกลุ่มลูกค้าถาวร และการสร้างภาพพจน์ของกิจการ(พีรวัฒน์ สมบัติใหม่ 2554)

บรรณานุกรม

การส่งเสริมการขายทองรูปพรรณกิจการขนาดเล็กจังหวัดเชียงใหม่,.

นิภาพร บุญพิมพ์ประสิทธิ์ (2549),.ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาอาชีวศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กาญจนรัตน์ รัตนสนธิ (2544). การส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสำหรับเยาวชนไทย : กรณีศึกษา นักศึกษาระดับปริญญาตรี 4 ปี สถาบันราชภัฏเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย. จังหวัดเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต  อุตสหกรรมการท่องเที่ยว.

พีรวัฒน์ สมบัติใหม่ (2554). การออกแบบสื่ออินเตอร์เน็ตไดเร็กเมล์เพื่อการส่งเสริมการตลาดในธุรกิจร้านกาแฟขนาดย่อมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ บัณฑิตวิทยาลัย. จังหวัดเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ศิลปะและการออกแบบสื่อ.

 

บทที่ 8 การขายโดยพนักงานขาย (Sale Force) โดย ชีวรรณ เจริญสุข , Cheewan Charoensook ,Students Doctor of Business Administration (DBA) ส่ง ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น

1.ความหมาย (Sales Force)

การขายโดยบุคคล หรือพนักงานขาย เป็นการขายโดยอาศัยกระบวนการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลแบบตัวต่อตัว อันเป็นการสื่อสารที่มีลักษณะแตกต่าง จากการติดต่อสื่อสารแบบอื่นๆ ในแง่ที่ว่าข่าวสารจะไหลผ่านจากผู้ส่งข่าวคนหนึ่ง (หรือเป็นกลุ่มบุคคล) ไปยังผู้รับสารคนหนึ่ง (ชลิตา ตั้งสุภาพ 2555)   หรือเป็นการขายโดยพนักงานขาย คือกระบวนการขาย หรือวิธีการขายหรือกิจกรรมต่างๆ ที่จำทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการโดยมีวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้ลูกค้าซื้อสินค้า เช่นการจัดทำโปรโมชั่น เพื่อส่งเสริมการขายสินค้า เป็นการลดแลกแจกแถม หรือการจัดจำหน่ายสินค้าร่วมกัน เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจของลูกค้าให้ซื้อสินค้า ตลอดจนบุคลิกภาพของพนักงานขายประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถนำเสนอขายสินค้าและบริการแก่ลูกค้าได้   ภารกิจของพนักงานขายมีหน้าที่หลักการขายตามขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการขายจะแตกต่างกันออกไป แล้วแต่สินค้าและบริการ กลยุทธ์การตลาด นโยบายการตลาด ตลาด และสภาวะการณ์ต่างๆ เช่นพนักงานขายบางท่านมีหน้าที่ในการให้บริการ แต่ในบางสถานการณ์จะมีหน้าเกี่ยวข้องกับฝ่ายการเงิน รวมไปถึงในบางสถานการณ์พนักงานายก็มีหน้าที่บริหารสินค้า ที่มี่อยู่ของลูกค้าให้สามารถขายได้เพิ่มมาขึ้น  (จิณณพัตส์ โอสถานนท์ 2550) หรือ เป็นการจูงใจพนักงานขายก็เพื่อที่จะมุ่งหวังได้รับผลงานการขายที่ดี ขึ้นจากพนักงานขาย ผลงานขายที่ดีไม่ได้มาจากแรงจูงใจเพียงอย่างเดียว จะต้องมาจากความสามารถของพนักงานขาย และความรู้จักบทบาทหน้าที่ที่ต้องกระทำด้วย ความสามารถส่วนตัวของพนักงานขายนั้นขึ้นอยู่กับ ความสามารถในการคัดเลือกของผู้บริหารงานขาย และความรู้จักเข้าใจในการยอมรับในบทบาทหน้าที่ หมายถึงการปฏิบัติเพื่อที่จะนำไปสู่ความสำเร็จซึ่งจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการอบรมความสามารถส่วนตัว ของพนักงานขาย ประสบการณ์ ความชำนาญ และการสั่งสอนอบรมในระหว่างปฏิบัติงาน และการประเมินผลงานตลอดจนการแจ้งผลงานให้ทราบเพื่อนำไปปรับปรุงได้(วัลลภ เมฆทับ 2545)

2.องค์ประกอบ ของพนักงานขาย

           

            1.การแสวงหาลูกค้า และ การกำหนดคุณสมบัติของลูกค้า (Prospectiing and Qualifying ) เป็นการพิจารณา และกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นลูกค้า การกำหนดคุณสมบัติของลูกค้าใช้หลักเกณฑ์ในการแบ่งส่วนตลาด เพื่อแสดงหาลูกค้าโดยวิธีดังนี้ บอกต่อ การใช้ศูนย์อิทธิพล การเสาะหาลูกค้า การสังเกตส่วนบุคคล การใช้โทรศัพท์ การใช้จดหมาย การจดรายชื่อลูกค้าการจัดงานสังสรรค์จากเพื่อน และอื่นๆ(โอฬาร เชาว์เลิศโสภา 2546)  หรือ เป็นการพิจารณาและกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นลูกค้าโดยใช้หลักเกณฑ์ในการแบ่งส่วนตลาด (วัลลภ เมฆทับ 2545)

            2.การเตรียมการเข้าพบ (Pre Approach) เป็นการหาข้อมูลที่เกี่ยวกับลูกค้าผู้คาดหวังให้มากที่สุด และมีการวางแผนที่ดีที่สุดที่จะเข้าพบ โดยจะต้องมีการเตรียมการด้านต่างๆ ดังนี้  ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่จะเข้าพบ เตรียมวิธีการเข้าพบ พร้อมกับวิธีการเสนอขาย และเตรียมสินค้า และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเสนอขาย (โอฬาร เชาว์เลิศโสภา 2546) หรือ เป็นการศึกษาปัญหาข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าผู้ที่คาดหวังให้มากที่สุด และมีการวางแผนที่ดีที่สุดในการเข้าพบ และวิธีการเสนอขาย เตรียมสินค้าและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเสนอขายเป็นต้น(วัลลภ เมฆทับ 2545)

            3.การเข้าพบ (Approach) เป็นวิธีการที่จะให้พูดกับลูกค้า โดยการสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นในช่วงแรก วิธีการต่างๆ ที่ใช้ดังนี้ (1) เป็นการเข้าพบด้วยการแนะนำตนเอง (2) เป็นการเข้าพบด้วยการนำเสนอผลประโยชน์ที่ดีให้กับลูกค้าและ (3) วิธีการอื่น ๆ    (โอฬาร เชาว์เลิศโสภา 2546) หรือเป็นการที่จะติดต่อกับลูกค้าโดยการสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับลูกค้าในช่วงแรก วิธีการที่ใช้นี้เป็นการเข้าพบด้วยการแนะนำตนเอง โดยการเสนอผลประโยชน์ที่จะให้กับลูกค้านั่นเอง(วัลลภ เมฆทับ 2545)

            4.การเสนอขายและการสาธิต (Presentation and Demonstration) เป็นการอธิบายคุณสมบัติ และวิธีการทำงานของผลิตภัณฑ์เพื่อเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์ของบริษัทกับสถานการณ์ของ ผู้ซื้อโดยมีจุดมุ่งหมายคือ สร้างให้เกิดความพึงพอในบริษัท และผลิตภัณฑ์ของบริษัท พนักงานจะต้องจะต้องสร้างให้เกิดกระบวนการ (โอฬาร เชาว์เลิศโสภา 2546)  AIDAS คือ ความตั้งใจ(Attention)ความสนใจ(Interest)ความต้องการ(Desire)และการตัดสินใจซื้อ(Action) โดยพนักงานขายใช้หลัก 4Cs คือ (1)ความชัดเจน (Clearness)(2)ขาดความสมบูรณ์ (Completeness) (3)การทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่น (Confidence) และ (4) สามารถขจัดการแขงขัน (Competitive) หรือ เป็นการอธิบายคุณสมบัติและวิธีการทำงานของผลิตภัณฑ์เพื่อให้เชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท กับสถานการณ์ของผู้ซื้อโดยมีจุดมุ่งหมายให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ของบริษัทมากที่สุด(วัลลภ เมฆทับ 2545)

            5.การขจัดข้อโต้แย้ง (Handing Objection) เป็นการตอบข้อสงสัย หรือการไม่เห็นด้วยของลูกค้า การขจัดข้อโต้แย้งเหล่านี้ พนักงานขายต้องใช้เทคนิคเพื่อให้เข้าถึงผู้ซื้อในด้านบวก(โอฬาร เชาว์เลิศโสภา 2546) หรือเป็นตอบข้อสงสัยหรือการเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยของลูกค้า เป็นการขจัดข้อโต้แย้งเหล่านี้พนักงานขายต้องใช้เทคนิค เพื่อให้เข้าถึงผู้ซื้อหรือลูกค้าในด้านบวกมากที่สุด ในการพยายามทำให้ผู้ซ้อเข้าใจที่ชัดเจนและสามารถชี้แจงข้อโต้แย้งต่างๆ ของผู้ซื้อและพยายามเปลี่ยนแปลง ข้อคัดค้านให้ลูกค้าเกิดความเห็นด้วยกับเรา (วัลลภ เมฆทับ 2545)

           

            6.การปิดการขาย (Sales Closing) เป็นการพยายามปิดการขายของพนักงานขาย ซึ่งบางคนไม่สามารถปฏิบัติการในขั้นนี้ได้ เพราะขาดความเชื่อมั่นในตนเอง หรือขาดความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ และบริษัท หรือเกิดความอายต่อการตามให้ซื้อ หรือ ขาดความระมัดระวังในการหาจังหวะที่เหมาะสม ในการปิดการขาย พนักงานขายต้องฝึกวิธีการปิดการขาย เทคนิคในการปิดการขายในด้านต่างๆ(โอฬาร เชาว์เลิศโสภา 2546) หรือเป็นวิธีการถามลูกค้าแบบตรงๆ ว่าจะซื้อหรือไม่  เป็นการปิดการขายโดยที่พนักงานต้องย้ำถึงความสำคัญในการซื้อ โดยการรวบรัดให้ลูกค้าการเกิดการตัดสินใจซื้อ เพื่อให้พนักงานขายสินค้าเขียนคำสั่งซื้อโดยเร็ว วิธีการปิดการขายโดยทำให้ผู้ซื้อตกใจ โดยบอกว่าสินค้าจะหมดอาจจะใช้วิธีการขัดจูงเพื่อการปิดการขาย โดยการให้ของขวัญ การคิดราคาพิเศษ การให้สินค้าในปริมาณที่มากเป็นพิเศษ (วัลลภ เมฆทับ 2545)

            7.การติดตามผลและการักษาลูกค้า (Follow – Up and Maintenance) เป็นการบริการหลังการขาย สิ่งจำเป็นถ้าพนักงานขายต้องการให้ลูกค้าพอใจ และเกิดการซื้อซ้ำ หลังจากการปิดการขาย พนักงานขายต้องการพยายามให้รายละเอียด ที่จำเป็น ครบถ้วน และให้บริการในด้านต่างๆ ตามมาคือการติดตั้ง หรือซ่อมแซม การให้คำแนะนำในด้านทางเทคนิคต่างแก่ลูกค้า และเป็นการเข้าเยี่ยมลูกค้าเป็นครั้งคราว เพื่อให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจในการให้บริการเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าอีกทางหนึ่งด้วย (โอฬาร เชาว์เลิศโสภา 2546)หรือเป็นการตัดตามผลงานโดยการการบริการหลังการขายเป็นสิ่งจำเป็นถ้าพนักงานขายต้องการที่จะให้ลูกค้าเกิดหรือผู้ซื้อเกิดความพึงพอใจในการซื้อซ้ำ หลังจากการปิดการขาย พนักงานต้องให้รายละเอียด ที่จำเป็นต่อลูกค้าหรือผู้ซื้อให้ครบถ้วน และให้บริการด้านต่างๆ เช่น การให้คำแนะนำ ทางด้านเทคนิคต่างๆ ในการใช้บริการ และมีการเยี่ยมเยียนลูกค้าบ้างเป็น(วัลลภ เมฆทับ 2545)

3.ตัวชี้วัด ของพนักงานขาย

ในยุคปัจจุบันหลายธุรกิจได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับลูกค้า เพื่อเพิ่มความสามารถในการขายและการทำกำไร เพิ่มความพอใจในสินค้า และบริการที่มีอยู่ และตอบสนองความต้องการได้มากขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงได้มีการนำการบริหารลูกค้าสัมพันธ์เข้ามาใช้เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการดำเนินธุรกิจ อีกทั้งด้วยคุณสมบัติทางเทคโนโลยี IT ในปัจจุบัน มีโปรแกรมที่สามารถนำมาใช้สนับสนุน การปฏิบัติงานในระดับกลยุทธ์ของการบริการลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งเครื่องมือด้าน Sales Force Automation (SFA) ถูกออกแบบมาให้เพิ่มประสิทธิภาพในงานขาย ที่สามารถติดตามผล บริหารโอกาส บริหารการติดต่อ ที่เป็นในปัจจุบันก็คือ ความสามารถในเรื่องของการบริหารหุ้นส่วนสัมพันธ์ ในบางองค์กรนั้นจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของการวิเคราะห์ยอดขาย และการบริการจัดการฝ่ายการขาย เช่น การจัดการเรื่องบัญชี และความสำคัญ การจัดการเรื่องการติดต่อกับลูกค้า การจัดการเรื่องราคา การทำนายคาดการณ์ การบริหารยอดขาย การเก็บข้อมูลลูกค้า ทั้งอุปนิสัยในการซื้อสินค้า และสถิติของการซื้อและการใช้บริการ ซึ่งแม้กระทั่งเรื่องประสิทธิภาพในการขายของพนักงานขายเองก็ตาม

ส่วนกระบวนการขายของ “กระบวนการขายของพนักงานขายอิสระศูนย์การขายวิภัชธุรกิจ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่”  ทำให้ทราบถึงความสำเร็จของกลยุทธ์ต่างๆของกระบวนการขาย แนวทางแก้ไข เพื่อใช้ประกอบการพัฒนาอบรมพนักงานขายและเป็นการปรับปรุงขั้นตอนต่างๆ ของพนักงานขายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ผลการศึกษาของพนักงานขาย อิสระศูนย์การขายวิภัชธรุกิจ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเพศชาย ร้อยละ 54.0 และเป็นเพศหญิง ร้อยละ 46.0 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 26-35ปี ร้อยละ 66.0 รองลงมามีอายุระหว่าง 36-46 ปี ร้อยละ 26.0 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 54.0 และเป็นโสดร้อยละ 46.0 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 68.0 รองลงมาได้แก่ผู้มีการศึกษาระดับอนุปริญญาตรี/ปวส.ร้อยละ 20.0 ระยะเวลาที่ทำการขายตั้งแต่ 6-11 เดือน ร้อยละ 38.0 รองลงมาระยะที่ทำการขาย 12 เดือนขึ้นไป ร้อยละ 36.0 และผลิตภัณฑ์ที่ขายได้สูงสุด คือบัตรเครดิต ร้อยละ 44.0 รองลงมาคือสินเชื่อบุคคลทันใจร้อยละ 34.0 ตามลำดับ

ตัวชี้วัดการให้ความสำคัญกับขั้นตอนหรือกระบวนการขาย

โดยค้นพบจากข้อชี้วัดว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ด้านกระบวนการขายโดยพนักงานขาย ให้ความสำคัญที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับที่มากที่สุดคือ ขั้นตอนของการแสวงหาลูกค้า หรือขั้นตอนการขายด้านการกำหนดคุณสมบัติของลูกค้า การเตรียมการและการเข้าพบลูกค้า การเสนอขาย การขจัดข้อโต้แย้งของลูกค้า การปิดการขาย และการติดตามผลหลังการขาย ให้ความสำคัญที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก(โอฬาร เชาว์เลิศโสภา 2546)

 

            การแสวงหาลูกค้าและการกำหนดคุณสมบัติ ของลูกค้า (Prospectiing and Qualifying ) พนักงานขายอิสระของศูนย์การขายวิภัชธรุกิจ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รู้ถึงกลุ่มเป้าหมายชัดเจน เพราะธนาคารได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ร้อยละ 86.0 และไม่แน่ใจ เพราะไม่มีการบอกกล่าวจากธนาคารร้อยละ 14.0 การกำหนดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายดูจากอาชีพ ร้อยละ 39.1 รองลงมากำหนดตามแหล่งที่ทำงาน ร้อยละ 20.0 วิธีการกำหนดรายชื่อลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย แบบเลือกสรรโดยมุ่งเน้น ไปยังกลุ่มเพื่อน หรือบุคคลใกล้ชิด ร้อยละ 33.9 รองลงมามีการโทรศัพท์นัดหมาย ลูกค้าก่อนเข้าพบ ร้อยละ 21.7 การเตรียมตัวกำหนดกลยุทธ์เข้าพบลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย โดยมีการเตรียมข้อมูลผลิตภัณฑ์และข้อเสนอแนะ ผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งร้อยละ 27.5 รองลงมามีการกำหนด วัตถุประสงค์ในการเข้าพบลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และเตรียมวิธีการพูด และข้อมูลในการตอบคำถามลูกค้าร้อยละ 26.6 ตามลำดับ (โอฬาร เชาว์เลิศโสภา 2546)

จากการศึกษาของตัวชี้วัดพบว่า พนักงานขายควรนำแนวคิดในด้านต่างๆ ของกระบวนการขายทั้ง 7 ขั้นตอนนี้ (1) การแสวงหาลูกค้า และการกำหนดคุณสมบัติขอลูกค้า (2) การเตรียมการเข้าพบ (3) การเข้าพบ (4) การเสนอขาย และการสาธิต (5) การขจัดข้อโต้แย้ง (6) การปิดการขาย (7) การติดตามผลและการรักษาลูกค้าเก่า นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการขายของแต่ละคน เพื่อให้เกิดความสำเร็จในงานขายให้ได้มากที่สุด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรให้ความสำคัญกับการแสวงหาลูกค้า พนักงานควรมีการแสวงหาลูกค้าทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยกำหนดคุณสมบัติลูกค้าเป้าหมายให้ตรงกับเงื่อนไขของบริษัท รวมไปถึงการใช้กลยุทธ์ในการปิดการขายให้ถูกต้องโดยมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของลูกค้า

ตัวชี้วัดปัจจัยแห่งความสำเร็จในกระบวนการขาย

สามารถรายงานเป็นไปในรูปแบบร้อยละ ของความถี่ที่พบ เรียงตามความถี่ที่พบจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ความแม่นยำและความรวดเร็วในการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า  การเตรียมการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ บุคลิกภาพที่ดีทั้งภายในและภายนอก การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า การรู้จังหวะในการติดตามการขาย ความจริงใจต่อลูกค้า การให้บริการต่างๆ ที่ประทับใจ การศึกษาระบบการจัดซื้อของลูกค้า ความสามารถจูงใจด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ความขยันหมั่นเพียร และความรับผิดชอบต่อตนเอง การจดจำรายละเอียดปลีกย่อยและการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ของพนักงานขาย

ข้อค้นพบปัจจัยแห่งความสำเร็จของพนักงานขายมีมากมาย จำนวนความถี่ที่พบอาจแสดงถึง ความน่าที่จะเป็นสามารถนำมาใช้หลักให้เกิดความสำเร็จ ในกระบวนการขายได้ ปัจจัยที่พบจากการศึกษาสามารถก่อให้เกิดความสำเร็จในการขายได้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับการนำเครื่องมือมาใช้ให้เหมาะสมแต่ละบุคคล และสถานการณ์โดยการนำปัจจัยแห่งความสำเร็จนี้มาใช้ในการขาย นั้นควรเลือกให้เหมาะสมกับบุคลิกของพนักงานขาย ศึกษา และพิจารณาว่าปัจจัยไหนมีความน่าสนใจควรฝึกฝนให้เกิดทักษะเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ จนให้เกิดเป็นอุปนิสัย หรือเป็นลักษณะที่ออกมาจากภายในตัวของพนักงานขาย ควรเลือกนำกลยุทธ์ต่างๆมาใช้อย่างคล่องตัว และเหมาะสมกับสถานการณ์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

บรรณานุกรม

“Sales Force Automation (SFA.”

จิณณพัตส์ โอสถานนท์ (2550). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการฝ่ายการตลาด. บัณฑิตวิทยาลัย. นครศรีธรรมราช, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต.

ชลิตา ตั้งสุภาพ (2555). ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานขายบ้านจัดสรรในจังหวัดเชียงใหม่. สาขาวิชาการตลาด. เชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

วัลลภ เมฆทับ (2545). การวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จในกระบวนการขายของพนักงานขายผลิตภัณฑ์ห้องปฏิบัติการโรงพยาบาล. บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: 1-200.

โอฬาร เชาว์เลิศโสภา (2546). กระบวนการขายของพนักงานขายอิสระศูนย์การขายวิภัชรธุรกิจ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย. จังหวัดเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.